คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานตามโครงการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน สำหรับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 - 2552 เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงาน / โครงการบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประชุม โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำผลการประชุมมาปรับปรุงโครงการ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อผลิตน้ำมันปาล์มดิบให้เพียงพอกับการบริโภคและนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดการนำเข้าพลังงานน้ำมันลงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2555
1.2 เพื่อสร้างพืชทางเลือกใหม่ที่สามารถทำรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร
2. เป้าหมาย
แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกปี 2549-2552 และระยะที่สองปี 2553-2555 โดยในระยะแรกมีเป้าหมายรวม 6 ล้านไร่ ดังนี้ 2.1 ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มเติมจำนวน 5 ล้านไร่ 2.2 ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปาล์มเดิมที่มีอายุมาก ที่ใช้พันธุ์ไม่ดีจำนวน 1 ล้านไร่
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการพิจารณาเขตพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มในโครงการ โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่มีขีดความสามารถในการปลูกปาล์ม จำนวน 5 ล้านไร่ กระจายไปตามภูมิภาคและเขตพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ภาคใต้ 2.165 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 1.205 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.540 ล้านไร่ พื้นที่ทหาร 0.090 ล้านไร่ พื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน 1.000 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่ปาล์มเดิมที่จะปรับปรุง 1 ล้านไร่ กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้
(2) สำหรับปี 2549 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มโครงการจำนวน 720,000 ไร่ ได้ทำการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ไว้ ดังนี้
- พื้นที่ปลูกใหม่ 535,000 ไร่ ประกอบด้วย ภาคใต้ 300,000 ไร่ ภาคตะวันออก 85,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60,000 ไร่ และพื้นที่เขตทหาร 90,000 ไร่
- พื้นที่ปาล์มเดิม 185,000 ไร่ กระจายอยู่ในจังหวัดภาคใต้
3.2 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2549
เพื่อให้การปลูกปาล์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใหม่ ดำเนินการในพื้นที่ที่เหมาะสม จึงกำหนดให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการ-เกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่และเกษตรกรต่อไป โดยกำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2549
3.3 การจัดหากล้าปาล์ม
เนื่องจากกล้าปาล์มเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการปลูกปาล์ม มีเกษตรกรจำนวนมากที่มีปัญหาได้กล้าปาล์มที่ไม่มีคุณภาพ จึงกำหนดแนวทางการบริหารกล้าปาล์ม ดังนี้
3.3.1 ผู้ผลิตกล้าปาล์มต้องขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับกรมวิชาการเกษตร โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและต้องมีการค้ำประกัน หากกล้าปาล์มเป็นพันธุ์ไม่ตรงตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรในอัตราต้นละ 363 บาท
3.3.2 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจัดซื้อกล้าปาล์มจากแหล่งที่กรมวิชาการเกษตรรับขึ้นทะเบียนไว้ และจะได้รับการค้ำประกันพันธุ์ปาล์มที่ซื้อและนำไปปลูก
3.3.3 การกำหนดราคากลางของกล้าปาล์มในโครงการที่จะขายให้เกษตรกร กล้าที่ใช้เมล็ดงอกจากภายในประเทศ ราคาต้นละไม่เกิน 65 บาท ส่วนกล้าปาล์มที่ใช้เมล็ดงอกจากต่างประเทศ ราคาต้นละไม่เกิน 75 บาท (อายุกล้า 8 เดือน) หากมีเหตุผลที่จะขายเกินกว่าราคาที่กำหนด จะต้องเสนอให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเป็นกรณีไป
3.4 การประชาสัมพันธ์
เนื่องจากเป็นโครงการที่จะเร่งรัดการขยายพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการจัดหา จัดซื้อกล้าปาล์มที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก โดยจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชน และดำเนินการในแต่ละพื้นที่ที่เป็นโครงการปลูกปี 2549
4. ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนตุลาคม 2548-กันยายน 2555
5. การติดตามและประเมินผลโครงการ
5.1 กรมส่งเสริมการเกษตรและ ธ.ก.ส. ออกติดตามและตรวจแปลงเกษตรเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2549-กันยายน 2549
5.2 ธ.ก.ส. ออกติดตามตรวจสอบการจัดทำบัญชีฟาร์มของเกษตรกรเพื่อให้มีบัญชีกำกับการใช้จ่ายในครัวเรือนและการลงทุนการปลูกปาล์มน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2549-กันยายน 2549
