แท็ก
แม่น้ำโขง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. อนุมัติการลงนามเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามดังกล่าวข้างต้นด้วย
ทั้งนี้ ร่างเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปรับกำหนดการเริ่มใช้ MOU เกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลง GMS (Greater Mekong Subregion) ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นวันที่ 20 ธันวาคม 2549
2. ปรับขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบสินค้าเพียงครั้งเดียว (single stop inspection : SSI — ทั้งสองประเทศไม่มีด่านขาออก โดยเจ้าหน้าที่ของประเทศขาออกจะไปทำการตรวจปล่อยขาออกของตนอยู่ที่ด่านขาเข้าอีกประเทศหนึ่ง) โดยจะเริ่มดำเนินการภายหลังแก้ไข/ออกประกาศกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาตให้หน่วยงานที่มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายปฏิบัติงานนอกอาณาเขตในช่วงปี 2550-2551 รวมถึงการปฏิบัติงานในดินแดนของต่างชาติและการปฏิบัติงานร่วมกัน ณ ประเทศขาเข้า
3. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งยานพาหนะ สินค้า และ/หรือบุคคลกลับไปยังประเทศขาออก เมื่อได้รับการร้องขอให้เพิ่มข้อความ “เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบภายในของภาคีทั้งสองฝ่าย”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
1. อนุมัติการลงนามเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามดังกล่าวข้างต้นด้วย
ทั้งนี้ ร่างเอกสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปรับกำหนดการเริ่มใช้ MOU เกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลง GMS (Greater Mekong Subregion) ที่จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นวันที่ 20 ธันวาคม 2549
2. ปรับขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบสินค้าเพียงครั้งเดียว (single stop inspection : SSI — ทั้งสองประเทศไม่มีด่านขาออก โดยเจ้าหน้าที่ของประเทศขาออกจะไปทำการตรวจปล่อยขาออกของตนอยู่ที่ด่านขาเข้าอีกประเทศหนึ่ง) โดยจะเริ่มดำเนินการภายหลังแก้ไข/ออกประกาศกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาตให้หน่วยงานที่มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายปฏิบัติงานนอกอาณาเขตในช่วงปี 2550-2551 รวมถึงการปฏิบัติงานในดินแดนของต่างชาติและการปฏิบัติงานร่วมกัน ณ ประเทศขาเข้า
3. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งยานพาหนะ สินค้า และ/หรือบุคคลกลับไปยังประเทศขาออก เมื่อได้รับการร้องขอให้เพิ่มข้อความ “เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบภายในของภาคีทั้งสองฝ่าย”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--