คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) รายงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) จังหวัดระนอง สรุปได้ดังนี้
1. การค้นหาผู้สูญหาย จังหวัดระนองมีจำนวนผู้สูญหาย 12 ราย และขณะนี้ยังไม่พบผู้สูญหายดังกล่าว จังหวัดได้ให้เจ้าหน้าที่ยุติการค้นหา แต่ได้มอบหมายให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ดำเนินการค้นหาต่อไป
2. การก่อสร้างบ้านพักอาศัย พื้นที่ประสบภัยของจังหวัดระนองมี 4 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่บริเวณบ้านทะเลนอก หาดประพาส บ้านหาดทรายขาว กิ่งอำเภอสุขสำราญ และบ้านอ่าวเคย อำเภอกะเปอร์ และมีจำนวนบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลังรวม 221 หลัง การก่อสร้างบ้านทดแทนบ้านที่เสียหายทั้งหลัง กองทัพอากาศเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างในราคาหลังละไม่เกิน 100,000 บาท การก่อสร้างมีลักษณะเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง สำหรับในอนาคต หากผู้อยู่อาศัยที่มีกำลังทรัพย์เพิ่มขึ้น ก็สามารถต่อเติมได้อีก ขณะนี้จังหวัดได้ดำเนินการปรับพื้นที่ และส่ง มอบพื้นที่บริเวณก่อสร้างให้กองทัพอากาศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกองทัพอากาศได้ส่งกำลังพลประมาณ 300 คน เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 ที่อำเภอกะเปอร์ คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในระยะแรกจำนวน 41 หลัง ภายใน 3 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันจังหวัดได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ได้แก่ การไฟฟ้า และการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อขอความร่วมมือ และเตรียมการติดตั้งระบบสาธารณูปโภคให้แก่บ้านเรือนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
3. การฟื้นฟูโรงเรียนที่ได้รับการเสียหาย ขณะนี้สำนักเขตการศึกษาพื้นที่ เร่งฟื้นฟูโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายรวมทั้งจัดการด้านการศึกษา จนสามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้เป็นปกติ สำหรับโรงเรียนที่เสียหายทั้งหลัง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างใหม่ จะนำนักเรียนไปฝากเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียง
4. การส่งกลับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ตามที่ได้มีคนต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ประสบภัยจากจังหวัดอื่น ๆ อพยพมาจังหวัดระนอง จำนวน 562 คน ซึ่งจังหวัดได้ตั้งศูนย์อพยพ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนส่งกลับ หรือผลักดันตามกรณีต่อไปนั้น ขณะนี้จังหวัดได้ส่งกลับไปยังจังหวัดเกาะสอง จำนวน 177 คน ส่วนที่เหลือผู้ว่าราชการจังหวัดระนองได้ประสานโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจังหวัดเกาะสอง (เหมี่ยว วิน ตัน หัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองพม่า) ขอให้รับกลับภูมิลำเนาเดิม โดยช่องทางระนอง-เกาะสอง เป็นกรณีพิเศษ เพราะบุคคลเหล่านี้มิได้เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง แต่เป็นแรงงานชั่วคราวที่เข้ามาอยู่โดยถูกต้อง และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมะริด และทวาย ซึ่งจังหวัดระนองคาดว่าสามารถดำเนินการส่งกลับได้เป็นที่เรียบร้อย
5. การฟื้นฟูอาชีพราษฎร ราษฎรผู้ประสบภัยของจังหวัดระนอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมง ซึ่งมีความ จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพ รวมทั้งเรือประมงที่เสียหาย การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธาน
สำหรับในขั้นตอนของการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ซึ่งได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 (นางวันเพ็ญ แกล้วทนงค์) ประสานการปฏิบัติกับจังหวัดระนอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปโดยรวดเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1. การค้นหาผู้สูญหาย จังหวัดระนองมีจำนวนผู้สูญหาย 12 ราย และขณะนี้ยังไม่พบผู้สูญหายดังกล่าว จังหวัดได้ให้เจ้าหน้าที่ยุติการค้นหา แต่ได้มอบหมายให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ดำเนินการค้นหาต่อไป
2. การก่อสร้างบ้านพักอาศัย พื้นที่ประสบภัยของจังหวัดระนองมี 4 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่บริเวณบ้านทะเลนอก หาดประพาส บ้านหาดทรายขาว กิ่งอำเภอสุขสำราญ และบ้านอ่าวเคย อำเภอกะเปอร์ และมีจำนวนบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลังรวม 221 หลัง การก่อสร้างบ้านทดแทนบ้านที่เสียหายทั้งหลัง กองทัพอากาศเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างในราคาหลังละไม่เกิน 100,000 บาท การก่อสร้างมีลักษณะเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง สำหรับในอนาคต หากผู้อยู่อาศัยที่มีกำลังทรัพย์เพิ่มขึ้น ก็สามารถต่อเติมได้อีก ขณะนี้จังหวัดได้ดำเนินการปรับพื้นที่ และส่ง มอบพื้นที่บริเวณก่อสร้างให้กองทัพอากาศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกองทัพอากาศได้ส่งกำลังพลประมาณ 300 คน เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 ที่อำเภอกะเปอร์ คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในระยะแรกจำนวน 41 หลัง ภายใน 3 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันจังหวัดได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ได้แก่ การไฟฟ้า และการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อขอความร่วมมือ และเตรียมการติดตั้งระบบสาธารณูปโภคให้แก่บ้านเรือนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
3. การฟื้นฟูโรงเรียนที่ได้รับการเสียหาย ขณะนี้สำนักเขตการศึกษาพื้นที่ เร่งฟื้นฟูโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายรวมทั้งจัดการด้านการศึกษา จนสามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้เป็นปกติ สำหรับโรงเรียนที่เสียหายทั้งหลัง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างใหม่ จะนำนักเรียนไปฝากเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียง
4. การส่งกลับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ตามที่ได้มีคนต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ประสบภัยจากจังหวัดอื่น ๆ อพยพมาจังหวัดระนอง จำนวน 562 คน ซึ่งจังหวัดได้ตั้งศูนย์อพยพ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนส่งกลับ หรือผลักดันตามกรณีต่อไปนั้น ขณะนี้จังหวัดได้ส่งกลับไปยังจังหวัดเกาะสอง จำนวน 177 คน ส่วนที่เหลือผู้ว่าราชการจังหวัดระนองได้ประสานโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจังหวัดเกาะสอง (เหมี่ยว วิน ตัน หัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองพม่า) ขอให้รับกลับภูมิลำเนาเดิม โดยช่องทางระนอง-เกาะสอง เป็นกรณีพิเศษ เพราะบุคคลเหล่านี้มิได้เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง แต่เป็นแรงงานชั่วคราวที่เข้ามาอยู่โดยถูกต้อง และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมะริด และทวาย ซึ่งจังหวัดระนองคาดว่าสามารถดำเนินการส่งกลับได้เป็นที่เรียบร้อย
5. การฟื้นฟูอาชีพราษฎร ราษฎรผู้ประสบภัยของจังหวัดระนอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมง ซึ่งมีความ จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพ รวมทั้งเรือประมงที่เสียหาย การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธาน
สำหรับในขั้นตอนของการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ซึ่งได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 (นางวันเพ็ญ แกล้วทนงค์) ประสานการปฏิบัติกับจังหวัดระนอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปโดยรวดเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--