คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการบริหารงบประมาณภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ พ.ศ.2549 และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติต่อไป ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สืบเนื่องจากการประชุมหารือเรื่องงบประมาณปี 2549 ที่กระทรวงการคลัง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ต่อมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณภาครัฐให้สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2549 ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งการหารือมีข้อสรุปดังนี้
1. งบประมาณที่หน่วยงานควรเร่งบริหารจัดการ จากการรายงานของสำนักงบประมาณ และระบบ GFMIS ณ สิ้นเดือนเมษายน ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณร้อยละ 53.6 ของวงเงินงบประมาณทั้งปีคงเหลือเบิกจ่าย 631,303 ล้านบาท (โดยเป็นงบลงทุน 220,322 ล้านบาท) และเบิกจ่ายเงินรายจ่ายเหลื่อมปีร้อยละ 53.1 คงเหลือเบิกจ่าย 79,114 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณมีงบประมาณที่ควรเร่งรัด ได้แก่
1.1 งบประมาณสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก คงเหลือเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 46,374.08 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด (CEO) วงเงินงบประมาณ 40,000 ล้านบาท ส่วนที่ 1 (30,000 ล้านบาท) จัดสรรให้จังหวัดแล้ว และมีการเบิกจ่ายแล้ว 2,153.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.19 คงเหลือเบิกจ่าย 27,843.16 ล้านบาท ส่วนที่ 2 คณะทำงานกลั่นกรองโครงการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (10,000 ล้านบาท) จัดสรรให้โครงการตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมอย่างเป็น ทางการนอกสถานที่จำนวน 2,916.71 ล้านบาท ยังไม่มีการเบิกจ่าย (2) ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML) วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 19,100 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 9,033 ล้านบาท ยอดคงเหลือเบิกจ่ายในครึ่งปีหลัง 10,067 ล้านบาท (3) โครงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัดที่นายกรัฐมนตรีไปตรวจราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อ 22 มิถุนายน 2547 และ 28 กันยายน 2547 ส่วนที่ 1 โครงการเร่งด่วน ได้รับจัดสรรวงเงิน 8,0875.5 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 6,338 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.37 ส่วนที่ 2 โครงการระยะปานกลาง ได้รับจัดสรรวงเงิน 4,088.87 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 211.16 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.16 ดังนั้นรวมทั้งสองส่วนมีวงเงินเหลือเบิกจ่าย 5,627.21 ล้านบาท
1.2 งบประมาณของส่วนราชการ ซึ่งยังคงเหลืองบประมาณเบิกจ่ายในครึ่งหลังของปีงบประมาณ 631,303 ล้านบาท (โดยเป็นงบลงทุน 220,322 ล้านบาท) และเงินรายจ่ายเหลื่อมปี 79,114 ล้านบาท และมีโครงการที่เป็นงบประมาณปกติและงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนขนาดใหญ่ที่ยังเบิกจ่ายได้น้อย
1.3 งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจมีเป้าหมายเบิกจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 279,365 ล้านบาท (รวมวงเงินที่อนุมัติเพิ่มเติมระหว่างปี) หรือร้อยละ 94.3 ของกรอบเบิกจ่ายลงทุนปี 2549 ตามมติ ครม. (296,272 ล้านบาท) ในขณะที่ช่วงครึ่งปีแรกเบิกจ่ายลงทุนได้เพียงร้อยละ 26.6 ของวงเงิน 250,270 ล้านบาทที่ได้รับอนุมัติแล้ว
2. แนวทางการบริหารงบประมาณภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2549
2.1 งบประมาณของส่วนราชการ (ตามข้อ 1.1 และ 1.2)
(1) ให้ส่วนราชการเร่งรัดและบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณให้มีการเบิกจ่ายภายในปีงบประมาณ โดยมีการขอผูกพันเหลื่อมจ่ายข้ามปีงบประมาณเฉพาะในกรณีที่ จำเป็นเท่านั้น เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับวินัยการบริหารงบประมาณที่มีแนวทางให้จัดทำคำขอ งบประมาณเฉพาะที่จะมีการใช้ได้จริงและดำเนินการเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณนั้น ๆ
(2) ให้เร่งดำเนินโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วทั้งโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่และกำกับดูแลการใช้งบประมาณให้มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจและสังคม และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน (3) ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ส่วนงาน GFMIS) ติดตามและรายงาน การเบิกจ่ายงบประมาณให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 2 สัปดาห์
2.2 ประมาณของรัฐวิสาหกิจ (ตามข้อ 1.3)
(1) เร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ร้อยละ 90 ของกรอบเบิกจ่ายลงทุน ปี 2549 ตามมติ ครม. เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
(2) สำหรับการลงทุนที่อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้รัฐวิสาหกิจเตรียมการในกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ล่วงหน้า เช่น การประกวดราคา การจัดทำเอกสารต่าง ๆ และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติ
(3) ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำงบลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณให้สำนักงานคณะ-กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาภายในเดือนพฤษภาคม 2549 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดภาระการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายลงทุนได้ตามเป้าหมาย
