คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 1/2549 ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548
1.1 ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ มีปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้
(1) มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ใน Q1 ขยายตัวถึงร้อยละ 17.9 (โดยที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3) ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6
(2) ภาคการเกษตรขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.1 จากปี 2548 ที่หดตัวร้อยละ 2.4
(3) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัว ใน Q1 จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 (เปรียบเทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 ในปี 2548)
อย่างไรก็ดี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นโดยในไตรมาสที่ 1 เท่ากับร้อยละ 5.7 และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.9 แต่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ก็ขยายตัวได้ดี เนื่องจากไตรมาสแรกปี 2548 GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 (Low-base effect) โดยที่การส่งออกเป็นรายการที่ปรับตัวดีขึ้นมากตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2548 ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงมาก
1.2 การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงชัดเจน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนค่อนข้างทรงตัวในไตรมาสนี้ ในไตรมาสแรก การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ของทั้งปี 2548 ซึ่งเป็นการปรับตัวชะลอลงทั้งการลงทุนในการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนในไตรมาสแรกค่อนข้างทรงตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เท่ากับในไตรมาสที่ผ่านมา
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549
สศช. ได้ปรับลดการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 6 มีนาคม 2549 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ลงเป็นร้อยละ 4.2-4.9 ด้วยความน่าจะเป็นที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงนี้มีประมาณ 86% และคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 4.5 —4.7 และคาดว่าจะยังคงมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยที่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.5 ของ GDP ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 คือ
2.1 การปรับตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งยังเพิ่มขึ้น ในการประมาณการเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม สศช. ได้คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะไม่เกิน 55-58 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล แต่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้ปรับสูงขึ้นอีก โดยในขณะนี้มีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะมีราคาเฉลี่ยในปี 2549 ประมาณ 62-65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.5-4.7 โดยในครึ่งปีแรกของปี 2549 อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.8-6.0 แต่จะเริ่มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่ฐานราคาในครึ่งหลังของปีที่แล้วสูงมาก (ราคาน้ำมันดูไบเท่ากับ 58.56 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม 57.66 ในเดือนกุมภาพันธ์ 57.82 ในเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นเป็น 64.14 ในเดือนเมษายน และ 65.28 ในเดือนพฤษภาคม)
2.2 สัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง จะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวสูงในครึ่งปีแรก ซึ่งจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 13-15 ต่ำกว่าเป้าหมายการส่งออกที่ร้อยละ 17.5
2.3 ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นปี 2549 โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยที่ร้อยละ 7.6-8.0 โดยเฉพาะในสินเชื่อสำหรับรายย่อย มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากปี 2548 ที่ร้อยละ 14.7 ลงเหลือร้อยละ 11.7 และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 16 ในปี 2548 ลงเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2549
2.4 ปัจจัยด้านความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนที่ลดลงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า ดัชนีผู้บริโภคในเดือนเมษายนขยายตัวได้ดีในอัตราที่ลดลง (ไตรมาสแรกเท่ากับร้อยละ 1.2 และเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 0.8 ) ในขณะที่ดัชนีด้านการลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงชัดเจน (ไตรมาสแรกเท่ากับร้อยละ 2.2 และเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 1.5 )
2.5 ในภาพรวมเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมช่วยชดเชยการปรับลดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
3. การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2549 เพื่อให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังไม่ชะงักงันและจะมีผลต่อเนื่องในปี 2550 สศช.เห็นว่า ควรเร่งรัดมาตรการที่มีความสำคัญ ดังนี้
3.1 เร่งรัดงบลงทุนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งประมาณกันเหลื่อมปี เพื่อให้การลงทุนภาครัฐทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติแล้วสามารถดำเนินต่อไปได้ และเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 93 ซึ่งจะทำให้การลงทุนภาครัฐสามารถขยายตัวได้อย่างน้อยร้อยละ 8-10 ในปี 2549 ทั้งนี้จำเป็นจะต้องเร่งรัดเม็ดเงินลงทุนส่วนที่ค้างเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 478,000 ล้านบาท
3.2 รักษาระดับการขยายตัวของภาคเกษตร ทั้งในด้านเสถียรภาพราคา และปริมาณผลผลิต รวมทั้งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรในหมวดสินค้าแปรรูป ไก่ กุ้ง และผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าว ผักและผลไม้ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในฤดูการเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมากในไตรมาสที่ 4/2549
3.3 เสริมฐานรายได้ของประเทศ ทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งออก และการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
3.4 เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการด้านพลังงานทั้งในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของพืชพลังงานและรายได้ของเกษตรกร
3.5 บริหารเศรษฐกิจมหภาคที่สอดประสานระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง โดยยังคงรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง และดูแลการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขด้านเงินเฟ้อ โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจต้องปรับตัวรุนแรงมากเกินไปจนเกิดเป็นภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาวะที่มีแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนแรงงาน วัตถุดิบ และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 1/2549 ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548
