คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเร่งรัดงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
1. ปัญหาการก่อสร้างภาครัฐในปัจจุบันล่าช้า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความไม่พร้อมของแบบรูปรายการที่ใช้ในการก่อสร้าง เมื่อหน่วยงานได้รับงบประมาณแล้วไม่สามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างได้ทันที หรือในกรณีสามารถจัดหาผู้รับจ้างและลงนามในสัญญาแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่พร้อมของสถานที่ที่ใช้ในการก่อสร้าง ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับจ้างได้ นอกจากนั้นผู้รับจ้างบางรายรับงานจ้างหลายงานมีปัญหาด้านศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีผลให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงินด้วย เป็นต้น
2. เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น และเป็นการเร่งรัดงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นกว่าปกติ เห็นสมควรกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติ โดยแยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 กรณีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว สามารถดำเนินการโดยการกำหนดมาตรการทั้งในกรณีที่ต้องใช้งบประมาณ (เพิ่มเติม) หรือไม่ต้องใช้งบประมาณ กล่าวคือ
1) การจูงใจให้ผู้รับจ้างเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นกว่าระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยกำหนดให้มีการจ่ายเงินรางวัลตอบแทนแก่ผู้รับจ้าง กรณีที่สามารถดำเนินงานแล้วเสร็จก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาและผลงานมีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- การกำหนดอัตราการจ่ายเงินรางวัลตอบแทน อาจกำหนดโดยใช้เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 50 ของอัตราค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งอัตราค่าปรับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 0.01-0.25 ของวงเงินตามสัญญา ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นว่า อัตราที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณ ควรกำหนดอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.015 ของวงเงินตามสัญญา และในกรณีโครงการที่ทำสัญญาแล้วคิดตามวงเงินค่าก่อสร้างที่เหลือของสัญญานั้น ๆ
- การจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้รับจ้าง จะจ่ายให้เฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ทั้งนี้ อัตราการจ่ายเงินรางวัลจะผันแปรตามระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนกำหนดไว้ในสัญญา กล่าวคือ กรณีที่ระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนกำหนดร้อยละ 30,25,20,15,10 ขึ้นไป กำหนดให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละ 50,40,30,20,10 ตามลำดับของอัตราค่าปรับ
- อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระยะเวลาตามสัญญาการก่อสร้างส่วนใหญ่กำหนดไว้ค่อนข้างยืดหยุ่น ดังนั้น มาตรการดังกล่าวนี้ในระยะต่อไปจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามลักษณะงานและเทคนิคการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย
- สำหรับงบประมาณส่วนที่จะใช้จ่ายตามมาตรการนี้ เห็นควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่มีผลการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนโอนไปให้โครงการที่เร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นก่อน และหากมีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอขอใช้จ่ายจากเงินงบกลางตามความจำเป็นต่อไป
2) กำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดและให้ความสำคัญในการดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่างานตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ให้เร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้รับจ้างร้องเรียนว่าดำเนินการล่าช้ามาก และหากมีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอขอใช้จ่ายจากเงินงบกลางตามความจำเป็นต่อไป
3) มาตรการที่สามารถดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณ เช่น กำหนดให้ส่วนราชการฯ จัดทำใบหรือโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้รับจ้างทุกรายที่สามารถเร่งรัดงานก่อสร้างได้เร็วขึ้นกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกสัญญา รวมทั้งรวบรวมเป็นประวัติการทำงานเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนชั้นผู้รับจ้าง หรือ เร่งรัดในการตรวจรับงานเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานและเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยเร็ว นอกจากนั้นอาจกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือจูงใจผู้รับจ้าง เช่น การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เร็วขึ้น รวมทั้งการให้สิทธิพิเศษตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน (BOI)
2.2 กรณีโครงการที่ยังไม่ได้ทำสัญญา
1) เร่งรัดแก้ไขปัญหาในเรื่องการเตรียมความพร้อมของโครงการที่อยู่ในแผนงานซึ่งกระทรวง/กรม ได้ให้ความเห็นชอบแล้วหรืองานตามนโยบายเร่งด่วน เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีเมื่อเริ่มสัญญา โดยให้ส่วนราชการเร่งสำรวจออกแบบล่วงหน้าหรือให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเตรียมการและเร่งรัดการเวนคืนที่ดินให้แล้วเสร็จก่อนการก่อสร้าง
2) ให้ส่วนราชการและสำนักงบประมาณถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการจัดสรรงบประมาณเฉพาะงาน/โครงการที่มีความพร้อมในเรื่องแบบรูปรายการเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินเหลือจ่ายเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้
3) ในกรณีพื้นที่ก่อสร้างติดปัญหาเรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคอาจจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้จำนวนหนึ่ง (500-1,000 ล้านบาท) ในลักษณะกองทุนเพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จสอดคล้องกับแผนงานก่อสร้างที่วางไว้ โดยเสนอตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4) กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างสูงสุดไม่เกินสองปี ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นด้านเทคนิคเท่านั้น เช่น การก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ การก่อสร้างทางแยกต่างระดับ และการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เป็นต้น
