คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์น้ำในปัจจุบันตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอดังนี้
ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในภาคเหนือตอนล่าง เมื่อวันที่ 22 — 24 พฤษภาคม 2549 ในจังหวัดอุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,ลำปาง,สุโขทัย และตาก ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่มีน้ำท่วมขัง ในพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำบางพื้นที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้สรุปสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2549) ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำท่วม
จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่ อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.05 — 1.30 เมตร
จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยบางพื้นที่ในเขต 2 อำเภอ รวม 12 ตำบล ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม ส่วนสภาพน้ำที่เน่าเสียนั้น มีสภาพดีขึ้น กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 26 เครื่อง ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรบางพื้นที่ในอำเภอสามง่าม และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ระดับน้ำท่วมขังลดลงอย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 40 เครื่อง เข้าช่วยเหลือ อำเภอสามง่าม จำนวน 24 เครื่อง และที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จำนวน 6 เครื่อง ที่ กิ่งอำเภอ บึงนาราง จำนวน 3 เครื่อง และ ที่อำเภอเมือง จำนวน 7 เครื่อง เร่งสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังลงแม่น้ำยม จึงทำให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น
จังหวัดกำแพงเพชร ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องบนเทือกเขาอุทยานคลองวังเจ้า ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาสะสมบริเวณ ถนนสายเอเชีย ช่วง กม.371 — 372 สายกำแพงเพชร — ตาก โดยในคืนวันที่ 25 มิถุนายน 2549 น้ำระบายลงสู่แม่น้ำปิงไม่ทัน ทำให้เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนในเขตตำบลเพชรชมพู และตำบลลานดอกไม้ตก กิ่งอำเภอโกสุมพีนคร ประมาณ 8,000 ไร่ โครงการชลประทานกำแพงเพชร ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทางหลวงท้องถิ่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วน และได้ร่วมกันขุดเจาะถนนทางเข้าชุมชนในหมู่บ้านในเขตทั้งสองตำบล ซึ่งขวางทางน้ำ ทำให้ระบายน้ำลงแม่น้ำปิงได้เร็วขึ้น ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้วในเย็นวันที่ 26 มิถุนายน 2549 เวลา 16.00 น.
จังหวัดตรัง จากสภาพฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำตรังเพิ่มสูงขึ้น และไหลเข้าสู่คลองอะไหล่ ทำให้ในเช้าวันที่ 26 มิถุนายน 2549 ระดับน้ำในคลองอะไหล่เริ่มไหลล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมคลอง บริเวณ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ระดับน้ำเริ่มลดลงในตอนเที่ยงวันเดียวกันและที่คลองนางน้อย ระดับน้ำในคลองสูงขึ้นและไหลบ่าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณชุมชนวัดควนขัน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว
2. สถานการณ์น้ำเน่าเสีย
แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำเน่าเสียจากอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้ระบายลงคลองเมม ลงคลองระบายน้ำ DR.15.8 และไหลลงแม่น้ำน่าน ที่ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยที่ อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิษณุโลก (N.8A) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (ค่า DO) ได้ 4.06 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 4.36 มิลลิกรัม/ลิตร) และที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ (N.67) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ได้ 2.83 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 3.07 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำยม ปริมาณน้ำเน่าเสียที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไหลลงแม่น้ำยมปริมาณน้ำเน่าเสียนี้จำนวนหนึ่งได้ระบายผ่านคลองระบาย DR.2.8 ลงสู่แม่น้ำน่านที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก น้ำเน่าเสียในแม่น้ำยมอีกส่วนหนึ่งไหลไปตามแม่น้ำยม ผ่านอำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ต่อจากนั้นไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่อำเภอสามง่าม (Y.17) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ได้ 1.05 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย. 49 วัดค่าได้ 2.14 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่อำเภอโพทะเล (Y.5) วัดค่า DO ได้ 1.79 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 1.70 มิลลิกรัม/ลิตร) และที่เขื่อนระบายน้ำท่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์ (Y.41) วัดค่า DO ได้ 2.41 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.33 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำเน่าเสียได้เคลื่อนตัวสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คุณภาพน้ำค่า DO เพิ่มขึ้นจากวันก่อนเล็กน้อย โดยที่สะพานเลี่ยงเมือง จ.