สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 25, 2009 17:10 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552) ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552) จึงขอ สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบเพิ่มเติม ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 23 มีนาคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 49 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย ศรีสะเกษ อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ระยอง สระแก้ว ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 462 อำเภอ 2,291 ตำบล 17,526 หมู่บ้าน (คิดเป็น 30.65 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 49 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 23.39% ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่ บ้าน) แยกเป็น

ที่                          พื้นที่ประสบภัย                                                        ราษฎรประสบภัย
    ภาค       จังหวัด       อำเภอ       ตำบล      หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                         คน      ครัวเรือน
1   เหนือ         15         137        695      5,433    กำแพงเพชร  ตาก  น่าน พิจิตร    1,678,855      529,126

พิษณุโลก แพร่ พะเยา ลำปาง

ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงราย

เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุทัยธานี

2   ตะวันออก      17         234      1,136      9,721    กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม   3,688,741      961,158
    เฉียงเหนือ                                             นครราชสีมา บุรีรัมย์มหาสารคาม

ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร

สุรินทร์ หนองคาย ศรีสะเกษ

อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

3   กลาง          5          33        238      1,073    ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี     507,078      129,170

ราชบุรี สุพรรณบุรี

4   ตะวันออก       7          38        138        861    จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด     327,772       95,380

นครนายก ระยอง สระแก้ว

5   ใต้            5          20         84        438    ชุมพร  ตรัง  นครศรีธรรมราช       117,200       38,768

สตูล สุราษฎร์ธานี

    รวมทั้งประเทศ  49         462      2,291     17,526                                6,319,646    1,753,602

ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน        2 มี.ค. 2552        9 มี.ค. 2552        16 มี.ค. 2552        23 มี.ค. 2552
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ            16,590    3,174        0     3,727         553   4,470         743   5,433        963
2 ตะวันออก         33,099    2,538    1,666     4,015       1,477   6,322       2,307   9,721      3,399
เฉียงเหนือ
3 กลาง            11,736      306        0       483         177     483           0   1,073        590
4 ตะวันออก          4,859    1,067        0       730        -337     838         108     861         23
5 ใต้               8,660      334      226       277         -57     404         127     438         34
  รวม             74,944    7,419    1,892     9,232       1,813  12,517       3,285  17,526      5,009

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน             ข้อมูลปี  2552               ข้อมูลปี  2551             เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552)     (ณ วันที่ 23 มีนาคม 2551)      แล้ง ปี 2552 กับปี 2551
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อย
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ละของหมู่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/     บ้านที่ประ
  • ลด สบภัยแล้ง
1   เหนือ         16,590         5,433          32.75       4,353          26.24       1,080       24.81
2   ตะวันออก      33,099         9,721          29.37      12,677           38.3      -2,956      -23.32
เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736         1,073           9.14       1,137           9.69         -64       -5.63
4   ตะวันออก       4,859           861          17.72       1,365          28.09        -504      -36.92
5   ใต้            8,660           438           5.06         274           3.16         164       59.85
    รวม          74,944        17,526          23.39      19,806          26.43      -2,280      -11.51

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 54 จังหวัด 431 อำเภอ 2,772 ตำบล 19,806 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 19,806 หมู่บ้าน คิดเป็น 33.52 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 54 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 26.43 % ของ หมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) ปี 2552 น้อยกว่าปี 2551 จำนวน 5 จังหวัด 2,280 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,319,646 คน 1,753,602 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 781,443 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 375,250 ไร่ นาข้าว 242,526 ไร่ พืชสวน
และอื่นๆ 165,304 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,467 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 282,905,730 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 3,880 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 1,308 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 354,459,391 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 163,284,523 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 144,541,581 บาท
  • งบอื่น ๆ 46,633,287 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 773 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 212 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 310 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง 207 เครื่อง และภาคใต้ 44 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน

6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำ ไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปาด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุนจ่ายน้ำช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 137 ล้านลิตร เป็นจำนวนเงิน 2,193,708 บาท

2. พายุฤดูร้อน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 ได้เกิดพายุฤดูร้อนลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ทำให้ได้รับความเสียหายใน 2 จังหวัด 3 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 655 ครัวเรือน ดังนี้

2.1 จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 15.00 น. ได้เกิดเหตุพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง ในพื้นที่อำเภอ โคกสำโรง จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลสะแกราบ (หมู่ที่ 1,2,5,8,9,11,13) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 80 ครัวเรือน และตำบลดงมะรุม (หมู่ที่ 1) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3 ครัวเรือน

2.2 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 20.00 น. ได้เกิดเหตุพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสารภี 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนแก้ว ตำบลขัวมุง ตำบลหนองแฝก และตำบลท่ากว้าง (ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ) และ อำเภอหางดง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำแพร่ (หมู่ที่ 1,2,3,9) ตำบลสบแม่ข่า (หมู่ที่ 1,2,3) ตำบลบ้านแหวน (หมู่ที่ 3,5,9,10) ตำบลหาง ดง (หมู่ที่ 1-6,8,9) และตำบลสันผักหวาน (หมู่ที่ 2) ราษฎรเดือดร้อน 572 ครัวเรือน 1,638 คน

อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 16.10 น. ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากบริเวณน้ำตกไพรวัลย์ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 11 คน ติดอยู่ด้านบนของน้ำตกไพรวัลย์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุงได้ประสานกับกองพันทหารช่างที่ 401 โรงพยาบาลกงหรา อบต.คลองเฉลิม นำหน่วยกู้ชีพกู้ภัย และสมาชิก อปพร.คลองเฉลิม เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวดังกล่าว มายังบริเวณพื้นที่ปลอดภัย โดยไม่มีผู้เสียชีวิตและผู้รับบาด เจ็บ

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 22-28 มีนาคม 2552

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม ประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ในตอนบ่ายและค่ำ ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 มีนาคม 2552 บริเวณความ กดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับ จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าสู่ภาค เหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