คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 14-21 สิงหาคม 2549 ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำท่วม
1.1 จังหวัดอุบลราชธานี ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.49)ที่ อ.เมือง 37.2 มม. อ.ศรีเมืองใหม่ 40.2 มม. อ.พิบูลมังสาหาร 88.3 มม. อ.เขมราฐ 45.3 มม. อ.ตาลสุม 88.4 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.49) ที่ อ.สว่างวีระวงศ์ 51.9 มม. อ.ศรีเมืองใหม่ 38.0 มม. อ.ตระการพืชผล 45.5 มม. อ.โขงเจียม 77.2 มม. อ.พิบูลมังสาหาร 55.2 มม. อ.เขมราฐ 52.4 มม. อ.ตาลสุม 62.6 มม. เกิดน้ำท่วมในวันที่ 14 สิงหาคม 2549 ในเขตอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.พิบูลมังสาหาร เกิดน้ำท่วมขังในเขต ต.คอนจิก ต.หนองบังฮี ต.อ่างศิลา ต.บ้านแขม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.80 ม. สถานการ์เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 17 สิงหาคม 2549
อ. ทุ่งศรีอุดม น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ 5 ตำบล พื้นที่การเกษตรน้ำท่วมประมาณ 5,000 ไร่ สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 14 สิงหาคม 2549
1.2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.2549) ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 93.8 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 99.6 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.2549)ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 74.6 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 69.2 มม. ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.บางสะพาน ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ระดับน้ำในแม่น้ำบางสะพานเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ น้ำท่วมโรงพยาบาลบางสะพาน ระดับน้ำสูง 0.70 ม. และท่วมในเขต ต.พงศ์ประศาสน์(หมู่ที่ 1,4,5,6,7) ต.แม่รำพึง(หมู่ที่ 6,7,8) ต.ร่อนทอง(หมู่ที่5,8) ต.ทองมงคล ต.ชัยเกษม ต.ธงชัย สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 16 สิงหาคม 2549
1.3 จังหวัดชุมพร ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่14-15 สิงหาคม 2549 โดยปริมาณฝนตกวันที่ 14 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 153.5 มม. อ.สวี 122.3 มม. อ.ท่าแซะ 115.5 มม. อ.หลังสวน 68.0 มม. อ.พะโต๊ะ 120.8 อ.ละแม 62.0 มม. อ.ปะทิว 112.0 มม. อ.ทุ่งตะโก 58.8 มม. ปริมาณฝนตกวันที่ 15 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าแซะ 55.7 มม. อ.พะโ 60.2 มม. อ.ละแม 74.0 มม. อ.สวี 35.0 มม. อ.ปะทิว 43.4 มม. เกิดน้ำท่วมในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในเขต ต.บ้านนา ต.ขุนกระทิง ต.ตากแดด ต.วังไผ่ สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549
อ.ท่าแซะ น้ำในคลองรับร่อเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ในเขต ต.ท่าข้าม(หมู่ที่ 1-4,6,7,9,14) ต.นากระตาม(หมู่ที่ 1,5,8,9,11) ระดับน้ำสูง 1.00-1.20 ม. ส่วนที่ ต.รับร่อ(หมู่ที่ 1-8,20) ต.หินแก้ว(หมู่ที่1,2) ต.คุริง (หมูที่ 1-3) ต.สลุย ต.ท่าแซะ(หมู่ที่1,7,10,11,16) ต.หงษ์เจริญ(หมู่ที่1,4,8,14) ต.ทรัพย์อนันต์(หมู่ที่1,2,7) ต.สองพี่น้อง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 20 ส.ค.2549
อ.ปะทิว น้ำท่วมในเขต ต.สะพลี(หม่ที่ 2,4,6,7,10,11) ต.เขาไชยราช(หมู่ที่ 1,3,6,8) ต.บางสน(หมู่ที่ 2-5) ต.ชุมโค(หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11) ต.ปากคลอง(หมู่ที่ 1,3,4,6) ต.ทะเลทรัพย์(หมู่ที่ 1-3) ต.ดอนยาง(หมู่ที่ 2,3,5,6,8,9,15) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