นครสวรรค์ (C.24) วัดค่า DO ได้ 3.89 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 4.05 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่ศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท วัดค่า DO ได้ 3.25 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.75 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา (C.2) วัดค่า DO ได้ 3.66 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 3.30 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) วัดค่า DO ได้ 5.65 มิลลิกรัม (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 6.24 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำสะแกกรัง เกิดน้ำเน่าเสียในแม่น้ำสะแกกรังตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมากรมชลประทานได้เปิดประตูระบายน้ำประพาสต้น รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปเจือจางน้ำในแม่น้ำสะแกกรัง ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น โดยที่บริเวณหน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (CT.2A) วัดค่า DO ได้ 3.20 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.37 มิลลิกรัม/ลิตร)
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรที่จะได้รับผลกระทบรับทราบและเตรียมรับสถานการณ์พร้อมทั้งเพิ่มการระบายน้ำ ของอ่างเก็บน้ำภูมิพลและสิริกิติ์รวมทั้งสองอ่าง จาก 100 ลบ.ม./วินาที เป็น 300 ลบ.ม/วินาที เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมา
3. การให้ความช่วยเหลือ
กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก 15 คัน รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถแบคโฮ 2 คัน เทรลเลอร์ 6 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน รถตักหน้า ขุดหลัง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 ตัน 2 คัน รถขุดติดตั้งบนโป๊ะ 5 ลำ
ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังมีเศษซากปรักหักพัง เศษไม้ และดินจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพหลังน้ำลด กรมชลประทานได้ส่งรถแบคโฮ 2 คัน รถตักหน้า ขุดหลัง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 ตัน 2 คัน เรือขุด 5 ลำ เทรลเลอร์ 2 คัน รถเครน 25 ตัน 1 คัน เข้าช่วยเหลือในจังหวัดอุตรดิตถ์
สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่มานจังหวัดแพร่ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 17.00 ล้าน ลบ.ม. (90% ของความจุอ่างฯ) กรมชลประทานได้นำเครื่องสูบน้ำความดันสูง จำนวน 2 เครื่อง และติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 16 แถว ใช้ระบายพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--
ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในภาคเหนือตอนล่าง เมื่อวันที่ 22 — 24 พฤษภาคม 2549 ในจังหวัดอุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,ลำปาง,สุโขทัย และตาก ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่มีน้ำท่วมขัง ในพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำบางพื้นที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้สรุปสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2549) ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำท่วม
จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่ อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.05 — 1.30 เมตร
จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยบางพื้นที่ในเขต 2 อำเภอ รวม 12 ตำบล ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม ส่วนสภาพน้ำที่เน่าเสียนั้น มีสภาพดีขึ้น กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 26 เครื่อง ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรบางพื้นที่ในอำเภอสามง่าม และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ระดับน้ำท่วมขังลดลงอย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 40 เครื่อง เข้าช่วยเหลือ อำเภอสามง่าม จำนวน 24 เครื่อง และที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จำนวน 6 เครื่อง ที่ กิ่งอำเภอ บึงนาราง จำนวน 3 เครื่อง และ ที่อำเภอเมือง จำนวน 7 เครื่อง เร่งสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังลงแม่น้ำยม จึงทำให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น
จังหวัดกำแพงเพชร ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องบนเทือกเขาอุทยานคลองวังเจ้า ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาสะสมบริเวณ ถนนสายเอเชีย ช่วง กม.371 — 372 สายกำแพงเพชร — ตาก โดยในคืนวันที่ 25 มิถุนายน 2549 น้ำระบายลงสู่แม่น้ำปิงไม่ทัน ทำให้เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนในเขตตำบลเพชรชมพู และตำบลลานดอกไม้ตก กิ่งอำเภอโกสุมพีนคร ประมาณ 8,000 ไร่ โครงการชลประทานกำแพงเพชร ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทางหลวงท้องถิ่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วน และได้ร่วมกันขุดเจาะถนนทางเข้าชุมชนในหมู่บ้านในเขตทั้งสองตำบล ซึ่งขวางทางน้ำ ทำให้ระบายน้ำลงแม่น้ำปิงได้เร็วขึ้น ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้วในเย็นวันที่ 26 มิถุนายน 2549 เวลา 16.00 น.
