คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องรายงานสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการให้ชดใช้เงินค่าทำลายไข่ไก่และอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของจังหวัดนครพนม ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้ทำลาย เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ตามความเป็นจริง ส่วนค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ปีกให้เบิกจ่ายในอัตราตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ รวมค่าชดใช้ค่าทำลายสัตว์ปีก 384,582 ตัว ค่าทำลายไข่ไก่ และไข่เป็ด 402,024 ฟอง และอาหารสัตว์ 189,194 กิโลกรัม ทั้งสิ้นในวงเงินงบประมาณ 65 ล้านบาท โดยใช้งบกลาง
2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 29 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติโรคไข้หวัดนก สำหรับจังหวัดอื่นให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
3. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของจังหวัดนครพนม ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้ทำลายสัตว์ปีก เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนก เพื่อปรับปรุงระบบการเลี้ยงใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และการปรับมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับปรุงมาตรการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยดำเนินการมาตรการเชิงรุก ดังนี้
1.1 โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก เป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครเกษตร ปศุสัตว์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสนธิกำลังทุกหน่วยเข้าพบเกษตรกรและประชาชนทุกบ้าน ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2549 เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจ จดทะเบียนสัตว์ปีก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติตนและวิธีเลี้ยงสัตว์ปีกที่ถูกต้อง และวิธีดำเนินการเมื่อพบสัตว์ปีกป่วย ตาย เป็นต้น โดยจะดำเนินการพร้อมกัน 29 จังหวัด ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา เน้นพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในโครงการประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติของโรคไข้หวัดนกไว้ก่อน หากพบสัตว์ปีกป่วยตายให้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร ยกเว้นฟาร์มมาตรฐาน โดยไม่ต้องรอผลจากห้องปฏิบัติการ
- สำหรับจังหวัดนครพนม ไม่เคยมีรายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่มาก่อนตั้งแต่ ปี 2547
1.2 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 กรกฎาคม 2549 มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกจำนวน 45 ประเทศ ได้แก่
ทวีป ประเทศ
เอเชีย (19 ประเทศ) จีน ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน พม่า อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน
จอร์แดน เวียดนาม กัมพูชา ปาเลสไตน์ อินโดนีเซีย ลาว มองโกเลีย และไทย
ยุโรป (26 ประเทศ) สโลเวเนีย บัลกาเรีย เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส ออสเตรีย โครเอเชีย ยูเครน อิตาลี โรมาเนีย บอสเนีย
เฮอร์เซโกวีนา สโลวาเกีย กรีซ ฮังการี อัลบาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ตุรกี จอร์เจีย
โปแลนด์ อาเซอร์ไบจัน เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สาธารณรัฐเชค สก็อตแลนด์ และสเปน
แอฟริกา (9 ประเทศ) ไนจีเรีย ไนเจอร์ อียิปต์ แคเมอรูน ซิมบับเว เบอร์กีนา ฟาโซ ซูดาน ไอวอรี่ โคสต์ และจิบูตี
สถานการณ์ล่าสุด
- วันที่ 1 สิงหาคม 2549 เนเธอร์แลนด์ประกาศพบไข้หวัดนกชนิดไม่รุนแรง (LPAI) STRAIN ในฟาร์มบริเวณ Central region of gelderse vallei และในวันที่ 2 สิงหาคม 2549 ได้ทำลายสัตว์ ในรัศมี 6 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคจำนวน 2,500 ตัว
- วันที่ 4 สิงหาคม 2549 รัสเซีย ประกาศพบเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5N1 ในนกเลี้ยง (นกพิราบ) ที่ไซบีเรีย
1.3 มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก
1.3.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปศุสัตว์จังหวัดและสหกรณ์จังหวัด ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เป็นประธาน เพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง เมื่อวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุม 134-135 ชั้น 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในช่วงนี้ ได้แก่