5.3 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดำเนินการประเมินผลโครงการในเดือนกันยายน 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประชุม โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำผลการประชุมมาปรับปรุงโครงการ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อผลิตน้ำมันปาล์มดิบให้เพียงพอกับการบริโภคและนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดการนำเข้าพลังงานน้ำมันลงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2555
1.2 เพื่อสร้างพืชทางเลือกใหม่ที่สามารถทำรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร
2. เป้าหมาย
แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกปี 2549-2552 และระยะที่สองปี 2553-2555 โดยในระยะแรกมีเป้าหมายรวม 6 ล้านไร่ ดังนี้ 2.1 ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มเติมจำนวน 5 ล้านไร่ 2.2 ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปาล์มเดิมที่มีอายุมาก ที่ใช้พันธุ์ไม่ดีจำนวน 1 ล้านไร่
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการพิจารณาเขตพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มในโครงการ โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่มีขีดความสามารถในการปลูกปาล์ม จำนวน 5 ล้านไร่ กระจายไปตามภูมิภาคและเขตพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ภาคใต้ 2.165 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 1.205 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.540 ล้านไร่ พื้นที่ทหาร 0.090 ล้านไร่ พื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน 1.000 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่ปาล์มเดิมที่จะปรับปรุง 1 ล้านไร่ กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้
(2) สำหรับปี 2549 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มโครงการจำนวน 720,000 ไร่ ได้ทำการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ไว้ ดังนี้
- พื้นที่ปลูกใหม่ 535,000 ไร่ ประกอบด้วย ภาคใต้ 300,000 ไร่ ภาคตะวันออก 85,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60,000 ไร่ และพื้นที่เขตทหาร 90,000 ไร่
- พื้นที่ปาล์มเดิม 185,000 ไร่ กระจายอยู่ในจังหวัดภาคใต้
3.2 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2549
เพื่อให้การปลูกปาล์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใหม่ ดำเนินการในพื้นที่ที่เหมาะสม จึงกำหนดให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการ-เกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่และเกษตรกรต่อไป โดยกำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2549
3.3 การจัดหากล้าปาล์ม
เนื่องจากกล้าปาล์มเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการปลูกปาล์ม มีเกษตรกรจำนวนมากที่มีปัญหาได้กล้าปาล์มที่ไม่มีคุณภาพ จึงกำหนดแนวทางการบริหารกล้าปาล์ม ดังนี้
3.3.1 ผู้ผลิตกล้าปาล์มต้องขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับกรมวิชาการเกษตร โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและต้องมีการค้ำประกัน หากกล้าปาล์มเป็นพันธุ์ไม่ตรงตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรในอัตราต้นละ 363 บาท
3.3.2 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจัดซื้อกล้าปาล์มจากแหล่งที่กรมวิชาการเกษตรรับขึ้นทะเบียนไว้ และจะได้รับการค้ำประกันพันธุ์ปาล์มที่ซื้อและนำไปปลูก
3.3.3 การกำหนดราคากลางของกล้าปาล์มในโครงการที่จะขายให้เกษตรกร กล้าที่ใช้เมล็ดงอกจากภายในประเทศ ราคาต้นละไม่เกิน 65 บาท ส่วนกล้าปาล์มที่ใช้เมล็ดงอกจากต่างประเทศ ราคาต้นละไม่เกิน 75 บาท (อายุกล้า 8 เดือน) หากมีเหตุผลที่จะขายเกินกว่าราคาที่กำหนด จะต้องเสนอให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเป็นกรณีไป
3.4 การประชาสัมพันธ์
เนื่องจากเป็นโครงการที่จะเร่งรัดการขยายพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการจัดหา จัดซื้อกล้าปาล์มที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก โดยจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชน และดำเนินการในแต่ละพื้นที่ที่เป็นโครงการปลูกปี 2549
4. ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนตุลาคม 2548-กันยายน 2555
5. การติดตามและประเมินผลโครงการ
5.1 กรมส่งเสริมการเกษตรและ ธ.ก.ส. ออกติดตามและตรวจแปลงเกษตรเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2549-กันยายน 2549
5.2 ธ.ก.ส. ออกติดตามตรวจสอบการจัดทำบัญชีฟาร์มของเกษตรกรเพื่อให้มีบัญชีกำกับการใช้จ่ายในครัวเรือนและการลงทุนการปลูกปาล์มน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2549-กันยายน 2549
5.3 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดำเนินการประเมินผลโครงการในเดือนกันยายน 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--