จังหวัดตรัง จากสภาพฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำตรังเพิ่มสูงขึ้น และไหลเข้าสู่คลองอะไหล่ ทำให้ในเช้าวันที่ 26 มิถุนายน 2549 ระดับน้ำในคลองอะไหล่เริ่มไหลล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมคลอง บริเวณ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ระดับน้ำเริ่มลดลงในตอนเที่ยงวันเดียวกันและที่คลองนางน้อย ระดับน้ำในคลองสูงขึ้นและไหลบ่าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณชุมชนวัดควนขัน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว
2. สถานการณ์น้ำเน่าเสีย
แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำเน่าเสียจากอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้ระบายลงคลองเมม ลงคลองระบายน้ำ DR.15.8 และไหลลงแม่น้ำน่าน ที่ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยที่ อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิษณุโลก (N.8A) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (ค่า DO) ได้ 4.06 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 4.36 มิลลิกรัม/ลิตร) และที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ (N.67) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ได้ 2.83 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 3.07 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำยม ปริมาณน้ำเน่าเสียที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไหลลงแม่น้ำยมปริมาณน้ำเน่าเสียนี้จำนวนหนึ่งได้ระบายผ่านคลองระบาย DR.2.8 ลงสู่แม่น้ำน่านที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก น้ำเน่าเสียในแม่น้ำยมอีกส่วนหนึ่งไหลไปตามแม่น้ำยม ผ่านอำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ต่อจากนั้นไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่อำเภอสามง่าม (Y.17) วัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ได้ 1.05 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย. 49 วัดค่าได้ 2.14 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่อำเภอโพทะเล (Y.5) วัดค่า DO ได้ 1.79 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 1.70 มิลลิกรัม/ลิตร) และที่เขื่อนระบายน้ำท่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์ (Y.41) วัดค่า DO ได้ 2.41 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.33 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำเน่าเสียได้เคลื่อนตัวสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คุณภาพน้ำค่า DO เพิ่มขึ้นจากวันก่อนเล็กน้อย โดยที่สะพานเลี่ยงเมือง จ.นครสวรรค์ (C.24) วัดค่า DO ได้ 3.89 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 4.05 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่ศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท วัดค่า DO ได้ 3.25 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.75 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา (C.2) วัดค่า DO ได้ 3.66 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 3.30 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) วัดค่า DO ได้ 5.65 มิลลิกรัม (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 6.24 มิลลิกรัม/ลิตร)
แม่น้ำสะแกกรัง เกิดน้ำเน่าเสียในแม่น้ำสะแกกรังตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมากรมชลประทานได้เปิดประตูระบายน้ำประพาสต้น รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปเจือจางน้ำในแม่น้ำสะแกกรัง ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น โดยที่บริเวณหน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (CT.2A) วัดค่า DO ได้ 3.20 มิลลิกรัม/ลิตร (25 มิ.ย.49 วัดค่าได้ 2.37 มิลลิกรัม/ลิตร)
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรที่จะได้รับผลกระทบรับทราบและเตรียมรับสถานการณ์พร้อมทั้งเพิ่มการระบายน้ำ ของอ่างเก็บน้ำภูมิพลและสิริกิติ์รวมทั้งสองอ่าง จาก 100 ลบ.ม./วินาที เป็น 300 ลบ.ม/วินาที เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมา
3. การให้ความช่วยเหลือ
กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก 15 คัน รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถแบคโฮ 2 คัน เทรลเลอร์ 6 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน รถตักหน้า ขุดหลัง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 ตัน 2 คัน รถขุดติดตั้งบนโป๊ะ 5 ลำ
ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังมีเศษซากปรักหักพัง เศษไม้ และดินจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพหลังน้ำลด กรมชลประทานได้ส่งรถแบคโฮ 2 คัน รถตักหน้า ขุดหลัง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 ตัน 2 คัน เรือขุด 5 ลำ เทรลเลอร์ 2 คัน รถเครน 25 ตัน 1 คัน เข้าช่วยเหลือในจังหวัดอุตรดิตถ์
สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่มานจังหวัดแพร่ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 17.00 ล้าน ลบ.ม. (90% ของความจุอ่างฯ) กรมชลประทานได้นำเครื่องสูบน้ำความดันสูง จำนวน 2 เครื่อง และติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 16 แถว ใช้ระบายพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--