คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการฯ ที่อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเล พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้การคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลนอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ให้เป็นไปตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน เว้นแต่บทบัญญัติบางมาตราตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2547
2. กำหนดยกเว้นมิให้กฎกระทรวงใช้บังคับแก่การจ้างลูกจ้างทำงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลที่มีขนาดน้อยกว่าสองร้อยห้าสิบตันกรอส และโดยปกติใช้เวลาเดินทางไปและกลับน้อยกว่าคราวละยี่สิบสี่ชั่วโมง การจ้างงานในเรือประมงทะเลตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และการจ้างลูกจ้างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
3. กำหนดให้การจ้างแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเล ต้องทำเป็นหนังสือ มีระยะเวลากำหนดไว้ในสัญญา หากไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ให้มีผลใช้บังคับได้ 1 ปี หากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานอยู่ต่อ ให้ถือว่าสัญญาจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี
4. กำหนดให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดระยะเวลาทำงานวันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง รวมเวลาแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมงและในขณะเรือกำลังแล่นอยู่ในทะเล นายจ้างอาจขยายเวลาทำงานตามปกติได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
5. กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอมเป็นหนังสือหรือกรณีที่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุหรือเพื่อความปลอดภัย นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
6. กำหนดให้นายจ้างจัดวันหยุดประจำปีให้ลูกจ้างปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้า
7. กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ขอเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างระยะเวลาหกสัปดาห์ก่อนหรือหลังคลอด และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานให้ตามความเหมาะสม และห้ามมิให้นายจ้างรับหญิงซึ่งอยู่ในระหว่างพักฟื้นหลังคลอดที่ยังไม่ถึง 6 สัปดาห์ เป็นลูกจ้าง
8. กำหนดห้ามมิให้รับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี เป็นลูกจ้างงานขนส่งทางเรือเดินทะเล เว้นแต่เด็กเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันที่ทำงานอยู่บนเรือเดินทะเลหรือนักเรียนฝึกหัดการเดินเรือที่ทางราชการรับรอง
9. กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด หรือทำงานบางลักษณะ เช่น งานเครื่องกลขับเคลื่อนเรือ งานซ่อมแซมเครื่องกล งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่ หรืองานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
10. กำหนดอัตราค่าจ้างของลูกจ้างตามประเพณีการทำงานทางทะเล รวมทั้งประสบการณ์ ความสามารถ ตลอดจนความตกลงแต่ละบุคคล แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
11. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีบริการสื่อสาร ไปรษณีย์ วิทยุ ข่าวสาร สถานที่บนเรือพร้อมอุปกรณ์สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ การบันเทิง กีฬา งานอดิเรกให้แก่ลูกจ้างตามสภาพของเรือเดินทะเล และจำนานลูกจ้าง
12. กำหนดให้นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างที่มิได้ทำงานมีสิทธิลาขึ้นฝั่นได้ เว้นแต่นายจ้างเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือมีข้อห้ามตามกฎหมายท้องถิ่น หรือข้อบังคับของท่าเรือนั้น และให้นายจ้างอำนวยความสะดวกแก่สามีหรือภรรยาหรือญาติหรือเพื่อนของลูกจ้างเข้าเยี่ยมลูกจ้างเมื่อเรือเดินทะเลเทียบท่า และอนุญาตให้สามีหรือภรรยาเดินทางพร้อมลูกจ้างในบางครั้งของการเดินเรือเท่าที่จะทำได้
13. กำหนดให้นายจ้างจัดเสบียงอาหาร น้ำดื่ม ที่มีคุณภาพและสะอาดและเหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างตามสภาพและระยะเวลาของการเดินทาง พร้อมทั้งจัดให้มีห้องนอน ห้องรับประทานอาหาร ห้องพักผ่อน ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องปฐมพยาบาล สภาพแวดล้อม ระบบระบายอากาศ ควบคุมเสียง อุณหภูมิ และแสงสว่างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
14. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
15. กำหนดให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายให้ลูกจ้างในการเดินทางกลับภูมิลำเนาของลูกจ้างตามที่ตกลงกันในกรณีที่เรือเดินทะเลอับปาง หรือไม่อาจใช้การได้อย่างสิ้นเชิง ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้างบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด หรือสัญญาจ้างครบกำหนด ณ สถานที่อื่นอันมิใช่สถานที่สำคัญจ้าง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานชี้แจ้งว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงานในการออกกฎกระทรวง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่แรงงานบางประเภทเป็นพิเศษว่าการใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งงานขนส่งทางเรือเดินทะเลก็เป็นงานประเภทหนึ่งที่มีการใช้แรงงานที่แตกต่างจากงานทั่วไป เนื่องจากสภาพของสถานที่ทำงานที่ต้องอยู่บนเรือเดินทะเลตลอดเวลา ประกอบกับมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำหรือการทำงานของเรือต่าง ๆ
อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลเป็นการเฉพาะ ที่อาจมีผลกระทบต่อการให้สัตยาบันของกระทรวงคมนาคมต่ออนุสัญญาขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยทางทะเล ค.ศ. 1974 และอนุสัญญาขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมและการออกประกาศนียบัตร และการเฝ้ายามของคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 174 ว่าด้วยกิจการเดินเรือทะเล (มาตรฐานขั้นต่ำ) ค.ศ. 1976
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเล พ.ศ. .... จะเป็นกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลเป็นการเฉพาะ ซึ่งยกร่างขึ้นโดยพิจารณาจากมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและมาตรฐานการเดินเรือขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ รวมทั้งประเพณีปฏิบัติในการจ้างงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุนการขนส่งสินค้า (logistics) รวมถึงการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศแล้ว จะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศและการกักเรือได้อีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้การคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลนอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ให้เป็นไปตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน เว้นแต่บทบัญญัติบางมาตราตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2547