อ.หลังสวน น้ำท่วมในเขต ต.ท่ามะพลา(หมู่ที่ 2,8) ต.บางมะพร้าว(หมู่ที่9) ต.หาดยาย (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9) ต.พ้อแดง(หมู่ที่1,3,4,5,7,8) ต.แหลมทราย(หมู่ที่1,11) ต.วังตะกอ(หมู่ที่1) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่บ้านวังครก อ.ท่าแซะ มีระดับน้ำสูงสุด 12.15 ม. ปริมาณน้ำสูงสุด 1,095 ลบ.ม./วินาที (เวลา 19.00 น.ของวันที่ 15 ส.ค.49) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเทศบาลเมืองชุมพรในเวลาต่อมา(เริ่มมีผลกระทบเมื่อระดับน้ำที่บ้านครกมีระดับเกิน 12.00 ม.) ปริมาณน้ำจากบ้าน วังครกได้ไหลลงสู่เทศบาลเมืองชุมพร น้ำเริ่มท่วมเมืองชุมพรบริเวณที่ลุ่มรอบนอกตั้งแต่เวลา 16.00 น. (16 ส.ค.49) ในเขตชุมชนหนองทองคำ ชุมชนวัดสุบรรณ ชุมชนรังนกออก ชุมชนดอนหลวง โดยทำให้บริเวณสะพานเทศบาล 2 อ.เมือง มีระดับน้ำสูงสุด 4.00 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 285 ลบ.ม./วินาทีในวันที่ 17 ส.ค.2549 เวลา 05.00 น.(ระดับเริ่มท่วม 3.80 ม. ปริมาณน้ำ 260 ลบ.ม./วินาที) ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจาก กรมชลประทานได้ผันน้ำส่วนหนึ่งที่ไหลมาจากบ้านวังครก อ.ท่าแซะ เข้าคลองหัววัง-พนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.หัววัง จำนวน 580 ลบ.ม./วินาที) และคลองพนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.สามแก้ว จำนวน 230 ลบ.ม./วินาที) ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้น้ำไหลออกสู่ทะเลโดยไม่ไหลผ่านเข้าตัวเมืองชุมพร นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เร่งสูบน้ำ ที่ ปตร.พนังตัก จำนวน 3 เครื่อง เทศบาลเมืองชุมพร จำนวน 6 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำในหลายตำบลรอบนอกเขตเทศบาลเมืองชุมพร กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 10 เครื่อง เข้าช่วยเหลือพื้นที่รอบนอก รวมเป็นครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือทั้งหมด 19 เครื่อง
1.4 จังหวัดระนอง ได้เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.กระบุรี ในพื้นที่ ต.น้ำจืด (หมู่ที่1-3) ต.ปากจั่น (หมู่ที่2-8,10,11) ต.ลำเลียง(หมู่ที่4,7,8,10) ต.จ.ป.ร.(หมู่ที่ 7,9,11) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
1.5 จังหวัดน่าน ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 18-19 ส.ค. 49 โดยมีปริมาณฝน วันที่ 18 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าวังผา 37.0 มม. อ.ทุ่งช้าง 43.9 มม. อ.ปัว 48.5 มม. อ.บ้านหลวง 90.0 มม. อ.บ่อเกลือ 61.9 มม. และปริมาณฝนวันที่ 19 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 65.6 มม. อ.ท่าวังผา 81.1 มม. อ.ทุ่งช้าง 259.0 มม. อ.ปัว 103.5 มม. อ.เชียงกลาง 148.5 มม. อ.บ้านหลวง 55.2 มม. อ.บ่อเกลือ 177.9 มม. กิ่ง อ.ภูเพียง 50.8 มม. อ.สันติสุข 60.0 มม. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านเริ่มล้นตลิ่ง ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมน้ำในพื้นที่ 9 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ.บ่อเกลือ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ. ท่าวังผา อ.สองแคว อ.ปัว อ.เมือง อ.บ้านหลวง และ กิ่ง อ.ภูเพียง ระดับน้ำในแม่น้ำน่านที่บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน(N.64) เริ่มล้นตลิ่ง เวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 โดยมีระดับน้ำ 13.21 ม (ระดับตลิ่ง 13.20 ม.) สถานการณ์น้ำที่บ้านผาขวาง (N.64) อ.ท่าวังผา ระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 21 ส.ค.2549
ส่วนในเขตเทศบาลเมืองน่าน บริเวณสำนักงานป่าไม้เขต อ.เมืองน่าน (N.1) ระดับน้ำเริ่มล้นตลิ่งฝั่งซ้าย เมื่อเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.12 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งซ้าย 7.00 ม.) และเริ่มล้นตลิ่งฝั่งขวา เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.39 ม. (ระดับตลิ่งฝั่งขวา 7.30 ม.) โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่ 8.42 ม.(เวลา 14.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.49) และระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.2549 และเมื่อเวลา 07.00น. ของวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำอยู่ที่ 8.10 ม. ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องชั่วโมงละ 0.05 ม. ปริมาณน้ำจำนวนน้ำจะไหลลงไปที่ อ.เวียงสา เริ่มท่วมบริเวณริมตลิ่งลำน้ำน่านใน อ.เวียงสาเช้าวันที่ 22 ส.ค.49 คาดว่าในเย็นวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำที่ อ.เวียงสา จะสูงประมาณ 1.00 ม. และไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์ ต่อไป (เขื่อนสิริกิติ์ยังรับน้ำได้อีกประมาณ 3,000 ล้าน ลบ.ม.)โดยไม่มีผลกระทบต่อ อ.นาน้อย และ อ.นาหมื่น หากไม่มีฝนตกมาเพิ่มอีก คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 23 ส.ค.2549