1.1 ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ มีปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้
(1) มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ใน Q1 ขยายตัวถึงร้อยละ 17.9 (โดยที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3) ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6
(2) ภาคการเกษตรขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.1 จากปี 2548 ที่หดตัวร้อยละ 2.4
(3) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัว ใน Q1 จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 (เปรียบเทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 ในปี 2548)
อย่างไรก็ดี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นโดยในไตรมาสที่ 1 เท่ากับร้อยละ 5.7 และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.9 แต่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ก็ขยายตัวได้ดี เนื่องจากไตรมาสแรกปี 2548 GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 (Low-base effect) โดยที่การส่งออกเป็นรายการที่ปรับตัวดีขึ้นมากตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2548 ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงมาก
1.2 การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงชัดเจน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนค่อนข้างทรงตัวในไตรมาสนี้ ในไตรมาสแรก การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ของทั้งปี 2548 ซึ่งเป็นการปรับตัวชะลอลงทั้งการลงทุนในการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนในไตรมาสแรกค่อนข้างทรงตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เท่ากับในไตรมาสที่ผ่านมา
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549
สศช. ได้ปรับลดการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 6 มีนาคม 2549 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ลงเป็นร้อยละ 4.2-4.9 ด้วยความน่าจะเป็นที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงนี้มีประมาณ 86% และคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 4.5 —4.7 และคาดว่าจะยังคงมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยที่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.5 ของ GDP ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 คือ
2.1 การปรับตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งยังเพิ่มขึ้น ในการประมาณการเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม สศช. ได้คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะไม่เกิน 55-58 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล แต่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้ปรับสูงขึ้นอีก โดยในขณะนี้มีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะมีราคาเฉลี่ยในปี 2549 ประมาณ 62-65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.5-4.7 โดยในครึ่งปีแรกของปี 2549 อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.8-6.0 แต่จะเริ่มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่ฐานราคาในครึ่งหลังของปีที่แล้วสูงมาก (ราคาน้ำมันดูไบเท่ากับ 58.56 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม 57.66 ในเดือนกุมภาพันธ์ 57.82 ในเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นเป็น 64.14 ในเดือนเมษายน และ 65.28 ในเดือนพฤษภาคม)
2.2 สัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง จะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวสูงในครึ่งปีแรก ซึ่งจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 13-15 ต่ำกว่าเป้าหมายการส่งออกที่ร้อยละ 17.5
2.3 ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นปี 2549 โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยที่ร้อยละ 7.6-8.0 โดยเฉพาะในสินเชื่อสำหรับรายย่อย มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากปี 2548 ที่ร้อยละ 14.7 ลงเหลือร้อยละ 11.7 และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 16 ในปี 2548 ลงเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2549
2.4 ปัจจัยด้านความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนที่ลดลงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า ดัชนีผู้บริโภคในเดือนเมษายนขยายตัวได้ดีในอัตราที่ลดลง (ไตรมาสแรกเท่ากับร้อยละ 1.2 และเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 0.8 ) ในขณะที่ดัชนีด้านการลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงชัดเจน (ไตรมาสแรกเท่ากับร้อยละ 2.2 และเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 1.5 )
2.5 ในภาพรวมเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมช่วยชดเชยการปรับลดการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
3. การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2549 เพื่อให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังไม่ชะงักงันและจะมีผลต่อเนื่องในปี 2550 สศช.เห็นว่า ควรเร่งรัดมาตรการที่มีความสำคัญ ดังนี้
3.1 เร่งรัดงบลงทุนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งประมาณกันเหลื่อมปี เพื่อให้การลงทุนภาครัฐทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติแล้วสามารถดำเนินต่อไปได้ และเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 93 ซึ่งจะทำให้การลงทุนภาครัฐสามารถขยายตัวได้อย่างน้อยร้อยละ 8-10 ในปี 2549 ทั้งนี้จำเป็นจะต้องเร่งรัดเม็ดเงินลงทุนส่วนที่ค้างเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 478,000 ล้านบาท
3.2 รักษาระดับการขยายตัวของภาคเกษตร ทั้งในด้านเสถียรภาพราคา และปริมาณผลผลิต รวมทั้งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรในหมวดสินค้าแปรรูป ไก่ กุ้ง และผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าว ผักและผลไม้ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในฤดูการเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมากในไตรมาสที่ 4/2549
3.3 เสริมฐานรายได้ของประเทศ ทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งออก และการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
3.4 เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการด้านพลังงานทั้งในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของพืชพลังงานและรายได้ของเกษตรกร
3.5 บริหารเศรษฐกิจมหภาคที่สอดประสานระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง โดยยังคงรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง และดูแลการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขด้านเงินเฟ้อ โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจต้องปรับตัวรุนแรงมากเกินไปจนเกิดเป็นภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาวะที่มีแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนแรงงาน วัตถุดิบ และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--