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม ได้รายงานการตรวจพบโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่ไข่ ของนายไพบูลย์ ศรีเมือง ซึ่งเริ่มป่วยตายระหว่างวันที่ 24- 26 กรกฎาคม 2549 มีไก่ไข่ตายรวม จำนวน 2,241 ตัว จากไก่ไข่ทั้งหมด 5,500 ตัว เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่างซากไก่ไข่ที่ตายส่งตรวจที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น รายงานผลการตรวจยืนยันว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 และจังหวัดนครพนมได้ดำเนินการ ควบคุมโรค ดังนี้
- ได้ทำลายไก่ไข่ที่ป่วยตาย ผิดปกติในบริเวณ จำนวน 6 ฟาร์ม รวม 34,151 ตัว แต่เนื่องจากมีฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งมีการเลี้ยงรั้วติดๆ กัน จำนวนอีก 71 ฟาร์ม สัตวแพทย์จึงดำเนินการทำลายไก่ไข่ เป็ดเทศ และไก่พื้นเมือง ที่อยู่ในบริเวณทั้งหมด เพื่อตัดวงจรของโรค เพิ่มเติมอีก 71 ฟาร์ม จำนวนสัตว์ปีกที่ทำลายเพิ่มเติมได้แก่ ไก่ไข่ 344,687 ตัว เป็ดเทศ 6,290 ตัว และไก่พื้นเมือง 54 ตัว พร้อมดำเนินการพ่นยาฆ่าเชื้อเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2549
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนมแจ้งข้อมูลการพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกต่อสาธารณสุขจังหวัดนครพนมเพื่อเฝ้าระวังในคน
- ทำการสอบสวนหาสาเหตุและระบาดวิทยาของการเกิดโรคในพื้นที่พบโรคในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีสาเหตุจากการนำถาดบรรจุไข่ ซึ่งหมุนเวียนไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำกลับมาในประเทศจากการส่งออกไข่ไก่ เนื่องจากมีข้อมูลการพบโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2549 และมีเกษตรกรข้ามมาซื้อยารักษาโรคในจังหวัดนครพนม
- จังหวัดนครพนมออกประกาศเขตโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ปีกประเภทนก ไก่ เป็ด ห่าน ของอำเภอเมือง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกไปยังพื้นที่อื่น
- ทำการควบคุมสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยการเฝ้าระวังทางอาการและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (สั่งกักสัตว์ปีก) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับจากวันทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย และพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณรอบพื้นที่สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
- ได้สำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีก พร้อมเฝ้าระวังทางอาการในรัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร จำนวน 2,497 ราย สัตว์ปีก 47,367 ตัว แยกเป็น ไก่ไข่ 282 ตัว ไก่พื้นเมือง 43,666 ตัว เป็ด 2,562 ตัว สัตว์ปีกชนิดอื่น 847 ตัว
1.3.1.1 โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก เพื่อเป็นการป้องกันและค้นหาโรคไข้หวัดนกไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นใหม่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวางแผนสนธิกำลังทุกหน่วยงานในพื้นที่ในลักษณะบูรณาการ และดำเนินการพร้อมกันใน 29 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ระหว่างวันที่ 7 —13 สิงหาคม 2549
1.3.1.2 โครงการเนื้อไก่ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกฉลองสาร์ทจีน ปี 2549 เพื่อเป็นการค้นหาและป้องกันโรคไข้หวัดนกในเนื้อสัตว์ปีกที่จำหน่ายตามตลาดสด และสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้บริโภคเนื้อไก่ที่สะอาดปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ปีกที่นำมาขายในช่วงเทศกาลสาร์ทจีน โดยดำเนินการพร้อมกันใน 29 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ระหว่างวันที่ 5-8 สิงหาคม 2549
1.3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง (สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก และสถานที่ฆ่าสัตว์ปีก) โดยดำเนินการพร้อมกันทั้งประเทศ ระหว่างวันที่ 1-14 สิงหาคม 2549
1.3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องให้เข้มงวดตรวจสอบการแจ้งสัตว์ปีกป่วยตาย ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เพื่อดำเนินการกับผู้ที่มีเจตนาปกปิดหรือไม่แจ้งเรื่องการป่วยตายของสัตว์ปีก ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการตรวจพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในจังหวัดพิจิตรและนครพนม รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกบางรายไม่ได้แจ้งการป่วยตายของสัตว์ปีกต่อเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบการควบคุมโรค
1.3.4 มาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 30 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านให้ดำเนินการมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
(1) ให้แต่ละจังหวัดดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ยานพาหนะที่บรรทุกสัตว์ ไข่ไก่ อาหารสัตว์ปีก และวัสดุอุปกรณ์ซึ่งเข้าไปในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อนบ้านแล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือยานพาหนะที่มีประวัติการเดินทางเข้า-ออกประเทศเพื่อนบ้าน ณ จุดผ่อนปรน จุดผ่านแดนชั่วคราว จุดผ่านแดนชั่วคราวหรือช่องทางนำเข้าด่านศุลกากรทุกแห่งที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่และผู้ส่งออกไข่ไก่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หากมีการส่งออกไข่ไก่ให้ใช้ถาดไข่ได้ครั้งเดียว เช่น ถาดกระดาษ และห้ามนำกลับมาใช้อีก
(3) ให้เข้มงวดตรวจสอบไม่ให้มีการลักลอบนำสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในราชอาณาจักร
1.3.5 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการจัดทีมทำลายสัตว์ปีกกรณีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการให้ชดใช้เงินค่าทำลายไข่ไก่และอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของจังหวัดนครพนม ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้ทำลาย เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ตามความเป็นจริง ส่วนค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ปีกให้เบิกจ่ายในอัตราตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ รวมค่าชดใช้ค่าทำลายสัตว์ปีก 384,582 ตัว ค่าทำลายไข่ไก่ และไข่เป็ด 402,024 ฟอง และอาหารสัตว์ 189,194 กิโลกรัม ทั้งสิ้นในวงเงินงบประมาณ 65 ล้านบาท โดยใช้งบกลาง
2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 29 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติโรคไข้หวัดนก สำหรับจังหวัดอื่นให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
3. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของจังหวัดนครพนม ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้ทำลายสัตว์ปีก เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัดนก เพื่อปรับปรุงระบบการเลี้ยงใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และการปรับมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับปรุงมาตรการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยดำเนินการมาตรการเชิงรุก ดังนี้
1.1 โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก เป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครเกษตร ปศุสัตว์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสนธิกำลังทุกหน่วยเข้าพบเกษตรกรและประชาชนทุกบ้าน ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2549 เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจ จดทะเบียนสัตว์ปีก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติตนและวิธีเลี้ยงสัตว์ปีกที่ถูกต้อง และวิธีดำเนินการเมื่อพบสัตว์ปีกป่วย ตาย เป็นต้น โดยจะดำเนินการพร้อมกัน 29 จังหวัด ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา เน้นพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในโครงการประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติของโรคไข้หวัดนกไว้ก่อน หากพบสัตว์ปีกป่วยตายให้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร ยกเว้นฟาร์มมาตรฐาน โดยไม่ต้องรอผลจากห้องปฏิบัติการ
- สำหรับจังหวัดนครพนม ไม่เคยมีรายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่มาก่อนตั้งแต่ ปี 2547
1.2 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 กรกฎาคม 2549 มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกจำนวน 45 ประเทศ ได้แก่
ทวีป ประเทศ
เอเชีย (19 ประเทศ) จีน ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน พม่า อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน
จอร์แดน เวียดนาม กัมพูชา ปาเลสไตน์ อินโดนีเซีย ลาว มองโกเลีย และไทย
ยุโรป (26 ประเทศ) สโลเวเนีย บัลกาเรีย เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส ออสเตรีย โครเอเชีย ยูเครน อิตาลี โรมาเนีย บอสเนีย
เฮอร์เซโกวีนา สโลวาเกีย กรีซ ฮังการี อัลบาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ตุรกี จอร์เจีย
