รายงานการติดตามและประเมินผล FTA

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 25, 2009 14:59 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการติดตามและประเมินผล FTA ของไทยที่มีผลบังคับใช้แล้ว 5 ประเทศ ดังนี้

1. การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในปี 2551

1.1 การส่งออกรวมและการส่งออกภายใต้ FTA ปี 2551 ระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA 5 ประเทศ ส่งออกมูลค่า 48,407.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.2 และส่งออกภายใต้ FTA มูลค่า 12,652.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวม ร้อยละ 27.8

รายการ                           ส่งออกรวม                             การส่งออกภายใต้ FTA
                              (ล้านเหรียญสหรัฐ)                           (ล้านเหรียญสหรัฐ)
                     ปี 2550       ปี 2551   %เปลี่ยนแปลง       ปี 2550       ปี 2551    % สัดส่วนการใช้สิทธิ
ออสเตรเลีย          5,937.40     7,982.50        34.4      4,066.70     4,915.20               61.6
นิวซีแลนด์               639.6        742.7        16.1             -            -                  -
อินเดีย              2,662.90     3,401.40        27.7         398.7        450.3               96.1
จีน                14,846.80    16,190.80         9.1      1,769.40     1,777.40                 11
ญี่ปุ่น                3,227.90    20,090.30        10.9         641.5     5,509.10               27.4
รวม 5 ประเทศ      27,314.60    48,407.70        77.2      6,876.30    12,652.00               27.8
หมายเหตุ :  นิวซีแลนด์ ไม่มีสถิติการใช้ประโยชน์ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง

อินเดีย การส่งออกภายใต้ FTA เฉพาะสินค้าเร่งลดภาษี จำนวน 82 รายการ

ญี่ปุ่น ปี 2550 เป็นตัวเลขของเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

1.2 การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมากหรือน้อยเนื่องจาก

ประเทศ            รายการ
ออสเตรเลีย         การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากไทยใช้สิทธิในการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบโดยเฉพาะ

รถปิกอัพไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 250 เมื่อเทียบกับก่อนทำ FTA และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 35

นิวซีแลนด์           ไม่มีสถิติการใช้ประโยชน์ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง
อินเดีย             การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากภาษีนำเข้าปกติส่วนใหญ่ของอินเดียอยู่ในระดับสูง

ระหว่างร้อยละ 5-10

จีน                การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจาก

1) สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจีนภาษีลดลงเป็น 0% แล้ว เช่น สินค้าเครื่องจักรกล/ไฟฟ้าและอุปกรณ์

2) มีสินค้าบางรายการส่งไปจีนโดยผ่านบริษัทในฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวันก่อน ได้แก่ กล้องถ่ายรูป ชุดชั้นใน

ญี่ปุ่น               การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากส่วนใหญ่ภาษีนำเข้าปกติของญี่ปุ่นลดเป็น 0 แล้ว ประมาณ

ร้อยละ 75 ของรายการสินค้าทั้งหมด

1.3 การนำเข้ารวมและการนำเข้าภายใต้ FTAในปี 2551ระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA 5 ประเทศ นำเข้ามูลค่า 61,887.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.8 และนำเข้าภายใต้ FTA มูลค่า 3,930.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนต่อการนำเข้ารวม ร้อยละ 6.6

รายการ                           ส่งออกรวม                             การส่งออกภายใต้ FTA
                              (ล้านเหรียญสหรัฐ)                           (ล้านเหรียญสหรัฐ)
                     ปี 2550       ปี 2551   %เปลี่ยนแปลง       ปี 2550       ปี 2551    % สัดส่วนการใช้สิทธิ
ออสเตรเลีย          3,800.50     5,160.20         35.8        433.5        496.4                9.6
นิวซีแลนด์               412.4        651.3         57.9        155.5        239.4               36.8
อินเดีย              2,066.10     2,618.30         26.7         33.5           41               24.7
จีน                16,224.90    20,055.90         23.6        154.1        848.7                4.2
ญี่ปุ่น                5,027.50    33,401.90         17.7         46.8     2,304.90                6.9
รวม 5 ประเทศ      27,531.40    61,887.60        124.8        823.5     3,930.40                6.6
หมายเหตุ :  อินเดีย การนำเข้าภายใต้ FTA เฉพาะสินค้าเร่งลดภาษี จำนวน 82 รายการ

ญี่ปุ่น ปี 2550 เป็นตัวเลขของเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

1.4 การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมากหรือน้อยเนื่องจาก

ประเทศ          รายการ
ออสเตรเลีย       การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากมีการทยอยลดภาษีซึ่งจนถึงปัจจุบันยังลดภาษีไม่มาก

และสินค้าที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบซึ่งภาษีนำเข้าปกติมีอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว

นิวซีแลนด์         การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 40 เป็นการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม

ซึ่งไทยมีความต้องการนำมาใช้ในประเทศ

อินเดีย           การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากภาษีนำเข้าปกติของสินค้าบางชนิดอยู่ในระดับสูง เช่น องุ่นสด

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์

จีน              การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากสินค้านำเข้าสำคัญของไทยลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว เช่น

เครื่องคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์

ญี่ปุ่น             การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตมายังไทยในหลายอุตสาหกรรม เช่น

รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้มีการนำเข้าโดยตรงจากญี่ปุ่นไม่มากนัก

2. การลงทุนโดยตรงในไทยจากประเทศคู่เจรจา FTA ในปี 2551 ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก 5 ประเทศ มูลค่ารวม 109,760 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.5 เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก จึงได้ชะลอการลงทุน

ประเทศ                     ปี 2550                    ปี 2551               % เปลี่ยนแปลง
                    โครงการ      มูลค่า        โครงการ       มูลค่า       โครงการ        มูลค่า
                    (จำนวน)   (ล้านบาท)       (จำนวน)    (ล้านบาท)      (จำนวน)     (ล้านบาท)
ออสเตรเลีย                25      3,234            22       3,330          -12            3
นิวซีแลนด์                   5        588             4         343          -20        -41.7
อินเดีย                    21      2,699            22       1,588          4.8        -41.2
จีน                       31     17,175            21       1,505        -32.3        -91.2
ญี่ปุ่น                     330    149,071           324     102,994         -1.8        -30.9
รวม 5 ประเทศ            412    172,767           393     109,760         -4.6        -36.5

3. เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ

ประเทศ            เรื่องที่ต้องดำเนินการ
ไทย-ออสเตรเลีย     1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม

2) การเจรจาเรื่องนโยบายการแข่งขัน

3) การทบทวนสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ

4) การทบทวนความตกลงฯ (ระดับรัฐมนตรี)

5) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ 1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ

2) การทบทวนสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ

3) การทบทวนความตกลงฯ (ระดับรัฐมนตรี)

4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์

5) โครงการความร่วมมือด้านปศุสัตว์

ไทย-อินเดีย         เจรจาเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน
อาเซียน-จีน         1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม

2) การทบทวนความตกลงการค้าสินค้า

ไทย-ญี่ปุ่น           การเจรจาเพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