คณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนองบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปีงบประมาณ 2553 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. อนุมัติอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปีงบประมาณ 2553 วงเงินรวมทั้งสิ้น 89,322.26 ล้าน บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ จำนวน (คน) วงเงิน (ล้านบาท) (1) งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - งบอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับงานหลักประกัน 47,239,700 84,791.37 สุขภาพถ้วนหน้า (อัตราเหมาจ่ายรายหัวเท่ากับ 2,406.32 บาท/ประชากร) - งบประมาณสำหรับให้บริการผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี 138,000 2,770.85 และผู้ป่วยเอดส์ - งบประมาณสำหรับให้บริการทดแทนไต 9,454 1,455.44 สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย - งบประมาณสำหรับให้บริการควบคุม ป้องกันและ 304.593 รักษาโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง - งบประมาณสำหรับส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข เห็นควรระงับ
เนื่องจากเป็น
ภารกิจและความ
รับผิดชอบของส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้อง
ในการขอรับการ
สนับสนุน
งบปรมาณดังกล่าว
รวม 89,322.26
2. ในส่วนงบประมาณสำหรับบริหารจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณราย จ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และสอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการรับผิดชอบการสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า โดยมิต้องกำหนดเพดานสัดส่วนงบบริหารต่องบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ สปสช. เสนอขอ รับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 สำหรับเป็นค่าบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีแนวทางและหลักการ ในการประมาณการงบประมาณ ดังนี้
(1) เป็นการประมาณการตามขอขอบเขตการบริหารภายใต้สิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(2) เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามพระราช บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
(3) ต้องเพียงพอแก่การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามระบบ (cross subsidy) กับระบบประกันสุขภาพ อื่น และคำนึงถึงการใช้บริการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
(4) เน้นหนักในการสนับสนุนการเพิ่มคุณภาพของการให้บริการ
(5) รองรับการบริการที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ (Health need) ในระยะยาว
(6) กำหนดเป้าหมายและความครอบคลุมในการให้บริการตามศักยภาพของระบบบริการที่จะพัฒนาได้ และเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ในการประมาณการเป้าหมายและงบประมาณ ซึ่ง สปสช. เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 เมษายน 2552 --จบ--