5) เพิ่มศักยภาพของผู้รับจ้างงานภาครัฐ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพงานตามมาตรฐานสากล และเคร่งครัดในการจัดหาผู้รับจ้างให้เหมาะสมกับขีดความสามารถในการทำงานให้สำเร็จและความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้าง ขึ้นทะเบียนและจัดชั้นผู้รับจ้างที่มีศักยภาพต่างกันโดยเฉพาะการเพิ่มผู้รับจ้างชั้นพิเศษ รวมทั้งเข้มงวดให้ผู้รับจ้างแต่ละรายรับงานก่อสร้างไม่เกิน 4 สัญญา
6) กรณีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ให้แบ่งงานก่อสร้างเป็นตอน ๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้มีผู้รับจ้างหลายรายดำเนินการและสามารถใช้งานพร้อมกันได้ในระยะเวลาที่กำหนด เช่น แบ่งงานก่อสร้างถนนสายทางที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามนโยบายออกเป็นตอน ๆ ประกวดราคาพร้อมกัน โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกช่วงภายในเวลา 2-3 ปี เป็นต้น
7) มาตรการทางกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แก้ไขระเบียบการก่อหนี้ผูกพันฯ และระเบียบอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการตามระเบียบให้งานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น เช่น การแก้ไขระเบียบการก่อหนี้ผูกพันฯ ให้ส่วนราชการฯ สามารถทำสัญญาได้ กรณีผลการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ภายในเกณฑ์ราคากลาง โดยไม่ต้องเสนอสำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา หรือปรับปรุงวิธีจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้กำหนดระยะเวลาเหลือเพียง 20 วันทำการ (เดิม 30 วันทำการ) เป็นต้น
8) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดมาตรฐานราคากลาง สำหรับกรณีใช้ระยะเวลาดำเนินการปกติและในกรณีเร่งรัดงานให้เร็วขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กลางให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจมอบให้คณะกรรมการควบคุมราคากลางเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
9) ปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่ โดยอาจรวมงานของส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการก่อสร้างไว้ในกระทรวงเดียวกันหรือจัดตั้งหน่วยงาน/กองทุน และหรือรูปแบบที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อบริหารจัดการงบประมาณก่อสร้างภาครัฐ ให้สามารถบริหารงบประมาณค่าก่อสร้างภาครัฐที่ตั้งไว้เพื่อการก่อสร้างได้อย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ และ/หรืออาจแก้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ให้สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างส่วนราชการได้
ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาปรับปรุงมาตรการดังกล่าวข้างต้นเพิ่มเติมและให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
1. ปัญหาการก่อสร้างภาครัฐในปัจจุบันล่าช้า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความไม่พร้อมของแบบรูปรายการที่ใช้ในการก่อสร้าง เมื่อหน่วยงานได้รับงบประมาณแล้วไม่สามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างได้ทันที หรือในกรณีสามารถจัดหาผู้รับจ้างและลงนามในสัญญาแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่พร้อมของสถานที่ที่ใช้ในการก่อสร้าง ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับจ้างได้ นอกจากนั้นผู้รับจ้างบางรายรับงานจ้างหลายงานมีปัญหาด้านศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีผลให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงินด้วย เป็นต้น
2. เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น และเป็นการเร่งรัดงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นกว่าปกติ เห็นสมควรกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติ โดยแยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 กรณีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว สามารถดำเนินการโดยการกำหนดมาตรการทั้งในกรณีที่ต้องใช้งบประมาณ (เพิ่มเติม) หรือไม่ต้องใช้งบประมาณ กล่าวคือ
1) การจูงใจให้ผู้รับจ้างเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นกว่าระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยกำหนดให้มีการจ่ายเงินรางวัลตอบแทนแก่ผู้รับจ้าง กรณีที่สามารถดำเนินงานแล้วเสร็จก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาและผลงานมีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- การกำหนดอัตราการจ่ายเงินรางวัลตอบแทน อาจกำหนดโดยใช้เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 50 ของอัตราค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งอัตราค่าปรับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 0.01-0.25 ของวงเงินตามสัญญา ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นว่า อัตราที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณ ควรกำหนดอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.015 ของวงเงินตามสัญญา และในกรณีโครงการที่ทำสัญญาแล้วคิดตามวงเงินค่าก่อสร้างที่เหลือของสัญญานั้น ๆ
- การจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้รับจ้าง จะจ่ายให้เฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ทั้งนี้ อัตราการจ่ายเงินรางวัลจะผันแปรตามระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนกำหนดไว้ในสัญญา กล่าวคือ กรณีที่ระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนกำหนดร้อยละ 30,25,20,15,10 ขึ้นไป กำหนดให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละ 50,40,30,20,10 ตามลำดับของอัตราค่าปรับ
- อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระยะเวลาตามสัญญาการก่อสร้างส่วนใหญ่กำหนดไว้ค่อนข้างยืดหยุ่น ดังนั้น มาตรการดังกล่าวนี้ในระยะต่อไปจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามลักษณะงานและเทคนิคการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย
- สำหรับงบประมาณส่วนที่จะใช้จ่ายตามมาตรการนี้ เห็นควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ โดยการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่มีผลการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนโอนไปให้โครงการที่เร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นก่อน และหากมีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอขอใช้จ่ายจากเงินงบกลางตามความจำเป็นต่อไป
2) กำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดและให้ความสำคัญในการดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่างานตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ให้เร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้รับจ้างร้องเรียนว่าดำเนินการล่าช้ามาก และหากมีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เสนอขอใช้จ่ายจากเงินงบกลางตามความจำเป็นต่อไป
3) มาตรการที่สามารถดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณ เช่น กำหนดให้ส่วนราชการฯ จัดทำใบหรือโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้รับจ้างทุกรายที่สามารถเร่งรัดงานก่อสร้างได้เร็วขึ้นกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกสัญญา รวมทั้งรวบรวมเป็นประวัติการทำงานเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนชั้นผู้รับจ้าง หรือ เร่งรัดในการตรวจรับงานเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานและเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยเร็ว นอกจากนั้นอาจกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือจูงใจผู้รับจ้าง เช่น การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เร็วขึ้น รวมทั้งการให้สิทธิพิเศษตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน (BOI)
2.2 กรณีโครงการที่ยังไม่ได้ทำสัญญา
1) เร่งรัดแก้ไขปัญหาในเรื่องการเตรียมความพร้อมของโครงการที่อยู่ในแผนงานซึ่งกระทรวง/กรม ได้ให้ความเห็นชอบแล้วหรืองานตามนโยบายเร่งด่วน เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีเมื่อเริ่มสัญญา โดยให้ส่วนราชการเร่งสำรวจออกแบบล่วงหน้าหรือให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเตรียมการและเร่งรัดการเวนคืนที่ดินให้แล้วเสร็จก่อนการก่อสร้าง
2) ให้ส่วนราชการและสำนักงบประมาณถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการจัดสรรงบประมาณเฉพาะงาน/โครงการที่มีความพร้อมในเรื่องแบบรูปรายการเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินเหลือจ่ายเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้
3) ในกรณีพื้นที่ก่อสร้างติดปัญหาเรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคอาจจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้จำนวนหนึ่ง (500-1,000 ล้านบาท) ในลักษณะกองทุนเพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จสอดคล้องกับแผนงานก่อสร้างที่วางไว้ โดยเสนอตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4) กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างสูงสุดไม่เกินสองปี ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นด้านเทคนิคเท่านั้น เช่น การก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ การก่อสร้างทางแยกต่างระดับ และการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เป็นต้น
5) เพิ่มศักยภาพของผู้รับจ้างงานภาครัฐ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพงานตามมาตรฐานสากล และเคร่งครัดในการจัดหาผู้รับจ้างให้เหมาะสมกับขีดความสามารถในการทำงานให้สำเร็จและความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้าง ขึ้นทะเบียนและจัดชั้นผู้รับจ้างที่มีศักยภาพต่างกันโดยเฉพาะการเพิ่มผู้รับจ้างชั้นพิเศษ รวมทั้งเข้มงวดให้ผู้รับจ้างแต่ละรายรับงานก่อสร้างไม่เกิน 4 สัญญา
6) กรณีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ให้แบ่งงานก่อสร้างเป็นตอน ๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้มีผู้รับจ้างหลายรายดำเนินการและสามารถใช้งานพร้อมกันได้ในระยะเวลาที่กำหนด เช่น แบ่งงานก่อสร้างถนนสายทางที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามนโยบายออกเป็นตอน ๆ ประกวดราคาพร้อมกัน โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกช่วงภายในเวลา 2-3 ปี เป็นต้น
7) มาตรการทางกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แก้ไขระเบียบการก่อหนี้ผูกพันฯ และระเบียบอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการตามระเบียบให้งานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น เช่น การแก้ไขระเบียบการก่อหนี้ผูกพันฯ ให้ส่วนราชการฯ สามารถทำสัญญาได้ กรณีผลการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ภายในเกณฑ์ราคากลาง โดยไม่ต้องเสนอสำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา หรือปรับปรุงวิธีจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้กำหนดระยะเวลาเหลือเพียง 20 วันทำการ (เดิม 30 วันทำการ) เป็นต้น
8) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดมาตรฐานราคากลาง สำหรับกรณีใช้ระยะเวลาดำเนินการปกติและในกรณีเร่งรัดงานให้เร็วขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กลางให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจมอบให้คณะกรรมการควบคุมราคากลางเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
9) ปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่ โดยอาจรวมงานของส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการก่อสร้างไว้ในกระทรวงเดียวกันหรือจัดตั้งหน่วยงาน/กองทุน และหรือรูปแบบที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อบริหารจัดการงบประมาณก่อสร้างภาครัฐ ให้สามารถบริหารงบประมาณค่าก่อสร้างภาครัฐที่ตั้งไว้เพื่อการก่อสร้างได้อย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ และ/หรืออาจแก้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ให้สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างส่วนราชการได้
ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาปรับปรุงมาตรการดังกล่าวข้างต้นเพิ่มเติมและให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--