คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติ ฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขนิยาม “การบริหารสินทรัพย์” เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงานของบริษับริหารสินทรัพย์ให้สามารถรับจ้างบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มิได้รับโอนมาที่บริษัทบริหารสินทรัพย์
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและการตรวจสอบ โดยให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบและกำหนดรูปแบบงบการเงิน ตลอดจนมีอำนาจในการสั่งการให้บริษัทบริหารสินทรัพย์แก้ไขฐานะและการดำเนินงานได้ตามระดับความรุนแรงของปัญหา
3. เพิ่มบทกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น กำหนดอายุความการดำเนินคดี รวมทั้งการตั้งคณะกรรมการการเปรียบเทียบปรับ
กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะช่วยขยายขอบเขตการดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบสถาบันการเงินลง นอกจากนี้ ยังทำให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำกับดูแลและควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย จึงยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติ ฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขนิยาม “การบริหารสินทรัพย์” เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงานของบริษับริหารสินทรัพย์ให้สามารถรับจ้างบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มิได้รับโอนมาที่บริษัทบริหารสินทรัพย์
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและการตรวจสอบ โดยให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบและกำหนดรูปแบบงบการเงิน ตลอดจนมีอำนาจในการสั่งการให้บริษัทบริหารสินทรัพย์แก้ไขฐานะและการดำเนินงานได้ตามระดับความรุนแรงของปัญหา
3. เพิ่มบทกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น กำหนดอายุความการดำเนินคดี รวมทั้งการตั้งคณะกรรมการการเปรียบเทียบปรับ
กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะช่วยขยายขอบเขตการดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบสถาบันการเงินลง นอกจากนี้ ยังทำให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำกับดูแลและควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย จึงยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--