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แจ้งเตือนประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว และนำเครื่องสูบน้ำเข้าไปติดตั้งระบายน้ำ 1 เครื่อง รถยก 1 คัน และเตรียมพร้อมไว้คอยช่วยเหลืออีก 14 เครื่อง
1.6 จังหวัดเชียงราย ได้เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 19 ส.ค.2549 ปริมาณฝนที่ อ.เมือง 40.7 มม. อ.เชียงของ 66.0 มม. อ.แม่สาย 63.1 มม. อ.เชียงแสน 65.0 มม. กิ่ง อ.ดอยหลวง 50.9 มม. กิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง 66.0 มม. และเกิดน้ำท่วมในวันที่ 20 ส.ค.49 ในพื้นที่ 2 อำเภอ ดังนี้
กิ่งอำเภอดอยหลวง มีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ต.โชคชัย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
อำเภอเชียงแสน น้ำป่าไหลหลากจากลำน้ำแม่แอบ เข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ้านแซว (หมู่ที่ 11,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 — 0.40 ม.
คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.49
1.7 จังหวัดพะเยา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.49 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ 20 ตำบล บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ อ.เชียงคำ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ทางจังหวัดพะเยาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เข้าพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.49
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์น้ำท่วม
1.1 จังหวัดอุบลราชธานี ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.49)ที่ อ.เมือง 37.2 มม. อ.ศรีเมืองใหม่ 40.2 มม. อ.พิบูลมังสาหาร 88.3 มม. อ.เขมราฐ 45.3 มม. อ.ตาลสุม 88.4 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.49) ที่ อ.สว่างวีระวงศ์ 51.9 มม. อ.ศรีเมืองใหม่ 38.0 มม. อ.ตระการพืชผล 45.5 มม. อ.โขงเจียม 77.2 มม. อ.พิบูลมังสาหาร 55.2 มม. อ.เขมราฐ 52.4 มม. อ.ตาลสุม 62.6 มม. เกิดน้ำท่วมในวันที่ 14 สิงหาคม 2549 ในเขตอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.พิบูลมังสาหาร เกิดน้ำท่วมขังในเขต ต.คอนจิก ต.หนองบังฮี ต.อ่างศิลา ต.บ้านแขม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.80 ม. สถานการ์เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 17 สิงหาคม 2549
อ. ทุ่งศรีอุดม น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ 5 ตำบล พื้นที่การเกษตรน้ำท่วมประมาณ 5,000 ไร่ สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 14 สิงหาคม 2549
1.2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.2549) ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 93.8 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 99.6 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.2549)ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 74.6 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 69.2 มม. ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.บางสะพาน ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ระดับน้ำในแม่น้ำบางสะพานเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ น้ำท่วมโรงพยาบาลบางสะพาน ระดับน้ำสูง 0.70 ม. และท่วมในเขต ต.พงศ์ประศาสน์(หมู่ที่ 1,4,5,6,7) ต.แม่รำพึง(หมู่ที่ 6,7,8) ต.ร่อนทอง(หมู่ที่5,8) ต.ทองมงคล ต.ชัยเกษม ต.ธงชัย สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 16 สิงหาคม 2549
