คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร (กุ้ง ไก่ ข้าว ยางพารา) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างกลุ่มสินค้าสร้างรายได้จากการส่งออก (กุ้ง ไก่ ข้าว และยางพารา) โดยในรายละเอียดของแผนงาน/โครงการและงบประมาณจะประสานเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการกับสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร โดยแบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มสร้างรายได้จากการส่งออก ได้แก่ กุ้ง ไก่ ข้าว และยางพารา
2. กลุ่มที่มีโอกาสและกลุ่มทดแทนพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง โคเนื้อและสินค้าเกษตรอินทรีย์
3. กลุ่มปรับโครงสร้างการผลิต ได้แก่ ผลไม้ (ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด) กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกาแฟ
เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลักดันการส่งออกสินค้าไทย กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์จึงเสนอแผนปรับโครงสร้างกลุ่มสินค้าสร้างรายได้จากการส่งออก (Cash Cow) ประกอบด้วย 4 สินค้า คือ กุ้ง ไก่ ข้าว และยางพารา เนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกรวมกัน ร้อยละ 50-60 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์และเกี่ยวข้องกับเกษตรกรถึงร้อยละ 70-80 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ ซึ่งแผนปรับโครงสร้างดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กลยุทธ์
1.1 วางแผนการผลิตโดยใช้อุปกรณ์เป็นตัวนำและมีเจ้าภาพบูรณาการแต่ละแผนรายสินค้าที่ชัดเจน
1.2 พัฒนาพื้นที่การผลิตให้เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เน้นข้าว กุ้ง โดยบริหารจัดการน้ำ ดินและวิชาการควบคู่กัน
1.3 พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่มูลค่าผลผลิตการเกษตร ด้วยระบบการจัดการ คุณภาพตามมาตรฐานอย่างจริงจัง เช่น GAP/CoC, GMP, HACCP รวมทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ
1.4 ส่งเสริมนักลงทุนทำอุตสาหกรรมปลายน้ำในประเทศ เน้นยางพารา และช่วยเหลือผู้ประกอบการแปรรูปที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันและปกป้องของประเทศนำเข้า เน้นกุ้ง และไก่ ด้วยมาตรการทางการเงินและการลงทุน
1.5 จัดการตลาดเชิงรุกเน้นสร้างตราสินค้าคุณภาพ (“Q” Brand) ให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคและประเทศคู่ค้าด้วยระบบตรวจสอบและรับรองที่รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งทำแผนการประชาสัมพันธ์ที่มีกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบที่ชัดเจน
2. แผนปรับโครงสร้างรายสินค้า
2.1 แผนปรับโครงสร้างกุ้ง มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) เพิ่มศักยภาพพื้นที่การผลิต โดยการพัฒนาพื้นที่เพาะเลี้ยง จัดระบบการเลี้ยง และควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิต
2) เพิ่มศักยภาพการเลี้ยง โดยการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและตรงตามความต้องการของตลาด
4) สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ โดยดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งระบบการผลิตและการแปรรูป
5) ส่งเสริมการตลาดและเพิ่มศักยภาพการส่งออก โดยประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์กุ้งไทยคู่ครัวโลกในประเทศคู่ค้า การทำ Roadshow รวมทั้งวิเคราะห์ตลาดและส่งเสริมการค้าในหลายรูปแบบ
2.2 แผนปรับโครงสร้างไก่ มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) ควบคุมคุณภาพและเฝ้าระวังป้องกันโรค
2) พัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อและเพิ่มศักยภาพการผลิตในฟาร์ม
3) เพิ่มศักยภาพการตรวจรับรองมาตรฐานโรงฆ่า และโรงงานแปรรูปเข้าสู่มาตรฐานการผลิต (Good Manufacture Practice : GMP) และมาตรฐาน Food Safety
4) เพิ่มมูลค่าสินค้าและวิจัยตลาดสร้างตราสัญลักษณ์ออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการเก็บรักษาเนื้อไก่แปรรูปให้คงสภาพทั้งรูปลักษณ์ รสชาติ กลิ่น และสี รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศคู่ค้าและการเจรจาแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายรูปแบบ
5) สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่เนื้อเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการผลิตเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานฟาร์ม มาตรฐานโรงงานฆ่าชำแหละ โรงงานแปรรูป
2.3 แผนปรับโครงสร้างข้าว มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้มีประสิทธิภาพ โดยเร่งรัดวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของตลาด
2) เพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตที่เหมาะสมโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำและดิน พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แปรรูปข้าวให้หลากหลายมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4) เพิ่มศักยภาพการจัดการระบบตลาดโดยพัฒนาตลาดกลางในแหล่งผลิตและรวบรวม
5) พัฒนาศักยภาพชาวนาไทย โดยให้ชาวนาเป็นศูนย์กลางเรียนรู้และรับเทคโนโลยีแบบร่วมคิดร่วมทำเพื่อให้ชาวนาสามารถเป็นผู้ประกอบการได้
2.4 แผนปรับโครงสร้างยางพารา มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) เพิ่มผลิตภาพการผลิตยาง โดยปรับปรุงพันธุ์และเขตกรรม ส่งเสริมเกษตรกรใช้ยางพันธุ์ดี / ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีการกรีดยาง
2) พัฒนาอุตสาหกรรมยางวัตถุดิบตามมาตรฐาน โดยกำหนดและประกาศมาตรฐานใหม่ของยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น และเพิ่มชั้นคุณภาพตามความต้องการของตลาด
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางในประเทศโดยส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนและการใช้ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมยางล้อ และถุงมือยาง รวมทั้งยางวิศวกรรมในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงโดยมีศูนย์วิจัยและศูนย์ทดสอบกลางยางและผลิตภัณฑ์ในประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรด้านมาตรฐานยาง
5) เพิ่มศักยภาพการจัดการระบบตลาดโดยพัฒนาระบบตลาดยางในประเทศการพัฒนาตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งมี Distribution Center และสำนักงานผู้แทนการค้ายางในตลาดหลักของโลก รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศผู้ค้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร โดยแบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มสร้างรายได้จากการส่งออก ได้แก่ กุ้ง ไก่ ข้าว และยางพารา
2. กลุ่มที่มีโอกาสและกลุ่มทดแทนพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง โคเนื้อและสินค้าเกษตรอินทรีย์
3. กลุ่มปรับโครงสร้างการผลิต ได้แก่ ผลไม้ (ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด) กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกาแฟ
เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลักดันการส่งออกสินค้าไทย กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์จึงเสนอแผนปรับโครงสร้างกลุ่มสินค้าสร้างรายได้จากการส่งออก (Cash Cow) ประกอบด้วย 4 สินค้า คือ กุ้ง ไก่ ข้าว และยางพารา เนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกรวมกัน ร้อยละ 50-60 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์และเกี่ยวข้องกับเกษตรกรถึงร้อยละ 70-80 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ ซึ่งแผนปรับโครงสร้างดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กลยุทธ์
1.1 วางแผนการผลิตโดยใช้อุปกรณ์เป็นตัวนำและมีเจ้าภาพบูรณาการแต่ละแผนรายสินค้าที่ชัดเจน
1.2 พัฒนาพื้นที่การผลิตให้เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เน้นข้าว กุ้ง โดยบริหารจัดการน้ำ ดินและวิชาการควบคู่กัน
1.3 พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่มูลค่าผลผลิตการเกษตร ด้วยระบบการจัดการ คุณภาพตามมาตรฐานอย่างจริงจัง เช่น GAP/CoC, GMP, HACCP รวมทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ
1.4 ส่งเสริมนักลงทุนทำอุตสาหกรรมปลายน้ำในประเทศ เน้นยางพารา และช่วยเหลือผู้ประกอบการแปรรูปที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันและปกป้องของประเทศนำเข้า เน้นกุ้ง และไก่ ด้วยมาตรการทางการเงินและการลงทุน
