สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 10

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 18, 2009 16:39 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 10 ณ วันที่ 13 มีนาคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2552

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 46,157 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 66 ของ ความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 22,802 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (48,516 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,359 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 7,976 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ ระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 16,836 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ       ปริมาตรน้ำในอ่างฯ         ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำระบาย
               ปริมาตร   %ความจุ     ปริมาตร      %ความจุ     วันนี้           สะสม     วันนี้     เมื่อวาน       สะสม
                   น้ำ     อ่างฯ         น้ำ        อ่างฯ               1 พ.ย.51                      1 พ.ย.51
1. ภูมิพล         7,060       52      3,260          24       0          1,363     32.1        33      3,193
2. สิริกิติ์         6,081       64      3,231          34       0            989    30.04     31.92      3,071
รวมภูมิพล+สิริกิติ์   13,141       57      6,491          28       0          2,352    62.14     64.92      6,264
3. ป่าสักชลสิทธิ์      509       53        506          53    0.67            525     6.96      6.99        835

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,343 ล้านลูกบาศก์เมตรเขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 730 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 74 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัด (ร้อยละ 85) มูลบน (ร้อยละ82) กระเสียว(ร้อยละ 82) และศรีนครินทร์(ร้อยละ 85)

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในเกณฑ์น้อย แม่ น้ำวังบริเวณจังหวัดตากอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำยมบริเวณจังหวัดแพร่ แม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยบริเวณจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำชีบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร มหาสารคาม และร้อยเอ็ด อยู่ใน เกณฑ์น้อย แม่น้ำมูลบริเวณ จังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และศรีสะเกษ อยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา อยู่ใน เกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออก แม่น้ำปราจีนบุรีบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี และแม่น้ำพระสทึงบริเวณจังหวัดสระแก้ว อยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคใต้ แม่น้ำตาปี บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีบริเวณจังหวัดยะลา และแม่น้ำโก-ลกบริเวณจังหวัดนราธิวาส อยู่ในเกณฑ์ น้อย

3. คุณภาพน้ำ

กรมประทาน ได้ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ในการดูแลรักษา คุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัด ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552

แม่น้ำ          จุดเฝ้าระวัง                        ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do)      ค่าความเค็ม    เกณฑ์
                                               (มิลลิกรัม/ลิตร)                 (กรัม/ลิตร)
เจ้าพระยา      ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                             1.98                   0.151    ค่า Do ต่ำกว่าเกณฑ์
ท่าจีน          ที่ว่าการอำเภอสามพราน จ.นครปฐม                1.36                   0.148    ค่า Do ต่ำกว่าเกณฑ์
แม่กลอง        ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชุบรี                  4.06                   0.077    ปกติ
หมายเหตุ : ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร /ค่าความเค็ม น้ำสำหรับการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 17.32 ล้านไร่ แยกเป็น

ข้าวนาปรัง จำนวน 11.61 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 8.71 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.90 ล้านไร่)

พืชไร่-ผัก จำนวน 1.96 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.54 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 1.42 ล้านไร่ )

พืชอื่นๆ จำนวน 3.75 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทานเท่านั้น)

ผลกระทบจากภัยแล้ง ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2551 — 12 มีนาคม 2552)

ได้รับรายงานผลกระทบรวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย หนองบัวลำภู สระแก้ว เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร แยกเป็น

ด้านพืช จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง สุโขทัย สระแก้ว เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกร 36,950 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 367,138 ไร่ แยกเป็น ข้าว 179,136 ไร่ พืชไร่ 96,036 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 91,966 ไร่ เป็นพื้นที่เสียหายแล้ว 2,690 ไร่

ด้านปศุสัตว์ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู เพชรบุรี และชุมพร เกษตรกร 12,950 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 252,913 ตัว เป็น โค-กระบือ 30,080 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 11,847 ตัว สัตว์ปีก 210,986 ตัว

สำหรับด้านประมงยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่แล้ว 773 เครื่อง (จาก 1,200 เครื่อง) โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 212 เครื่อง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 310 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 207 เครื่อง และภาคใต้ 44 เครื่อง

2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 72.52 ตัน และเตรียมไว้ช่วยเหลืออีก 6,635 ตัน และดูแลสุขภาพสัตว์ 625 ตัว

3. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. ถึง 12 มี.ค. 2552 จำนวน 8 หน่วยปฏิบัติการ(เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ระยอง หัวหิน ชุมพร) ขึ้นบิน 671 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม 115 สถานี ในพื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กาญจนบุรี ลพบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด เลย ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช รวมเป็นพื้นที่ที่ได้รับ ประโยชน์(จากผลการตรวจเรดาร์) 43.37 ล้านไร่

4. การจ่ายเงินช่วยเหลือ

งบทดรองราชการจังหวัด จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง และเพชรบุรี เป็นเงินทั้งสิ้น 1.65 ล้านบาท

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