1.3 จังหวัดชุมพร ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่14-15 สิงหาคม 2549 โดยปริมาณฝนตกวันที่ 14 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 153.5 มม. อ.สวี 122.3 มม. อ.ท่าแซะ 115.5 มม. อ.หลังสวน 68.0 มม. อ.พะโต๊ะ 120.8 อ.ละแม 62.0 มม. อ.ปะทิว 112.0 มม. อ.ทุ่งตะโก 58.8 มม. ปริมาณฝนตกวันที่ 15 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าแซะ 55.7 มม. อ.พะโ 60.2 มม. อ.ละแม 74.0 มม. อ.สวี 35.0 มม. อ.ปะทิว 43.4 มม. เกิดน้ำท่วมในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในเขต ต.บ้านนา ต.ขุนกระทิง ต.ตากแดด ต.วังไผ่ สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549
อ.ท่าแซะ น้ำในคลองรับร่อเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ในเขต ต.ท่าข้าม(หมู่ที่ 1-4,6,7,9,14) ต.นากระตาม(หมู่ที่ 1,5,8,9,11) ระดับน้ำสูง 1.00-1.20 ม. ส่วนที่ ต.รับร่อ(หมู่ที่ 1-8,20) ต.หินแก้ว(หมู่ที่1,2) ต.คุริง (หมูที่ 1-3) ต.สลุย ต.ท่าแซะ(หมู่ที่1,7,10,11,16) ต.หงษ์เจริญ(หมู่ที่1,4,8,14) ต.ทรัพย์อนันต์(หมู่ที่1,2,7) ต.สองพี่น้อง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 20 ส.ค.2549
อ.ปะทิว น้ำท่วมในเขต ต.สะพลี(หม่ที่ 2,4,6,7,10,11) ต.เขาไชยราช(หมู่ที่ 1,3,6,8) ต.บางสน(หมู่ที่ 2-5) ต.ชุมโค(หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11) ต.ปากคลอง(หมู่ที่ 1,3,4,6) ต.ทะเลทรัพย์(หมู่ที่ 1-3) ต.ดอนยาง(หมู่ที่ 2,3,5,6,8,9,15) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
อ.หลังสวน น้ำท่วมในเขต ต.ท่ามะพลา(หมู่ที่ 2,8) ต.บางมะพร้าว(หมู่ที่9) ต.หาดยาย (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9) ต.พ้อแดง(หมู่ที่1,3,4,5,7,8) ต.แหลมทราย(หมู่ที่1,11) ต.วังตะกอ(หมู่ที่1) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่บ้านวังครก อ.ท่าแซะ มีระดับน้ำสูงสุด 12.15 ม. ปริมาณน้ำสูงสุด 1,095 ลบ.ม./วินาที (เวลา 19.00 น.ของวันที่ 15 ส.ค.49) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเทศบาลเมืองชุมพรในเวลาต่อมา(เริ่มมีผลกระทบเมื่อระดับน้ำที่บ้านครกมีระดับเกิน 12.00 ม.) ปริมาณน้ำจากบ้าน วังครกได้ไหลลงสู่เทศบาลเมืองชุมพร น้ำเริ่มท่วมเมืองชุมพรบริเวณที่ลุ่มรอบนอกตั้งแต่เวลา 16.00 น. (16 ส.ค.49) ในเขตชุมชนหนองทองคำ ชุมชนวัดสุบรรณ ชุมชนรังนกออก ชุมชนดอนหลวง โดยทำให้บริเวณสะพานเทศบาล 2 อ.เมือง มีระดับน้ำสูงสุด 4.00 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 285 ลบ.ม./วินาทีในวันที่ 17 ส.ค.2549 เวลา 05.00 น.(ระดับเริ่มท่วม 3.80 ม. ปริมาณน้ำ 260 ลบ.ม./วินาที) ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจาก กรมชลประทานได้ผันน้ำส่วนหนึ่งที่ไหลมาจากบ้านวังครก อ.ท่าแซะ เข้าคลองหัววัง-พนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.หัววัง จำนวน 580 ลบ.ม./วินาที) และคลองพนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.สามแก้ว จำนวน 230 ลบ.ม./วินาที) ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้น้ำไหลออกสู่ทะเลโดยไม่ไหลผ่านเข้าตัวเมืองชุมพร นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เร่งสูบน้ำ ที่ ปตร.พนังตัก จำนวน 3 เครื่อง เทศบาลเมืองชุมพร จำนวน 6 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำในหลายตำบลรอบนอกเขตเทศบาลเมืองชุมพร กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 10 เครื่อง เข้าช่วยเหลือพื้นที่รอบนอก รวมเป็นครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือทั้งหมด 19 เครื่อง
1.4 จังหวัดระนอง ได้เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.กระบุรี ในพื้นที่ ต.น้ำจืด (หมู่ที่1-3) ต.ปากจั่น (หมู่ที่2-8,10,11) ต.ลำเลียง(หมู่ที่4,7,8,10) ต.จ.ป.ร.(หมู่ที่ 7,9,11) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