1.5 จัดการตลาดเชิงรุกเน้นสร้างตราสินค้าคุณภาพ (“Q” Brand) ให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคและประเทศคู่ค้าด้วยระบบตรวจสอบและรับรองที่รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งทำแผนการประชาสัมพันธ์ที่มีกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบที่ชัดเจน
2. แผนปรับโครงสร้างรายสินค้า
2.1 แผนปรับโครงสร้างกุ้ง มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) เพิ่มศักยภาพพื้นที่การผลิต โดยการพัฒนาพื้นที่เพาะเลี้ยง จัดระบบการเลี้ยง และควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิต
2) เพิ่มศักยภาพการเลี้ยง โดยการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและตรงตามความต้องการของตลาด
4) สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ โดยดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งระบบการผลิตและการแปรรูป
5) ส่งเสริมการตลาดและเพิ่มศักยภาพการส่งออก โดยประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์กุ้งไทยคู่ครัวโลกในประเทศคู่ค้า การทำ Roadshow รวมทั้งวิเคราะห์ตลาดและส่งเสริมการค้าในหลายรูปแบบ
2.2 แผนปรับโครงสร้างไก่ มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) ควบคุมคุณภาพและเฝ้าระวังป้องกันโรค
2) พัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อและเพิ่มศักยภาพการผลิตในฟาร์ม
3) เพิ่มศักยภาพการตรวจรับรองมาตรฐานโรงฆ่า และโรงงานแปรรูปเข้าสู่มาตรฐานการผลิต (Good Manufacture Practice : GMP) และมาตรฐาน Food Safety
4) เพิ่มมูลค่าสินค้าและวิจัยตลาดสร้างตราสัญลักษณ์ออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการเก็บรักษาเนื้อไก่แปรรูปให้คงสภาพทั้งรูปลักษณ์ รสชาติ กลิ่น และสี รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศคู่ค้าและการเจรจาแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายรูปแบบ
5) สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่เนื้อเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการผลิตเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานฟาร์ม มาตรฐานโรงงานฆ่าชำแหละ โรงงานแปรรูป
2.3 แผนปรับโครงสร้างข้าว มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้มีประสิทธิภาพ โดยเร่งรัดวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของตลาด
2) เพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตที่เหมาะสมโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำและดิน พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แปรรูปข้าวให้หลากหลายมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4) เพิ่มศักยภาพการจัดการระบบตลาดโดยพัฒนาตลาดกลางในแหล่งผลิตและรวบรวม
5) พัฒนาศักยภาพชาวนาไทย โดยให้ชาวนาเป็นศูนย์กลางเรียนรู้และรับเทคโนโลยีแบบร่วมคิดร่วมทำเพื่อให้ชาวนาสามารถเป็นผู้ประกอบการได้
2.4 แผนปรับโครงสร้างยางพารา มีโครงการสำคัญที่จะขอเร่งผลักดัน ดังนี้
1) เพิ่มผลิตภาพการผลิตยาง โดยปรับปรุงพันธุ์และเขตกรรม ส่งเสริมเกษตรกรใช้ยางพันธุ์ดี / ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีการกรีดยาง
2) พัฒนาอุตสาหกรรมยางวัตถุดิบตามมาตรฐาน โดยกำหนดและประกาศมาตรฐานใหม่ของยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น และเพิ่มชั้นคุณภาพตามความต้องการของตลาด
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางในประเทศโดยส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนและการใช้ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมยางล้อ และถุงมือยาง รวมทั้งยางวิศวกรรมในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงโดยมีศูนย์วิจัยและศูนย์ทดสอบกลางยางและผลิตภัณฑ์ในประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรด้านมาตรฐานยาง
5) เพิ่มศักยภาพการจัดการระบบตลาดโดยพัฒนาระบบตลาดยางในประเทศการพัฒนาตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งมี Distribution Center และสำนักงานผู้แทนการค้ายางในตลาดหลักของโลก รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศผู้ค้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--