2. กำหนดยกเว้นมิให้กฎกระทรวงใช้บังคับแก่การจ้างลูกจ้างทำงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลที่มีขนาดน้อยกว่าสองร้อยห้าสิบตันกรอส และโดยปกติใช้เวลาเดินทางไปและกลับน้อยกว่าคราวละยี่สิบสี่ชั่วโมง การจ้างงานในเรือประมงทะเลตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และการจ้างลูกจ้างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
3. กำหนดให้การจ้างแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเล ต้องทำเป็นหนังสือ มีระยะเวลากำหนดไว้ในสัญญา หากไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ให้มีผลใช้บังคับได้ 1 ปี หากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานอยู่ต่อ ให้ถือว่าสัญญาจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี
4. กำหนดให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดระยะเวลาทำงานวันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง รวมเวลาแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมงและในขณะเรือกำลังแล่นอยู่ในทะเล นายจ้างอาจขยายเวลาทำงานตามปกติได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
5. กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอมเป็นหนังสือหรือกรณีที่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุหรือเพื่อความปลอดภัย นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
6. กำหนดให้นายจ้างจัดวันหยุดประจำปีให้ลูกจ้างปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้า
7. กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ขอเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างระยะเวลาหกสัปดาห์ก่อนหรือหลังคลอด และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานให้ตามความเหมาะสม และห้ามมิให้นายจ้างรับหญิงซึ่งอยู่ในระหว่างพักฟื้นหลังคลอดที่ยังไม่ถึง 6 สัปดาห์ เป็นลูกจ้าง
8. กำหนดห้ามมิให้รับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี เป็นลูกจ้างงานขนส่งทางเรือเดินทะเล เว้นแต่เด็กเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันที่ทำงานอยู่บนเรือเดินทะเลหรือนักเรียนฝึกหัดการเดินเรือที่ทางราชการรับรอง
9. กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด หรือทำงานบางลักษณะ เช่น งานเครื่องกลขับเคลื่อนเรือ งานซ่อมแซมเครื่องกล งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่ หรืองานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
10. กำหนดอัตราค่าจ้างของลูกจ้างตามประเพณีการทำงานทางทะเล รวมทั้งประสบการณ์ ความสามารถ ตลอดจนความตกลงแต่ละบุคคล แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
11. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีบริการสื่อสาร ไปรษณีย์ วิทยุ ข่าวสาร สถานที่บนเรือพร้อมอุปกรณ์สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ การบันเทิง กีฬา งานอดิเรกให้แก่ลูกจ้างตามสภาพของเรือเดินทะเล และจำนานลูกจ้าง
12. กำหนดให้นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างที่มิได้ทำงานมีสิทธิลาขึ้นฝั่นได้ เว้นแต่นายจ้างเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือมีข้อห้ามตามกฎหมายท้องถิ่น หรือข้อบังคับของท่าเรือนั้น และให้นายจ้างอำนวยความสะดวกแก่สามีหรือภรรยาหรือญาติหรือเพื่อนของลูกจ้างเข้าเยี่ยมลูกจ้างเมื่อเรือเดินทะเลเทียบท่า และอนุญาตให้สามีหรือภรรยาเดินทางพร้อมลูกจ้างในบางครั้งของการเดินเรือเท่าที่จะทำได้
13. กำหนดให้นายจ้างจัดเสบียงอาหาร น้ำดื่ม ที่มีคุณภาพและสะอาดและเหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างตามสภาพและระยะเวลาของการเดินทาง พร้อมทั้งจัดให้มีห้องนอน ห้องรับประทานอาหาร ห้องพักผ่อน ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องปฐมพยาบาล สภาพแวดล้อม ระบบระบายอากาศ ควบคุมเสียง อุณหภูมิ และแสงสว่างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
14. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
15. กำหนดให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายให้ลูกจ้างในการเดินทางกลับภูมิลำเนาของลูกจ้างตามที่ตกลงกันในกรณีที่เรือเดินทะเลอับปาง หรือไม่อาจใช้การได้อย่างสิ้นเชิง ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้างบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด หรือสัญญาจ้างครบกำหนด ณ สถานที่อื่นอันมิใช่สถานที่สำคัญจ้าง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานชี้แจ้งว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงานในการออกกฎกระทรวง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่แรงงานบางประเภทเป็นพิเศษว่าการใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งงานขนส่งทางเรือเดินทะเลก็เป็นงานประเภทหนึ่งที่มีการใช้แรงงานที่แตกต่างจากงานทั่วไป เนื่องจากสภาพของสถานที่ทำงานที่ต้องอยู่บนเรือเดินทะเลตลอดเวลา ประกอบกับมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำหรือการทำงานของเรือต่าง ๆ
อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลเป็นการเฉพาะ ที่อาจมีผลกระทบต่อการให้สัตยาบันของกระทรวงคมนาคมต่ออนุสัญญาขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยทางทะเล ค.ศ. 1974 และอนุสัญญาขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมและการออกประกาศนียบัตร และการเฝ้ายามของคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 174 ว่าด้วยกิจการเดินเรือทะเล (มาตรฐานขั้นต่ำ) ค.ศ. 1976
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเล พ.ศ. .... จะเป็นกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลเป็นการเฉพาะ ซึ่งยกร่างขึ้นโดยพิจารณาจากมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและมาตรฐานการเดินเรือขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ รวมทั้งประเพณีปฏิบัติในการจ้างงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุนการขนส่งสินค้า (logistics) รวมถึงการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานขนส่งทางเรือเดินทะเลที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศแล้ว จะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศและการกักเรือได้อีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--