1.5 จังหวัดน่าน ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 18-19 ส.ค. 49 โดยมีปริมาณฝน วันที่ 18 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าวังผา 37.0 มม. อ.ทุ่งช้าง 43.9 มม. อ.ปัว 48.5 มม. อ.บ้านหลวง 90.0 มม. อ.บ่อเกลือ 61.9 มม. และปริมาณฝนวันที่ 19 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 65.6 มม. อ.ท่าวังผา 81.1 มม. อ.ทุ่งช้าง 259.0 มม. อ.ปัว 103.5 มม. อ.เชียงกลาง 148.5 มม. อ.บ้านหลวง 55.2 มม. อ.บ่อเกลือ 177.9 มม. กิ่ง อ.ภูเพียง 50.8 มม. อ.สันติสุข 60.0 มม. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านเริ่มล้นตลิ่ง ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมน้ำในพื้นที่ 9 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ.บ่อเกลือ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ. ท่าวังผา อ.สองแคว อ.ปัว อ.เมือง อ.บ้านหลวง และ กิ่ง อ.ภูเพียง ระดับน้ำในแม่น้ำน่านที่บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน(N.64) เริ่มล้นตลิ่ง เวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 โดยมีระดับน้ำ 13.21 ม (ระดับตลิ่ง 13.20 ม.) สถานการณ์น้ำที่บ้านผาขวาง (N.64) อ.ท่าวังผา ระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 21 ส.ค.2549
ส่วนในเขตเทศบาลเมืองน่าน บริเวณสำนักงานป่าไม้เขต อ.เมืองน่าน (N.1) ระดับน้ำเริ่มล้นตลิ่งฝั่งซ้าย เมื่อเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.12 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งซ้าย 7.00 ม.) และเริ่มล้นตลิ่งฝั่งขวา เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.39 ม. (ระดับตลิ่งฝั่งขวา 7.30 ม.) โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่ 8.42 ม.(เวลา 14.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.49) และระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.2549 และเมื่อเวลา 07.00น. ของวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำอยู่ที่ 8.10 ม. ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องชั่วโมงละ 0.05 ม. ปริมาณน้ำจำนวนน้ำจะไหลลงไปที่ อ.เวียงสา เริ่มท่วมบริเวณริมตลิ่งลำน้ำน่านใน อ.เวียงสาเช้าวันที่ 22 ส.ค.49 คาดว่าในเย็นวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำที่ อ.เวียงสา จะสูงประมาณ 1.00 ม. และไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์ ต่อไป (เขื่อนสิริกิติ์ยังรับน้ำได้อีกประมาณ 3,000 ล้าน ลบ.ม.)โดยไม่มีผลกระทบต่อ อ.นาน้อย และ อ.นาหมื่น หากไม่มีฝนตกมาเพิ่มอีก คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 23 ส.ค.2549
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แจ้งเตือนประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว และนำเครื่องสูบน้ำเข้าไปติดตั้งระบายน้ำ 1 เครื่อง รถยก 1 คัน และเตรียมพร้อมไว้คอยช่วยเหลืออีก 14 เครื่อง
1.6 จังหวัดเชียงราย ได้เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 19 ส.ค.2549 ปริมาณฝนที่ อ.เมือง 40.7 มม. อ.เชียงของ 66.0 มม. อ.แม่สาย 63.1 มม. อ.เชียงแสน 65.0 มม. กิ่ง อ.ดอยหลวง 50.9 มม. กิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง 66.0 มม. และเกิดน้ำท่วมในวันที่ 20 ส.ค.49 ในพื้นที่ 2 อำเภอ ดังนี้
กิ่งอำเภอดอยหลวง มีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ต.โชคชัย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
อำเภอเชียงแสน น้ำป่าไหลหลากจากลำน้ำแม่แอบ เข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ้านแซว (หมู่ที่ 11,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 — 0.40 ม.
คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.49
1.7 จังหวัดพะเยา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.49 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ 20 ตำบล บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ อ.เชียงคำ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ทางจังหวัดพะเยาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เข้าพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.49
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--