คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานสถานการณ์เบิกจ่ายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2549 และประมาณการเบื้องต้นการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2550 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2549
1.1.1 ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจได้รับอนุมัติการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2549 รวมทั้งสิ้น 264,459 ล้านบาท ซึ่งจากการประมวลผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งที่ใช้ปีงบประมาณและปีปฏิทินจนถึง 15 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 131,315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของเป้าหมาย และมีวงเงินคงเหลือที่ต้องเบิกจ่ายลงทุนอีก 133,144 ล้านบาท ประกอบด้วยวงเงินที่เบิกจ่ายลงทุนในช่วงกรกฎาคม —กันยายน 2549 จำนวน 99,529 ล้านบาท และตุลาคม-ธันวาคม 2549 จำนวน 33,614 ล้านบาท
1.1.2 งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจส่วนที่เหลือ จำนวน 133,144 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 49,079 ล้านบาท กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 23,121 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย จำนวน 22,172 ล้านบาท กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 21,102 ล้านบา และกระทรวงพลังงาน จำนวน 10,189 ล้านบาท
1.1.3 โครงการสำคัญที่มีวงเงินเบิกจ่ายลงทุนสูงในช่วงเวลาที่เหลือ (ก.ค.-ธ.ค.2549)
โครงการ วงเงินปี เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ คงเหลือ
2549
โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะ 1-5 49,554 26,528 53.5 23,026
โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 27,658 14,272 51.6 13,386
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 9,288 1,357 14.6 7,931
โครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายฯ ฉบับที่ 9 8,551 1,804 21.1 6,747
โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟสายตะวันออก 7,809 2,386 30.6 5,423
(พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
โครงการลงทุนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของ บกท. 5,305 1,893 35.7 3,412
โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 565,500 เลขหมาย 3,490 356 10.2 3,134
โครงการซื้อหุ้นบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2,987 0 0 2,987
โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย 4,788 2,334 48.7 2,454
ระยะที่ 6
โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA 2001-X 2,500 498 19.9 2,002
1.2 ประมาณการความต้องการเบิกจ่ายลงทุนเบื้องต้นของรัฐวิสาหกิจปี 2550
1.2.1 รัฐวิสาหกิจจำนวน 54 แห่ง ได้ส่งงบประมาณประจำปี 2550 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา โดยมีความต้องการเบิกจ่ายลงทุนในเบื้องต้นเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 346,501 ล้านบาท (ไม่รวมการลงทุนของ ปตท. จำนวนประมาณ 60,000 ล้านบาท)ประกอบด้วย 1. งบลงทุนผูกพัน 88,120 ล้านบาท 2. งบลงทุนใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2550 258,381 ล้านบาท
1.2.2 งบลงทุนผูกพัน วงเงิน 88,120 ล้านบาท ประกอบด้วย งบลงทุนผูกพันของงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 34,428 ล้านบาท และงบลงทุนที่ทำเป็นโครงการจำนวน 53,692 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของโครงการมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการจัดหาเครื่องบินของบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ วงเงิน 7,595 ล้านบาท โครงการพลังความร้อนร่วมสงขลาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 7,349 ล้านบาท โครงการปรับปรุงขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปี 2545-2550) ของการไฟฟ้านครหลวง วงเงิน6,426 ล้านบาท โครงการทางพิเศษรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 5,502 ล้านบาท โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 565,500 เลขหมาย วงเงิน 3,284 ล้านบาท
1.2.3 งบลงทุนใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2550 วงเงิน 258,381 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 49,834 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 36,781 ล้านบาท
ทั้งนี้ให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนตามแผนงานและโครงการของรัฐวิสาหกิจในปี 2549 และให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดจัดทำแผนการดำเนินงานและการลงทุนปี 2550 และขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอน โดยเฉพาะการลงทุนเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค พลังงาน และด้านสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย
2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานคณะทำงานโดย มีกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาแนวทางการประสานและเร่งรัดการจัดทำงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แล้วดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--
1. รับทราบผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2549 และประมาณการเบื้องต้นการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2550 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2549
1.1.1 ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจได้รับอนุมัติการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2549 รวมทั้งสิ้น 264,459 ล้านบาท ซึ่งจากการประมวลผลการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งที่ใช้ปีงบประมาณและปีปฏิทินจนถึง 15 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 131,315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของเป้าหมาย และมีวงเงินคงเหลือที่ต้องเบิกจ่ายลงทุนอีก 133,144 ล้านบาท ประกอบด้วยวงเงินที่เบิกจ่ายลงทุนในช่วงกรกฎาคม —กันยายน 2549 จำนวน 99,529 ล้านบาท และตุลาคม-ธันวาคม 2549 จำนวน 33,614 ล้านบาท
1.1.2 งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจส่วนที่เหลือ จำนวน 133,144 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 49,079 ล้านบาท กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 23,121 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย จำนวน 22,172 ล้านบาท กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 21,102 ล้านบา และกระทรวงพลังงาน จำนวน 10,189 ล้านบาท
1.1.3 โครงการสำคัญที่มีวงเงินเบิกจ่ายลงทุนสูงในช่วงเวลาที่เหลือ (ก.ค.-ธ.ค.2549)
โครงการ วงเงินปี เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ คงเหลือ
2549
โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะ 1-5 49,554 26,528 53.5 23,026
โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 27,658 14,272 51.6 13,386
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 9,288 1,357 14.6 7,931
โครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายฯ ฉบับที่ 9 8,551 1,804 21.1 6,747
โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟสายตะวันออก 7,809 2,386 30.6 5,423
(พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
โครงการลงทุนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของ บกท. 5,305 1,893 35.7 3,412
โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 565,500 เลขหมาย 3,490 356 10.2 3,134
โครงการซื้อหุ้นบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2,987 0 0 2,987
โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่าย 4,788 2,334 48.7 2,454
ระยะที่ 6
โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA 2001-X 2,500 498 19.9 2,002
1.2 ประมาณการความต้องการเบิกจ่ายลงทุนเบื้องต้นของรัฐวิสาหกิจปี 2550
1.2.1 รัฐวิสาหกิจจำนวน 54 แห่ง ได้ส่งงบประมาณประจำปี 2550 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา โดยมีความต้องการเบิกจ่ายลงทุนในเบื้องต้นเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 346,501 ล้านบาท (ไม่รวมการลงทุนของ ปตท. จำนวนประมาณ 60,000 ล้านบาท)ประกอบด้วย 1. งบลงทุนผูกพัน 88,120 ล้านบาท 2. งบลงทุนใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2550 258,381 ล้านบาท
1.2.2 งบลงทุนผูกพัน วงเงิน 88,120 ล้านบาท ประกอบด้วย งบลงทุนผูกพันของงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 34,428 ล้านบาท และงบลงทุนที่ทำเป็นโครงการจำนวน 53,692 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของโครงการมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการจัดหาเครื่องบินของบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ วงเงิน 7,595 ล้านบาท โครงการพลังความร้อนร่วมสงขลาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 7,349 ล้านบาท โครงการปรับปรุงขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปี 2545-2550) ของการไฟฟ้านครหลวง วงเงิน6,426 ล้านบาท โครงการทางพิเศษรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 5,502 ล้านบาท โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 565,500 เลขหมาย วงเงิน 3,284 ล้านบาท
1.2.3 งบลงทุนใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2550 วงเงิน 258,381 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 49,834 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 36,781 ล้านบาท
ทั้งนี้ให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนตามแผนงานและโครงการของรัฐวิสาหกิจในปี 2549 และให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดจัดทำแผนการดำเนินงานและการลงทุนปี 2550 และขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอน โดยเฉพาะการลงทุนเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค พลังงาน และด้านสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย
2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานคณะทำงานโดย มีกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาแนวทางการประสานและเร่งรัดการจัดทำงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แล้วดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--