คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการฯ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและข้อสังเกตตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
โดยร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ ... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติฯ เพื่อกำหนดให้การเคหะแห่งชาติ เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง เพื่อรองรับการฟื้นฟูเมือง การพัฒนาเมืองใหม่ การพัฒนาพื้นที่และบริหารจัดการพื้นที่ขนาดใหญ่
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. ปัจจุบันการเคหะแห่งชาติ ได้โอนจากกระทรวงมหาดไทย มาสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แล้ว
2. การดำเนินงานพัฒนาเมืองหรือการจัดสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบันจะต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกระจัดกระจายอยู่หลายฉบับ ประกอบกับมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานที่ประชาชนต้องรับภาระ สมควรกำหนดให้มีมาตรการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเมือง
3. พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบันไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ให้การเคหะแห่งชาติ สามารถดำเนินการพัฒนาเมืองไว้อย่างชัดเจน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาเมืองได้อย่างเป็นระบบและครบวงจรหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการที่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ประกอบกับในขณะนี้มีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและประชากรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขยายตัวที่ขาดระเบียบแบบแผนทำให้เกิดปัญหาด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพที่อยู่อาศัยความหนาแน่นของประชากรและการใช้ทรัพยากร ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนการพัฒนาเมืองให้เป็นระบบ เพื่อรองรับการพัฒนาและการบริหารชุมชนขนาดใหญ่ในอนาคตและรองรับกรณีรัฐบาลมีแผนงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่
4. ควรให้มีการขยายวัตถุประสงค์และบทบาทอำนาจหน้าที่ให้การเคหะแห่งชาติ สามารถพัฒนาและบริหารชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเห็นควรให้แก้ไขพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ และกำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ .... เป็นร่างกฎหมายในแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
โดยร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ ... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติฯ เพื่อกำหนดให้การเคหะแห่งชาติ เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง เพื่อรองรับการฟื้นฟูเมือง การพัฒนาเมืองใหม่ การพัฒนาพื้นที่และบริหารจัดการพื้นที่ขนาดใหญ่
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. ปัจจุบันการเคหะแห่งชาติ ได้โอนจากกระทรวงมหาดไทย มาสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แล้ว
2. การดำเนินงานพัฒนาเมืองหรือการจัดสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบันจะต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกระจัดกระจายอยู่หลายฉบับ ประกอบกับมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานที่ประชาชนต้องรับภาระ สมควรกำหนดให้มีมาตรการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเมือง
3. พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบันไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ให้การเคหะแห่งชาติ สามารถดำเนินการพัฒนาเมืองไว้อย่างชัดเจน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาเมืองได้อย่างเป็นระบบและครบวงจรหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการที่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ประกอบกับในขณะนี้มีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและประชากรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เป็นการขยายตัวที่ขาดระเบียบแบบแผนทำให้เกิดปัญหาด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพที่อยู่อาศัยความหนาแน่นของประชากรและการใช้ทรัพยากร ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนการพัฒนาเมืองให้เป็นระบบ เพื่อรองรับการพัฒนาและการบริหารชุมชนขนาดใหญ่ในอนาคตและรองรับกรณีรัฐบาลมีแผนงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่
4. ควรให้มีการขยายวัตถุประสงค์และบทบาทอำนาจหน้าที่ให้การเคหะแห่งชาติ สามารถพัฒนาและบริหารชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเห็นควรให้แก้ไขพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ และกำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ .... เป็นร่างกฎหมายในแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--