คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ขอสรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการแล้ว (จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) เพื่อโปรดทราบ ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2549)
จากข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3-7 พ.ค. 2549) มีแนวพัดสอบของลมตะวันออก-
เฉียงใต้และลมใต้พาดผ่านประเทศไทยตอนบน จึงทำให้มีฝนตกกระจายโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ทำให้ปัญหาภัยแล้งในหลายหมู่บ้านคลี่คลาย
ลงในระดับหนึ่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่ายังคงมีสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) ในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 49 จังหวัด 244 อำเภอ 30 กิ่งฯ 1,762 ตำบล 11,599 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน
1,018,101 ครัวเรือน 4,070,265 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ (ณ 7 เม.ย.2549) (ณ 8 เม.ย.2549) เปรียบเทียบ หมายเหตุ
ได้รับความเสียหายแล้ว (ไร่) (- ลด + เพิ่มขึ้น)
นาข้าว 958,207 2,111,254 29,677 -2,081,577 มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 258,949 600,667 269,950 -330,717 ข้าวนาปรัง และ
พืชสวน 37,725 283,944 258,494 -25,450 มีฝนตกทำให้พื้นที่
รวม ** 1,254,881 2,995,865 *** 558,121 -2,437,744 คาดว่า เสียหายลดลง
มูลค่าความเสียหาย 168,158,831 บาท 354,482,640 บาท 138,344,831 บาท -216,137,809 บาท
หมายเหตุ : ** ข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้วเป็นข้อมูลที่รวมพื้นที่ประสบภัยจากสภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่าง
ตุลาคม — พฤศจิกายน 2548 ของ จ. นครราชสีมา 274,207 ไร่ จ.ขอนแก่น 271,163 ไร่ จ.ศรีสะเกษ 165,224 ไร่ จ.สุรินทร์ 185,271 ไร่ด้วย)
* เปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหายกับห้วงที่ประสบสถานการณ์ภัยแล้ง สูงสุดเมื่อ วันที่ 7 เม.ย. 2549
(2,995,865 ไร่) โดยในวันที่ 8 พ.ค. 2549 (558,121 ไร่) มีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบภัยความเสียหายน้อยกว่า 2,437,744 ไร่
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 81 คัน 2,455 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 11,397,600 ลิตร
(3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 675 เครื่อง
(4) สร้างทำนบ/ฝาย 13,368 แห่ง
(5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 460 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 949 คัน 512,791 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 622,864,358 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 434,552,604 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 34,228,750 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 10,334,359 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 479,115,713 บาท
2. การคาดหมายลักษณะอากาศฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 (ระหว่าง พ.ค. — ต.ค. 2549)
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศในห้วงฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 ดังนี้
2.1 ฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 จะเข้าสู่ฤดูฝนเร็วกว่าปกติ คือ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม โดยภาคใต้จะเข้าฤดูฝนก่อน
ภาคอื่น ๆ ประมาณปลายเดือนเมษายน จากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทั่วทั้งประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
เป็นต้นไป
2.2 คาดว่าฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศจะสูงกว่าค่าปกติในช่วงต้นฤดูฝน สำหรับในช่วงกลางและปลายฤดูฝนจะมี
ปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติถึงสูงกว่าปกติเล็กน้อย และปริมาณน้ำฝนรวมทั้งประเทศในปีนี้คาดว่าจะสูงกว่าฤดูฝนปี 2548 เล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจาก
ได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์ลานีญากำลังอ่อนเกิดขึ้น โดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนต่ำกว่าปกติ
และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงกว่าปกติและคาดว่าจะยังคงมีปรากฎการณ์ลานีญาต่อไปจนถึงต้นฤดูฝน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้
ฤดูฝนจะเริ่มต้นเร็วกว่าปกติและปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูจะสูงกว่าปกติ
2.3 คาดว่าในปีนี้จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 3-4 ลูก โดยอาจจะเป็นพายุหมุนเขตร้อน (ไต้ฝุ่น
โซนร้อนและดีเปรสชั่น) ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ หรืออาจก่อตัวขึ้นใน
ทะเลจีนใต้และเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามเข้าสู่พื้นที่ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม
จะพัดเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายนจะพัดเข้าพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคกลาง ส่วนในเดือนตุลาคม
ถึงธันวาคมจะพัดเข้าสู่ภาคใต้ ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและเกิดอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยขึ้นได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--
ขอสรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการแล้ว (จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) เพื่อโปรดทราบ ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2549)
จากข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3-7 พ.ค. 2549) มีแนวพัดสอบของลมตะวันออก-
เฉียงใต้และลมใต้พาดผ่านประเทศไทยตอนบน จึงทำให้มีฝนตกกระจายโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ทำให้ปัญหาภัยแล้งในหลายหมู่บ้านคลี่คลาย
ลงในระดับหนึ่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่ายังคงมีสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) ในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 49 จังหวัด 244 อำเภอ 30 กิ่งฯ 1,762 ตำบล 11,599 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน
1,018,101 ครัวเรือน 4,070,265 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ (ณ 7 เม.ย.2549) (ณ 8 เม.ย.2549) เปรียบเทียบ หมายเหตุ
ได้รับความเสียหายแล้ว (ไร่) (- ลด + เพิ่มขึ้น)
นาข้าว 958,207 2,111,254 29,677 -2,081,577 มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 258,949 600,667 269,950 -330,717 ข้าวนาปรัง และ
พืชสวน 37,725 283,944 258,494 -25,450 มีฝนตกทำให้พื้นที่
รวม ** 1,254,881 2,995,865 *** 558,121 -2,437,744 คาดว่า เสียหายลดลง
มูลค่าความเสียหาย 168,158,831 บาท 354,482,640 บาท 138,344,831 บาท -216,137,809 บาท
หมายเหตุ : ** ข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้วเป็นข้อมูลที่รวมพื้นที่ประสบภัยจากสภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่าง
ตุลาคม — พฤศจิกายน 2548 ของ จ. นครราชสีมา 274,207 ไร่ จ.ขอนแก่น 271,163 ไร่ จ.ศรีสะเกษ 165,224 ไร่ จ.สุรินทร์ 185,271 ไร่ด้วย)
* เปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหายกับห้วงที่ประสบสถานการณ์ภัยแล้ง สูงสุดเมื่อ วันที่ 7 เม.ย. 2549
(2,995,865 ไร่) โดยในวันที่ 8 พ.ค. 2549 (558,121 ไร่) มีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบภัยความเสียหายน้อยกว่า 2,437,744 ไร่
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 81 คัน 2,455 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 11,397,600 ลิตร
(3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 675 เครื่อง
(4) สร้างทำนบ/ฝาย 13,368 แห่ง
(5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 460 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 949 คัน 512,791 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 622,864,358 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 434,552,604 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 34,228,750 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 10,334,359 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 479,115,713 บาท
2. การคาดหมายลักษณะอากาศฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 (ระหว่าง พ.ค. — ต.ค. 2549)
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศในห้วงฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 ดังนี้
2.1 ฤดูฝนของประเทศไทยปี 2549 จะเข้าสู่ฤดูฝนเร็วกว่าปกติ คือ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม โดยภาคใต้จะเข้าฤดูฝนก่อน
ภาคอื่น ๆ ประมาณปลายเดือนเมษายน จากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทั่วทั้งประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
เป็นต้นไป
2.2 คาดว่าฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศจะสูงกว่าค่าปกติในช่วงต้นฤดูฝน สำหรับในช่วงกลางและปลายฤดูฝนจะมี
ปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติถึงสูงกว่าปกติเล็กน้อย และปริมาณน้ำฝนรวมทั้งประเทศในปีนี้คาดว่าจะสูงกว่าฤดูฝนปี 2548 เล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจาก
ได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์ลานีญากำลังอ่อนเกิดขึ้น โดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนต่ำกว่าปกติ
และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงกว่าปกติและคาดว่าจะยังคงมีปรากฎการณ์ลานีญาต่อไปจนถึงต้นฤดูฝน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้
ฤดูฝนจะเริ่มต้นเร็วกว่าปกติและปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูจะสูงกว่าปกติ
2.3 คาดว่าในปีนี้จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 3-4 ลูก โดยอาจจะเป็นพายุหมุนเขตร้อน (ไต้ฝุ่น
โซนร้อนและดีเปรสชั่น) ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ หรืออาจก่อตัวขึ้นใน
ทะเลจีนใต้และเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามเข้าสู่พื้นที่ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม
จะพัดเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายนจะพัดเข้าพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคกลาง ส่วนในเดือนตุลาคม
ถึงธันวาคมจะพัดเข้าสู่ภาคใต้ ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและเกิดอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยขึ้นได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--