คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสรุปผลการประชุมเรื่องไข้หวัดนกระหว่างฝ่ายไทยกับ Dr.David Nabarro,UN System Influenza Coordinator ซึ่งเดินทางมาเยือนประเทศในวันที่ 10 เมษายน 2549 เพื่อร่วมประชุมกับคณะกรรมการการควบคุมโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเรียนรู้จากผลสำเร็จของประเทศไทยในการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก และการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานงานดำเนินการจัดประชุมในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2549 ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุม ซึ่งสรุปผลการประชุมได้ดังนี้
Dr.David Nabarro ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยในการต้อนรับ และได้กล่าวถึงการเดินทางไปดูงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2549 ณ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี โดยได้กล่าวยกย่องประเทศไทยในการดูแลและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก รวมทั้งมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการควบคุมโรคไข้หวัดนกและเตรียมพร้อมต่อการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจากการดูงาน Dr.Nabarro กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จต่อการควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. การใช้หลักระบาดวิทยาในการควบคุมโรค
2. การมีรัฐบาลและผู้นำระดับประเทศให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านการป้องกันโรค
4. การกระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังจังหวัดและพื้นที่ รวมทั้งการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและปศุสัตว์
5. การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา อาทิเช่น การปรับปรุงโรงเลี้ยงสัตว์ปีก
6. การมีระบบการเฝ้าระวังโรคที่มีประสิทธิภาพที่ประกอบด้วย Surveillance Response Rapid Team (SRRT) ในทุกอำเภอทุกจังหวัด
7. ความโปร่งใสในด้านข้อมูลสถานการณ์โรค
เพื่อให้การแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศประสบความสำเร็จ Dr.Nabarro และคณะ เห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินการในอีก 5 ประเด็นคือ
1. รัฐบาลควรติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่มีการระบาดในสัตว์ปีกหรือมีผู้ป่วย ควรมีการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกระดับประเทศและในระดับจังหวัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
2. สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงของปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นโรคใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
3. ขยายการประสานงานในระดับประเทศและในภูมิภาค เพราะหลายประเทศในภูมิภาคยังมีการระบาดของโรค และประเทศไทยอยู่ในสถานะที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งทางวิชาการและด้านอื่น ๆ
4. เร่งรัดการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pandemic) โดยควรมีการซ้อมทั้งในระดับประเทศ และระดับจังหวัด เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมในทุกด้าน
5. ส่งเสริมเรื่อง Biosecurity ในด้านปศุสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
Dr.David Nabarro ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยในการต้อนรับ และได้กล่าวถึงการเดินทางไปดูงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2549 ณ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี โดยได้กล่าวยกย่องประเทศไทยในการดูแลและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก รวมทั้งมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการควบคุมโรคไข้หวัดนกและเตรียมพร้อมต่อการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจากการดูงาน Dr.Nabarro กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จต่อการควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. การใช้หลักระบาดวิทยาในการควบคุมโรค
2. การมีรัฐบาลและผู้นำระดับประเทศให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านการป้องกันโรค
4. การกระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังจังหวัดและพื้นที่ รวมทั้งการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและปศุสัตว์
5. การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหา อาทิเช่น การปรับปรุงโรงเลี้ยงสัตว์ปีก
6. การมีระบบการเฝ้าระวังโรคที่มีประสิทธิภาพที่ประกอบด้วย Surveillance Response Rapid Team (SRRT) ในทุกอำเภอทุกจังหวัด
7. ความโปร่งใสในด้านข้อมูลสถานการณ์โรค
เพื่อให้การแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศประสบความสำเร็จ Dr.Nabarro และคณะ เห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินการในอีก 5 ประเด็นคือ
1. รัฐบาลควรติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่มีการระบาดในสัตว์ปีกหรือมีผู้ป่วย ควรมีการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกระดับประเทศและในระดับจังหวัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
2. สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงของปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นโรคใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
3. ขยายการประสานงานในระดับประเทศและในภูมิภาค เพราะหลายประเทศในภูมิภาคยังมีการระบาดของโรค และประเทศไทยอยู่ในสถานะที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งทางวิชาการและด้านอื่น ๆ
4. เร่งรัดการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pandemic) โดยควรมีการซ้อมทั้งในระดับประเทศ และระดับจังหวัด เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมในทุกด้าน
5. ส่งเสริมเรื่อง Biosecurity ในด้านปศุสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--