เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับ
ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิก
ใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นและลดอัตราอากรสำหรับของที่มีอัตราอากรตามราคาแก่ของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 340 850 และ 300 รายการ ตามลำดับ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 — 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้มีการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนโดยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งภูมิภาค โดยมีมาตรการในการให้สิทธิพิเศษทางภาศีศุลกากร (Generalized System of Preferences — GSP หรือชื่อทางการว่า ASEAN Integration System of Preferences - AISP) ของประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐเวียดนาม
2. ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่ 3 — 4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้ โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และเป็นการให้ปีต่อปี และประเทศไทยได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่ อาเซียนตั้งแต่ปี 2545 — 2548 (รายการ AISP) แก่ของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐเวียดนามแล้ว
3. ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 มีมติเห็นชอบการให้สิทธิ AISP สำหรับปี 2549 ตามมติที่ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการปรับปรุงภาษีศุลการกรเพื่อเปิดเสรีทางการค้า ครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยให้ขยายเวลาการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับรายการสินค้าเดิมที่เคยได้รับ AISP ในปี 2548 แก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อไปอีก 1 ปี และประเทศไทยจะให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่เวียดนามในปี 2548 เป็นปีสุดท้าย เนื่องจากเวียดนามจะโอนย้ายสินค้ามาอยู่ในบัญชีลดภาษี เหลือร้อยละ 0 — 5 ในปี 2549 แล้วทั้งหมด ทำให้สินค้าของเวียดนามดังกล่าวจะได้รับสิทธิอัตรา CEPT จากประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีอัตราระหว่างร้อยละ 0-5 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ AISP แก่เวียดนามในปีต่อไป
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิก
ใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (สห.) (ฉบับที่ ..) (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนสำหรับปี 2549) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นและลดอัตราอากรสำหรับของที่มีอัตราอากรตามราคาแก่ของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 340 850 และ 300 รายการ ตามลำดับ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 — 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้มีการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนโดยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งภูมิภาค โดยมีมาตรการในการให้สิทธิพิเศษทางภาศีศุลกากร (Generalized System of Preferences — GSP หรือชื่อทางการว่า ASEAN Integration System of Preferences - AISP) ของประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐเวียดนาม
2. ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่ 3 — 4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้ โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และเป็นการให้ปีต่อปี และประเทศไทยได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่ อาเซียนตั้งแต่ปี 2545 — 2548 (รายการ AISP) แก่ของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐเวียดนามแล้ว
3. ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 มีมติเห็นชอบการให้สิทธิ AISP สำหรับปี 2549 ตามมติที่ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการปรับปรุงภาษีศุลการกรเพื่อเปิดเสรีทางการค้า ครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยให้ขยายเวลาการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับรายการสินค้าเดิมที่เคยได้รับ AISP ในปี 2548 แก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อไปอีก 1 ปี และประเทศไทยจะให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่เวียดนามในปี 2548 เป็นปีสุดท้าย เนื่องจากเวียดนามจะโอนย้ายสินค้ามาอยู่ในบัญชีลดภาษี เหลือร้อยละ 0 — 5 ในปี 2549 แล้วทั้งหมด ทำให้สินค้าของเวียดนามดังกล่าวจะได้รับสิทธิอัตรา CEPT จากประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีอัตราระหว่างร้อยละ 0-5 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ AISP แก่เวียดนามในปีต่อไป
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--