(4) ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานการเบิกจ่ายงบลงทุน ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานคณะรัฐมนตรีทราบทุก 2 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--
สืบเนื่องจากการประชุมหารือเรื่องงบประมาณปี 2549 ที่กระทรวงการคลัง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ต่อมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณภาครัฐให้สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2549 ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งการหารือมีข้อสรุปดังนี้
1. งบประมาณที่หน่วยงานควรเร่งบริหารจัดการ จากการรายงานของสำนักงบประมาณ และระบบ GFMIS ณ สิ้นเดือนเมษายน ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณร้อยละ 53.6 ของวงเงินงบประมาณทั้งปีคงเหลือเบิกจ่าย 631,303 ล้านบาท (โดยเป็นงบลงทุน 220,322 ล้านบาท) และเบิกจ่ายเงินรายจ่ายเหลื่อมปีร้อยละ 53.1 คงเหลือเบิกจ่าย 79,114 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณมีงบประมาณที่ควรเร่งรัด ได้แก่
1.1 งบประมาณสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก คงเหลือเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 46,374.08 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด (CEO) วงเงินงบประมาณ 40,000 ล้านบาท ส่วนที่ 1 (30,000 ล้านบาท) จัดสรรให้จังหวัดแล้ว และมีการเบิกจ่ายแล้ว 2,153.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.19 คงเหลือเบิกจ่าย 27,843.16 ล้านบาท ส่วนที่ 2 คณะทำงานกลั่นกรองโครงการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (10,000 ล้านบาท) จัดสรรให้โครงการตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมอย่างเป็น ทางการนอกสถานที่จำนวน 2,916.71 ล้านบาท ยังไม่มีการเบิกจ่าย (2) ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML) วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 19,100 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 9,033 ล้านบาท ยอดคงเหลือเบิกจ่ายในครึ่งปีหลัง 10,067 ล้านบาท (3) โครงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัดที่นายกรัฐมนตรีไปตรวจราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อ 22 มิถุนายน 2547 และ 28 กันยายน 2547 ส่วนที่ 1 โครงการเร่งด่วน ได้รับจัดสรรวงเงิน 8,0875.5 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 6,338 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.37 ส่วนที่ 2 โครงการระยะปานกลาง ได้รับจัดสรรวงเงิน 4,088.87 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 211.16 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.16 ดังนั้นรวมทั้งสองส่วนมีวงเงินเหลือเบิกจ่าย 5,627.21 ล้านบาท
1.2 งบประมาณของส่วนราชการ ซึ่งยังคงเหลืองบประมาณเบิกจ่ายในครึ่งหลังของปีงบประมาณ 631,303 ล้านบาท (โดยเป็นงบลงทุน 220,322 ล้านบาท) และเงินรายจ่ายเหลื่อมปี 79,114 ล้านบาท และมีโครงการที่เป็นงบประมาณปกติและงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนขนาดใหญ่ที่ยังเบิกจ่ายได้น้อย
1.3 งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจมีเป้าหมายเบิกจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 279,365 ล้านบาท (รวมวงเงินที่อนุมัติเพิ่มเติมระหว่างปี) หรือร้อยละ 94.3 ของกรอบเบิกจ่ายลงทุนปี 2549 ตามมติ ครม. (296,272 ล้านบาท) ในขณะที่ช่วงครึ่งปีแรกเบิกจ่ายลงทุนได้เพียงร้อยละ 26.6 ของวงเงิน 250,270 ล้านบาทที่ได้รับอนุมัติแล้ว
2. แนวทางการบริหารงบประมาณภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2549
2.1 งบประมาณของส่วนราชการ (ตามข้อ 1.1 และ 1.2)
(1) ให้ส่วนราชการเร่งรัดและบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณให้มีการเบิกจ่ายภายในปีงบประมาณ โดยมีการขอผูกพันเหลื่อมจ่ายข้ามปีงบประมาณเฉพาะในกรณีที่ จำเป็นเท่านั้น เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับวินัยการบริหารงบประมาณที่มีแนวทางให้จัดทำคำขอ งบประมาณเฉพาะที่จะมีการใช้ได้จริงและดำเนินการเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณนั้น ๆ
(2) ให้เร่งดำเนินโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วทั้งโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่และกำกับดูแลการใช้งบประมาณให้มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจและสังคม และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน (3) ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ส่วนงาน GFMIS) ติดตามและรายงาน การเบิกจ่ายงบประมาณให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 2 สัปดาห์
2.2 ประมาณของรัฐวิสาหกิจ (ตามข้อ 1.3)
(1) เร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ร้อยละ 90 ของกรอบเบิกจ่ายลงทุน ปี 2549 ตามมติ ครม. เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
(2) สำหรับการลงทุนที่อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้รัฐวิสาหกิจเตรียมการในกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ล่วงหน้า เช่น การประกวดราคา การจัดทำเอกสารต่าง ๆ และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติ
(3) ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำงบลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณให้สำนักงานคณะ-กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาภายในเดือนพฤษภาคม 2549 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดภาระการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายลงทุนได้ตามเป้าหมาย
(4) ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานการเบิกจ่ายงบลงทุน ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานคณะรัฐมนตรีทราบทุก 2 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--