คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มกราคม 2527 โดยจัดงานวันประมงแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน รวม 22 ครั้ง หมุนเวียนจัดงานระดับประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ นิทรรศการความรู้ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง การประกวดวาดภาพ ประกวดคำขวัญ / เรียงความ รวมทั้งการแข่งขันต่าง ๆ
2. ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วงเดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย และจากการขยายตัวของเมืองและชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์น้ำค้างอยู่ตามปลักโคลนหรือทำนบปลาตามทางสัญจร สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พันธุ์สัตว์น้ำที่กรมประมงเตรียมมาให้ ประชาชนปล่อยในวันที่ 13 เมษายนมีอัตราการตายสูง ประกอบกับในช่วงวันที่ 13 — 15 เมษายนของทุกปีตรงกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี โดยเน้นให้เป็นวันครอบครัว ประชาชนที่อยู่ห่างไกลภูมิลำเนาเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานวันประมงแห่งชาติไม่มากเท่าที่ควร ผลที่ได้รับจากการจัดงานไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
3. จากสิ่งที่ต้องดำเนินการตามข้อ 1. และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการจัดงานวันประมงแห่งชาติในปัจจุบันตามข้อ 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของ ทุกปีเป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี โดยมีเหตุผลประกอบ 3 ประการ ดังนี้
3.1 เดือนกันยายนเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำมาก สภาพทางธรรมชาติของแหล่งน้ำเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน
3.2 วันที่ 21 กันยายน เป็นวันสถาปนากรมประมง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมงและกรมประมงตามลำดับ และเพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่สนพระทัยในกิจการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาให้แก่ข้าราชการหรือนักเรียนไปศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลาในต่างประเทศ
3.3 จากการขอความคิดเห็นหน่วยงานต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กองทัพเรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การสะพานปลา และ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกหน่วยงานเห็นชอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มกราคม 2527 โดยจัดงานวันประมงแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน รวม 22 ครั้ง หมุนเวียนจัดงานระดับประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ นิทรรศการความรู้ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง การประกวดวาดภาพ ประกวดคำขวัญ / เรียงความ รวมทั้งการแข่งขันต่าง ๆ
2. ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วงเดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย และจากการขยายตัวของเมืองและชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์น้ำค้างอยู่ตามปลักโคลนหรือทำนบปลาตามทางสัญจร สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พันธุ์สัตว์น้ำที่กรมประมงเตรียมมาให้ ประชาชนปล่อยในวันที่ 13 เมษายนมีอัตราการตายสูง ประกอบกับในช่วงวันที่ 13 — 15 เมษายนของทุกปีตรงกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี โดยเน้นให้เป็นวันครอบครัว ประชาชนที่อยู่ห่างไกลภูมิลำเนาเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานวันประมงแห่งชาติไม่มากเท่าที่ควร ผลที่ได้รับจากการจัดงานไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
3. จากสิ่งที่ต้องดำเนินการตามข้อ 1. และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการจัดงานวันประมงแห่งชาติในปัจจุบันตามข้อ 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของ ทุกปีเป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี โดยมีเหตุผลประกอบ 3 ประการ ดังนี้
3.1 เดือนกันยายนเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำมาก สภาพทางธรรมชาติของแหล่งน้ำเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน
3.2 วันที่ 21 กันยายน เป็นวันสถาปนากรมประมง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมงและกรมประมงตามลำดับ และเพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่สนพระทัยในกิจการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาให้แก่ข้าราชการหรือนักเรียนไปศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลาในต่างประเทศ
3.3 จากการขอความคิดเห็นหน่วยงานต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กองทัพเรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การสะพานปลา และ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกหน่วยงานเห็นชอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--