คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และเป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการในปี พ.ศ. 2548 รวม 6 ด้าน ได้แก่
1.1.1 ด้านการสอดส่องให้คำแนะนำและติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งจากการตรวจแนะนำการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วน ซึ่งได้มีการให้คำแนะนำในเบื้องต้นถึงข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และจากการรายงานปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของหน่วยงานพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 การขาดแคลนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้และงบประมาณ ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงสิทธิและการใช้สิทธิอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้พิจารณามาตรการสนับสนุนและปรับปรุงแก้ไขแล้ว และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พบว่ายังมีประชาชนที่ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ในขณะที่ประชาชนที่รู้ว่ามีกฎหมายเห็นว่ากฎหมายมีประโยชน์มากและคิดจะไปใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง
1.1.2 ด้านการจัดทำร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในส่วนของร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และในส่วนของร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขณะนี้ได้ส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว
1.1.3 ด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้มีการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ภาครัฐและภาคประชาชน ในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดประชุมสัมมนาในส่วนกลางและในจังหวัดต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐและตัวแทนองค์กรภาคสังคมและสื่อมวลชน การสนับสนุนวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณก็ตาม
1.1.4 ด้านการพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องเรียนของประชาชนและด้านการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์การไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 มีเรื่องร้องเรียนและเรื่องอุทธรณ์ รวมประมาณ 450 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2547 ประมาณร้อยละ 10 โดยเป็นการร้องเรียน/อุทธรณ์ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นร้อยละ 29 หน่วยงาน ส่วนภูมิภาคร้อยละ 36 และหน่วยงานส่วนกลางร้อยละ 35 โดยมีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐร้อยละ 31
1.1.5 ด้านการตอบข้อหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งการตอบข้อหารือแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐในปีงบประมาณ 2548 จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐมากยิ่งขึ้น ช่วยวางแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
1.1.6 ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้มีการดำเนินการเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น สะดวกขึ้น เช่น การเปิดให้มีการหารือทางอินเตอร์เน็ตกับสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ การติดตามประเมินผล การนำประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคาและผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ
1.2 เป้าหมายการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
1.2.1 การดำเนินการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐและการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและการใช้สิทธิภาคประชาชน
1.2.1.1 การเร่งส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญ ประโยชน์และแนวทางการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
1.2.1.2 การเพิ่มมาตรการในการออกตรวจแนะนำการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
1.2.1.3 การติดตามผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 เกี่ยวกับการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศประกวดราคาและสอบราคา รวมทั้งสรุปผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนเผยแพร่ผ่านทาง Web Site ของหน่วยงาน
1.2.1.4 การตรวจสอบระบบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล และกระบวนการนำไปใช้ของหน่วยงานต่าง ๆ
1.2.1.5 การขยายผลจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่หน่วยงานต่าง ๆ
1.2.1.6 การสอดส่องผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐมีการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
1.2.1.7 การใช้กลไกตามกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการสร้างกระบวนการบริหารที่โปร่งใสและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.2.1.8 การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.2.1.9 การจัดให้มีกระบวนการหรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในส่วนภูมิภาค
1.2.1.10 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากระบวนการพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องเรียนและเรื่องการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้สามารถตอบสนองต่อการคุ้มครองสิทธิประชาชนให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นตลอดเวลา
1.2.2 การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. .... ซึ่งเป็นร่างกฎหมายฉบับใหม่
1.2.2.1 การดำเนินการเพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสนองตอบต่อการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.2.2 การดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. …. ให้มีผลใช้บังคับและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.3 การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
1.2.3.1 การพัฒนาศักยภาพของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสนของราชการให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการดำเนินงานที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน องค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ
1.2.3.2 การให้คำแนะนำและตอบข้อหารือของหน่วยงานต่าง ๆ ในการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนมากขึ้น
2. เห็นชอบแนวทางดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องถือปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ให้นำเรื่องการจัดระบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหนึ่งในตัวชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการได้มีการกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐโดยมีการประเมินผลและให้คะแนนตามตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศประกวดราคาและสอบราคา รวมทั้งผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนเผยแพร่ผ่านทาง Web Site ของหน่วยงาน ซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสนับสนุนเรื่องกระบวนการบริหารที่โปร่งใสตรวจสอบได้ของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มีผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและเพื่อเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงเห็นสมควรกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 ดังกล่าว รวมทั้งการนำเรื่องความโปร่งใส เรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยการหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดต่อไปด้วย
2.2 กำหนดเป็นหลักการห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีปกครองเพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีคำวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อุทธรณ์ เพื่อมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งมีบทบัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 58 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ประกอบกับ คณะรัฐมนตรีเคยมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 ให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 7 วัน และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 686/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นแล้วว่า หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพราะหน่วยงานของรัฐมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
1. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และเป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการในปี พ.ศ. 2548 รวม 6 ด้าน ได้แก่
1.1.1 ด้านการสอดส่องให้คำแนะนำและติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งจากการตรวจแนะนำการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วน ซึ่งได้มีการให้คำแนะนำในเบื้องต้นถึงข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และจากการรายงานปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของหน่วยงานพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 การขาดแคลนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้และงบประมาณ ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงสิทธิและการใช้สิทธิอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้พิจารณามาตรการสนับสนุนและปรับปรุงแก้ไขแล้ว และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พบว่ายังมีประชาชนที่ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ในขณะที่ประชาชนที่รู้ว่ามีกฎหมายเห็นว่ากฎหมายมีประโยชน์มากและคิดจะไปใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง
1.1.2 ด้านการจัดทำร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในส่วนของร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และในส่วนของร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขณะนี้ได้ส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว
1.1.3 ด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้มีการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ภาครัฐและภาคประชาชน ในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดประชุมสัมมนาในส่วนกลางและในจังหวัดต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐและตัวแทนองค์กรภาคสังคมและสื่อมวลชน การสนับสนุนวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณก็ตาม
1.1.4 ด้านการพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องเรียนของประชาชนและด้านการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์การไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 มีเรื่องร้องเรียนและเรื่องอุทธรณ์ รวมประมาณ 450 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2547 ประมาณร้อยละ 10 โดยเป็นการร้องเรียน/อุทธรณ์ของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นร้อยละ 29 หน่วยงาน ส่วนภูมิภาคร้อยละ 36 และหน่วยงานส่วนกลางร้อยละ 35 โดยมีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐร้อยละ 31
1.1.5 ด้านการตอบข้อหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งการตอบข้อหารือแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐในปีงบประมาณ 2548 จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐมากยิ่งขึ้น ช่วยวางแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
1.1.6 ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้มีการดำเนินการเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น สะดวกขึ้น เช่น การเปิดให้มีการหารือทางอินเตอร์เน็ตกับสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ การติดตามประเมินผล การนำประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคาและผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ
1.2 เป้าหมายการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
1.2.1 การดำเนินการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐและการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและการใช้สิทธิภาคประชาชน
1.2.1.1 การเร่งส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญ ประโยชน์และแนวทางการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
1.2.1.2 การเพิ่มมาตรการในการออกตรวจแนะนำการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
1.2.1.3 การติดตามผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 เกี่ยวกับการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศประกวดราคาและสอบราคา รวมทั้งสรุปผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนเผยแพร่ผ่านทาง Web Site ของหน่วยงาน
1.2.1.4 การตรวจสอบระบบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล และกระบวนการนำไปใช้ของหน่วยงานต่าง ๆ
1.2.1.5 การขยายผลจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่หน่วยงานต่าง ๆ
1.2.1.6 การสอดส่องผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐมีการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
1.2.1.7 การใช้กลไกตามกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการสร้างกระบวนการบริหารที่โปร่งใสและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.2.1.8 การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.2.1.9 การจัดให้มีกระบวนการหรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในส่วนภูมิภาค
1.2.1.10 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากระบวนการพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องเรียนและเรื่องการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้สามารถตอบสนองต่อการคุ้มครองสิทธิประชาชนให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นตลอดเวลา
1.2.2 การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. .... ซึ่งเป็นร่างกฎหมายฉบับใหม่
1.2.2.1 การดำเนินการเพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสนองตอบต่อการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.2.2 การดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. …. ให้มีผลใช้บังคับและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.3 การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
1.2.3.1 การพัฒนาศักยภาพของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสนของราชการให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการดำเนินงานที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน องค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ
1.2.3.2 การให้คำแนะนำและตอบข้อหารือของหน่วยงานต่าง ๆ ในการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนมากขึ้น
2. เห็นชอบแนวทางดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องถือปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ให้นำเรื่องการจัดระบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหนึ่งในตัวชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการได้มีการกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐโดยมีการประเมินผลและให้คะแนนตามตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศประกวดราคาและสอบราคา รวมทั้งผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนเผยแพร่ผ่านทาง Web Site ของหน่วยงาน ซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสนับสนุนเรื่องกระบวนการบริหารที่โปร่งใสตรวจสอบได้ของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มีผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและเพื่อเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงเห็นสมควรกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 ดังกล่าว รวมทั้งการนำเรื่องความโปร่งใส เรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยการหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดต่อไปด้วย
2.2 กำหนดเป็นหลักการห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีปกครองเพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีคำวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อุทธรณ์ เพื่อมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งมีบทบัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 58 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ประกอบกับ คณะรัฐมนตรีเคยมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 ให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 7 วัน และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 686/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นแล้วว่า หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพราะหน่วยงานของรัฐมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--