คณะรัฐมนตรีพิจารณาการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 38 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบกรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐ ฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้พิจารณากรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐฯ และเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คณะรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนาม และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. เห็นชอบข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้พิจารณาข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน และเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คณะรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนาม และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. รับทราบสาระสำคัญของรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ดังนี้
3.1 หลักการสำคัญของเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก คือ เป็นเขตการค้าเสรีที่ครอบคลุมทุกเรื่อง (Comprehensiveness) ทั้งการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคลากร การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การระงับข้อพิพาท การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก เป็นต้น
3.2 ข้อเสนอแนะสำคัญของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ คือ กระบวนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกควรเริ่มต้นภายในกรอบอาเซียน+3 ทั้งนี้ สมาชิกภาพจะเปิดกว้างในอนาคตหากมีประเทศอื่นสนใจ ให้เริ่มการเจรจาในปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) และสิ้นสุดการเจรจาภายในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพร้อมด้วยแผนปฏิบัติการจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกเพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อย
4. การคัดเลือกผู้แทนไทยที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งคณะผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ตามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทฉบับใหม่ของอาเซียน โดย
4.1 เห็นชอบรายชื่อผู้แทนไทยที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งคณะผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ตามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทฉบับใหม่ของอาเซียน ดังนี้
- ผู้พิจารณา (Panelists) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
(1) นายพรชัย ด่านวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างปรเทศ
(2) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัท เศรณี โฮลดิ้ง จำกัด
(3) นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด
- สมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
(1) รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(2) ดร.สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง อดีตรองเลขาธิการอาเซียน (Deputy Secretary — General of ASEAN Secretariat)
4.2 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการสรรหาผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์คนใหม่ได้ตามความเหมาะสม หากมีเหตุจำเป็นที่ผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ของไทยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่พิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับใหม่กำหนด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 38 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21-25 สิงหาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐ เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อรองรับการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ผ่านโครงการความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ที่จะตกลงร่วมกันในอนาคต โดยจะมีการจัดตั้งสภาร่วม (Joint Council) ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจะมีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจัดทำแผนงาน (work program) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไปในเบื้องต้นสหรัฐฯ ได้เสนอโครงการความร่วมมือใน 3 เรื่อง คือ (1) การจัดตั้งระบบการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) (2) การปรับประสานมาตรฐานด้านสุขอนามัย พืชและสัตว์ (Harmonized SPS Standards) และ (3) การปรับประสานกฎระเบียบผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ (Harmonized Pharmaceutical Regulations) และในชั้นนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงถ้อยคำในรายละเอียดของกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถตกลงกันได้ และมีกำหนดให้ AEM และ USTR ลงนามในกรอบความร่วมมือดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2549
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน มีสาระสำคัญดังนี้
- เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศอาเซียนอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้น ๆ ด้วย
- พยาบาลต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศที่รับให้ทำงาน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะดำเนินการโดยสภาการพยาบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบกรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐ ฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้พิจารณากรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐฯ และเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คณะรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนาม และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. เห็นชอบข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้พิจารณาข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน และเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คณะรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนาม และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. รับทราบสาระสำคัญของรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ดังนี้
3.1 หลักการสำคัญของเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก คือ เป็นเขตการค้าเสรีที่ครอบคลุมทุกเรื่อง (Comprehensiveness) ทั้งการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคลากร การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การระงับข้อพิพาท การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก เป็นต้น
3.2 ข้อเสนอแนะสำคัญของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ คือ กระบวนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกควรเริ่มต้นภายในกรอบอาเซียน+3 ทั้งนี้ สมาชิกภาพจะเปิดกว้างในอนาคตหากมีประเทศอื่นสนใจ ให้เริ่มการเจรจาในปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) และสิ้นสุดการเจรจาภายในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพร้อมด้วยแผนปฏิบัติการจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกเพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อย
4. การคัดเลือกผู้แทนไทยที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งคณะผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ตามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทฉบับใหม่ของอาเซียน โดย
4.1 เห็นชอบรายชื่อผู้แทนไทยที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งคณะผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ตามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทฉบับใหม่ของอาเซียน ดังนี้
- ผู้พิจารณา (Panelists) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
(1) นายพรชัย ด่านวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างปรเทศ
(2) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัท เศรณี โฮลดิ้ง จำกัด
(3) นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด
- สมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
(1) รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(2) ดร.สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง อดีตรองเลขาธิการอาเซียน (Deputy Secretary — General of ASEAN Secretariat)
4.2 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการสรรหาผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์คนใหม่ได้ตามความเหมาะสม หากมีเหตุจำเป็นที่ผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ของไทยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่พิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับใหม่กำหนด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 38 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21-25 สิงหาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐ เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อรองรับการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ผ่านโครงการความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ที่จะตกลงร่วมกันในอนาคต โดยจะมีการจัดตั้งสภาร่วม (Joint Council) ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจะมีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจัดทำแผนงาน (work program) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไปในเบื้องต้นสหรัฐฯ ได้เสนอโครงการความร่วมมือใน 3 เรื่อง คือ (1) การจัดตั้งระบบการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) (2) การปรับประสานมาตรฐานด้านสุขอนามัย พืชและสัตว์ (Harmonized SPS Standards) และ (3) การปรับประสานกฎระเบียบผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ (Harmonized Pharmaceutical Regulations) และในชั้นนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงถ้อยคำในรายละเอียดของกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถตกลงกันได้ และมีกำหนดให้ AEM และ USTR ลงนามในกรอบความร่วมมือดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2549
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน มีสาระสำคัญดังนี้
- เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศอาเซียนอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้น ๆ ด้วย
- พยาบาลต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศที่รับให้ทำงาน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะดำเนินการโดยสภาการพยาบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--