คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2548 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการตามมาตรการพิเศษในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2548 ตามที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เสนอ
2. อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ของเกษตรกรให้แก่ ธ.ก.ส. ในการดำเนินการตามมาตรการพิเศษดังกล่าว โดยให้มีการชดเชยแก่ ธ.ก.ส.เป็นปี ๆ ไปตามข้อเท็จจริงภายใน 3 ปี
โดยให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า ควรให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรประมวลข้อมูลความเสียหายของเกษตรกรตามที่เกิดขึ้นจริง เมื่อทราบวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาลแล้วให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป และหากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีฐานะการเงินดีขึ้น ควรให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรรับภาระเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลในการชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. จากการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งที่ 8/2548 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยในปีการผลิต 2548 ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2549 มีเกษตรกรลูกค้าประสบภัย 52 จังหวัด ได้รับความเสียหาย 237,184 ครัวเรือน ในพื้นที่ 2.30 ล้านไร่ ดังนี้
1.1 มาตรการปกติในการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า
1.1.1 ผัดผ่อนการชำระหนี้เงินกู้ที่เกษตรกรลูกค้ามีอยู่กับ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่ปรับดอกเบี้ยเพิ่ม
1.1.2 ให้เกษตรกรลูกค้ายังคงอยู่ตามชั้นลูกค้าเดิมในการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
1.2 มาตรการพิเศษในการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า
1.2.1 หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
(1) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนสูญเสียชีวิต ธ.ก.ส.จะให้ความช่วยเหลือโดยจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ และ ธ.ก.ส. รับภาระเอง ซึ่งปรากฏว่ามีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต 3 ราย
(2) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
(3) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2548-2550 โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยที่งดคิดดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีเลิศ (AAA+) ซึ่งขณะนี้อยู่ที่อัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี
1.2.2 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
ธ.ก.ส. จะให้เงินกู้แก่เกษตรกรลูกค้ารายละไม่เกิน 30,000 บาท โดยลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติตามชั้นลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี กำหนดชำระเงินกู้ตามความสามารถการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
(1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
(2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองและรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายหลักประกันเงินกู้จากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
รัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ตามรอบปีบัญชี 2548-2550 (วันที่ 1 เมษายน 2548 - วันที่ 31 มีนาคม 2551) ในมาตรการพิเศษข้างต้น ประมาณ 983,040,000 บาท จากการงดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย จำนวน 864,600,000 บาท และจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพหลังประสบภัย จำนวน 118,440,000 บาท สำหรับ ธ.ก.ส. ได้รับภาระไว้เอง 379,949,645.75 บาท ในส่วนของการจำหน่ายหนี้สูญของเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิตจำนวน 280,205.75 บาท และดอกเบี้ยหนี้เงินกู้เดิมที่เกินร้อยละ 5.50 ต่อปี จำนวน 379,669,440 บาท
ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2548 ตามมาตรการพิเศษที่ ธ.ก.ส. เสนอมานั้น อยู่บนหลักการเดียวกันกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2544-2547 ซึ่งการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งมีการให้สินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูการผลิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการตามมาตรการพิเศษในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2548 ตามที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เสนอ
2. อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ของเกษตรกรให้แก่ ธ.ก.ส. ในการดำเนินการตามมาตรการพิเศษดังกล่าว โดยให้มีการชดเชยแก่ ธ.ก.ส.เป็นปี ๆ ไปตามข้อเท็จจริงภายใน 3 ปี
โดยให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า ควรให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตรประมวลข้อมูลความเสียหายของเกษตรกรตามที่เกิดขึ้นจริง เมื่อทราบวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาลแล้วให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป และหากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีฐานะการเงินดีขึ้น ควรให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรรับภาระเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลในการชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. จากการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งที่ 8/2548 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยในปีการผลิต 2548 ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2549 มีเกษตรกรลูกค้าประสบภัย 52 จังหวัด ได้รับความเสียหาย 237,184 ครัวเรือน ในพื้นที่ 2.30 ล้านไร่ ดังนี้
1.1 มาตรการปกติในการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า
1.1.1 ผัดผ่อนการชำระหนี้เงินกู้ที่เกษตรกรลูกค้ามีอยู่กับ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่ปรับดอกเบี้ยเพิ่ม
1.1.2 ให้เกษตรกรลูกค้ายังคงอยู่ตามชั้นลูกค้าเดิมในการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
1.2 มาตรการพิเศษในการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า
1.2.1 หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
(1) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนสูญเสียชีวิต ธ.ก.ส.จะให้ความช่วยเหลือโดยจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ และ ธ.ก.ส. รับภาระเอง ซึ่งปรากฏว่ามีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต 3 ราย
(2) ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
(3) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2548-2550 โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยที่งดคิดดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีเลิศ (AAA+) ซึ่งขณะนี้อยู่ที่อัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี
1.2.2 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
ธ.ก.ส. จะให้เงินกู้แก่เกษตรกรลูกค้ารายละไม่เกิน 30,000 บาท โดยลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติตามชั้นลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี กำหนดชำระเงินกู้ตามความสามารถการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
(1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
(2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองและรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายหลักประกันเงินกู้จากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
รัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ตามรอบปีบัญชี 2548-2550 (วันที่ 1 เมษายน 2548 - วันที่ 31 มีนาคม 2551) ในมาตรการพิเศษข้างต้น ประมาณ 983,040,000 บาท จากการงดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย จำนวน 864,600,000 บาท และจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพหลังประสบภัย จำนวน 118,440,000 บาท สำหรับ ธ.ก.ส. ได้รับภาระไว้เอง 379,949,645.75 บาท ในส่วนของการจำหน่ายหนี้สูญของเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิตจำนวน 280,205.75 บาท และดอกเบี้ยหนี้เงินกู้เดิมที่เกินร้อยละ 5.50 ต่อปี จำนวน 379,669,440 บาท
ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2548 ตามมาตรการพิเศษที่ ธ.ก.ส. เสนอมานั้น อยู่บนหลักการเดียวกันกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปีการผลิต 2544-2547 ซึ่งการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งมีการให้สินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูการผลิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--