คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานฯ ที่เห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
2. กำหนดคำนิยาม “คนพิการ” “ผู้ปกครองคนพิการ” “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” “กองทุน” “การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต”
3. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติและอำนาจหน้าที่ โดยให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 22 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน และผู้อำนวยการส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นเลขานุการ
4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ให้มีหน้าที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ รับผิดชอบงาน ธุรการ และงานวิชาการของคณะกรรมการฯ
5. กำหนดให้สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง สำหรับคนพิการในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น โดยมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการเป็นนายทะเบียนกลาง สำหรับในจังหวัดอื่น ให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นนายทะเบียนจังหวัด
6. กำหนดให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนแล้ว มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้
1) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่าอุปกรณ์ เพื่อปรับสภาพ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น
2) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับหรือสายอาชีพหรืออุดมศึกษาตามความเหมาะสม
3) คำแนะนำ ปรึกษา เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
4) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่ จำเป็นสำหรับคนพิการ
5) ได้รับการช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ รวมทั้งความช่วยเหลือทางกฎหมาย การจัดทนายความว่าต่าง แก้ต่างคดี
6) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณจากรัฐ
7) ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและเสรีภาพในการเดินทาง มีสิทธินำสัตว์นำทาง เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไป โดยได้รับยกเว้นค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียม
8) คนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้และมีฐานะยากจน มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพช่วยเหลือคนพิการ
9) ผู้ปกครองที่ดูแลคนพิการที่มีสภาพความพิการมาก ให้ได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี
7. กำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ประกอบด้วย เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินบริจาค เงินรายได้จากการออกสลาก เงินสมทบจากนายจ้างที่ไม่ได้จ้างงานคนพิการ สำหรับผู้บริจาคเงินสามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนภาษีเงินได้
8. กำหนดให้มี “คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุน จัดหาผลประโยชน์ และจัดการกองทุนโดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ เป็นเลขานุการ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินการของกองทุนจำนวน 7 คน โดยมีผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมฯ เป็นเลขานุการ
10. กรณีหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ไม่รับคนพิการเข้าทำงานและไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนจะให้สัมปทานหรือให้สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการแก่คนพิการก็ได้ กรณีส่งเงินเข้ากองทุนล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่ม และเมื่อมีการทวงถามต้องเสียค่าปรับ
11. กำหนดให้เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น ๆ ซึ่งได้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ และสถานประกอบการซึ่งรับคนพิการเข้าทำงาน มีสิทธินำเงินค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
12. กำหนดให้สถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละแปดสิบ ของคนงานมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากผลกำไรเป็นระยะเวลา 5 ปี
13. กำหนดให้จัดตั้งสถาบันพัฒนาอาชีพคนพิการ อยู่ในกำกับของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการสนับสนุนการรวมกลุ่มของคนพิการในการพัฒนาอาชีพ
14. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
15. กำหนดให้คนพิการที่จดทะเบียน และเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 เป็นคนพิการและเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
16. กำหนดให้คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าคณะกรรมการที่ได้แต่งตั้งขึ้นใหม่จะรับหน้าที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
2. กำหนดคำนิยาม “คนพิการ” “ผู้ปกครองคนพิการ” “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” “กองทุน” “การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต”
3. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติและอำนาจหน้าที่ โดยให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 22 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน และผู้อำนวยการส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นเลขานุการ
4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ให้มีหน้าที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ รับผิดชอบงาน ธุรการ และงานวิชาการของคณะกรรมการฯ
5. กำหนดให้สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง สำหรับคนพิการในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น โดยมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการเป็นนายทะเบียนกลาง สำหรับในจังหวัดอื่น ให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นนายทะเบียนจังหวัด
6. กำหนดให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนแล้ว มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้
1) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่าอุปกรณ์ เพื่อปรับสภาพ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น
2) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับหรือสายอาชีพหรืออุดมศึกษาตามความเหมาะสม
3) คำแนะนำ ปรึกษา เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
4) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่ จำเป็นสำหรับคนพิการ
5) ได้รับการช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ รวมทั้งความช่วยเหลือทางกฎหมาย การจัดทนายความว่าต่าง แก้ต่างคดี
6) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณจากรัฐ
7) ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและเสรีภาพในการเดินทาง มีสิทธินำสัตว์นำทาง เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไป โดยได้รับยกเว้นค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียม
8) คนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้และมีฐานะยากจน มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพช่วยเหลือคนพิการ
9) ผู้ปกครองที่ดูแลคนพิการที่มีสภาพความพิการมาก ให้ได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี
7. กำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ประกอบด้วย เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินบริจาค เงินรายได้จากการออกสลาก เงินสมทบจากนายจ้างที่ไม่ได้จ้างงานคนพิการ สำหรับผู้บริจาคเงินสามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนภาษีเงินได้
8. กำหนดให้มี “คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุน จัดหาผลประโยชน์ และจัดการกองทุนโดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ เป็นเลขานุการ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี
9. กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินการของกองทุนจำนวน 7 คน โดยมีผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมฯ เป็นเลขานุการ
10. กรณีหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ไม่รับคนพิการเข้าทำงานและไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนจะให้สัมปทานหรือให้สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการแก่คนพิการก็ได้ กรณีส่งเงินเข้ากองทุนล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่ม และเมื่อมีการทวงถามต้องเสียค่าปรับ
11. กำหนดให้เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น ๆ ซึ่งได้อำนวยความสะดวกแก่คนพิการ และสถานประกอบการซึ่งรับคนพิการเข้าทำงาน มีสิทธินำเงินค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
12. กำหนดให้สถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละแปดสิบ ของคนงานมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากผลกำไรเป็นระยะเวลา 5 ปี
13. กำหนดให้จัดตั้งสถาบันพัฒนาอาชีพคนพิการ อยู่ในกำกับของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการสนับสนุนการรวมกลุ่มของคนพิการในการพัฒนาอาชีพ
14. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
15. กำหนดให้คนพิการที่จดทะเบียน และเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 เป็นคนพิการและเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
16. กำหนดให้คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าคณะกรรมการที่ได้แต่งตั้งขึ้นใหม่จะรับหน้าที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--