สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 11, 2009 17:00 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2552) สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 9 มีนาคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 29 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พะเยา ลำพูน ชัยภูมิ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร นครราชสีมา กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ตราด สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ชุมพร ตรัง และจังหวัดนครศรีธรรมราช รวม 228 อำเภอ 1,165 ตำบล 9,232 หมู่บ้าน (คิดเป็น 31.32 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 29 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 12.32 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน) แยกเป็น

ที่                          พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
    ภาค       จังหวัด       อำเภอ       ตำบล      หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                        คน      ครัวเรือน
1   เหนือ         11          85        480      3,727    กำแพงเพชร ตาก น่าน          1,034,706      301,780

พิจิตร แพร่ ลำปาง

พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์

พะเยา ลำพูน

2   ตะวันออก       7          83        420      4,015    ชัยภูมิ  ขอนแก่น  นครพนม       1,478,807      356,689
    เฉียงเหนือ                                             สกลนคร  นครราชสีมา

กาฬสินธุ์ สุรินทร์

3   กลาง          3          19        111        483    ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี ราชบุรี    123,434       30,421
4   ตะวันออก       5          31        107        730    ตราด  สระแก้ว  จันทบุรี          271,124       77,598

ระยอง ฉะเชิงเทรา

5   ใต้            3          10         47        277    ชุมพร  ตรัง  นครศรีธรรมราช       55,915       15,160
    รวมทั้งประเทศ  29         228      1,165      9,232                               2,963,986      781,648

ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน       16 ก.พ. 2552        23 ก.พ. 2552        2 มี.ค. 2552         9 มี.ค. 2552
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ            16,590    2,459      723     3,174         715   3,174          0    3,727        553
2 ตะวันออก         33,099      776      620       872          96   2,538      1,666    4,015      1,477
เฉียงเหนือ
3 กลาง            11,736      306      132       306           0     306          0      483        177
4 ตะวันออก          4,859      994      798     1,067          73   1,067          0      730       -337
5 ใต้               8,660      108       80       108           0     334        226      277        -57
  รวม             74,944    4,643    2,353     5,527         884   7,419      1,892    9,232      1,813

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน             ข้อมูลปี  2552               ข้อมูลปี  2551            เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่ 9 มีนาคม 2552)     (ณ วันที่ 9 มีนาคม 2551)       แล้ง ปี 2552 กับปี 2551
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อย
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ละของหมู่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/     บ้านที่ประ
  • ลด สบภัยแล้ง
1   เหนือ         16,590         3,727          22.47       2,641          15.92       1,086       41.12
2   ตะวันออก      33,099         4,015          12.13       6,710          20.27      -2,695      -40.16
เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736           483           4.12         958           8.16        -475      -49.58
4   ตะวันออก       4,859           730          15.02       1,168          24.04        -438       -37.5
5   ใต้            8,660           277            3.2          72           0.83         205      284.72
    รวม          74,944         9,232          12.32      11,549          15.41      -2,317      -20.06

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 44 จังหวัด 302 อำเภอ 1,866 ตำบล 11,549 หมู่ บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 11,549 หมู่บ้าน คิดเป็น 24.05 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 44 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 15.41 % ของหมู่ บ้านทั้งหมดของประเทศ) ปี 2552 น้อยกว่าปี 2551 จำนวน 2,317 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,963,986 คน 781,648 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 204,026 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 83,347 ไร่ นาข้าว 29,879 ไร่ พืชสวนและ
อื่นๆ 90,800 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 811 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 87,926,090 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,308 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 117 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 247,142,789 บาท แยกเป็น งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 98,925,689 บาท งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 144,541,581 บาท งบอื่น ๆ 3,675,519 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 766 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 201 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 307 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 225 เครื่อง และภาคใต้ 33 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน

6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำ ไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปาด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุนจ่ายน้ำช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 64 ล้านลิตร เป็นจำนวนเงิน 1,026,777 บาท

1.4 การเดินทางไปราชการ และตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัด กระทรวงมหาดไทย (นายวิชัย ศรีขวัญ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) อธิบดีกรมการปกครอง (นายวงศ์ ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์) พร้อมคณะ เดินทางไปมอบนโยบายการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้แก่ส่วนราชการ อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ จังหวัดนครราชสีมา และเป็นประธานปล่อยขบวนรถแจกจ่ายน้ำ “มหาดไทยคลายทุกข์ แก้ไขปัญหาภัยแล้ง” ณ เทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 8-14 มีนาคม 2552

2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 8-9 มีนาคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศ จีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10-13 มีนาคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวขึ้น ส่วนในวันที่ 14 มีนาคม 2552 จะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนระลอกใหม่แผ่ซึมเข้ามาปกคลุมด้านตะวันออกของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มี ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงได้อีกครั้งหนึ่ง

2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะของฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และอาจมี ลูกเห็บตก สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนประชาชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