โปแลนด์ อาเซอร์ไบจัน เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สาธารณรัฐเชค สก็อตแลนด์ และสเปน
แอฟริกา (9 ประเทศ) ไนจีเรีย ไนเจอร์ อียิปต์ แคเมอรูน ซิมบับเว เบอร์กีนา ฟาโซ ซูดาน ไอวอรี่ โคสต์ และจิบูตี
สถานการณ์ล่าสุด
- วันที่ 1 สิงหาคม 2549 เนเธอร์แลนด์ประกาศพบไข้หวัดนกชนิดไม่รุนแรง (LPAI) STRAIN ในฟาร์มบริเวณ Central region of gelderse vallei และในวันที่ 2 สิงหาคม 2549 ได้ทำลายสัตว์ ในรัศมี 6 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคจำนวน 2,500 ตัว
- วันที่ 4 สิงหาคม 2549 รัสเซีย ประกาศพบเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5N1 ในนกเลี้ยง (นกพิราบ) ที่ไซบีเรีย
1.3 มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก
1.3.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปศุสัตว์จังหวัดและสหกรณ์จังหวัด ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เป็นประธาน เพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง เมื่อวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุม 134-135 ชั้น 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในช่วงนี้ ได้แก่
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม ได้รายงานการตรวจพบโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่ไข่ ของนายไพบูลย์ ศรีเมือง ซึ่งเริ่มป่วยตายระหว่างวันที่ 24- 26 กรกฎาคม 2549 มีไก่ไข่ตายรวม จำนวน 2,241 ตัว จากไก่ไข่ทั้งหมด 5,500 ตัว เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่างซากไก่ไข่ที่ตายส่งตรวจที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น รายงานผลการตรวจยืนยันว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 และจังหวัดนครพนมได้ดำเนินการ ควบคุมโรค ดังนี้
- ได้ทำลายไก่ไข่ที่ป่วยตาย ผิดปกติในบริเวณ จำนวน 6 ฟาร์ม รวม 34,151 ตัว แต่เนื่องจากมีฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งมีการเลี้ยงรั้วติดๆ กัน จำนวนอีก 71 ฟาร์ม สัตวแพทย์จึงดำเนินการทำลายไก่ไข่ เป็ดเทศ และไก่พื้นเมือง ที่อยู่ในบริเวณทั้งหมด เพื่อตัดวงจรของโรค เพิ่มเติมอีก 71 ฟาร์ม จำนวนสัตว์ปีกที่ทำลายเพิ่มเติมได้แก่ ไก่ไข่ 344,687 ตัว เป็ดเทศ 6,290 ตัว และไก่พื้นเมือง 54 ตัว พร้อมดำเนินการพ่นยาฆ่าเชื้อเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2549
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนมแจ้งข้อมูลการพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกต่อสาธารณสุขจังหวัดนครพนมเพื่อเฝ้าระวังในคน
- ทำการสอบสวนหาสาเหตุและระบาดวิทยาของการเกิดโรคในพื้นที่พบโรคในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีสาเหตุจากการนำถาดบรรจุไข่ ซึ่งหมุนเวียนไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำกลับมาในประเทศจากการส่งออกไข่ไก่ เนื่องจากมีข้อมูลการพบโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2549 และมีเกษตรกรข้ามมาซื้อยารักษาโรคในจังหวัดนครพนม
- จังหวัดนครพนมออกประกาศเขตโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ปีกประเภทนก ไก่ เป็ด ห่าน ของอำเภอเมือง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกไปยังพื้นที่อื่น
- ทำการควบคุมสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยการเฝ้าระวังทางอาการและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (สั่งกักสัตว์ปีก) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับจากวันทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย และพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณรอบพื้นที่สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
- ได้สำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีก พร้อมเฝ้าระวังทางอาการในรัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร จำนวน 2,497 ราย สัตว์ปีก 47,367 ตัว แยกเป็น ไก่ไข่ 282 ตัว ไก่พื้นเมือง 43,666 ตัว เป็ด 2,562 ตัว สัตว์ปีกชนิดอื่น 847 ตัว
1.3.1.1 โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก เพื่อเป็นการป้องกันและค้นหาโรคไข้หวัดนกไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นใหม่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวางแผนสนธิกำลังทุกหน่วยงานในพื้นที่ในลักษณะบูรณาการ และดำเนินการพร้อมกันใน 29 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ระหว่างวันที่ 7 —13 สิงหาคม 2549
1.3.1.2 โครงการเนื้อไก่ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกฉลองสาร์ทจีน ปี 2549 เพื่อเป็นการค้นหาและป้องกันโรคไข้หวัดนกในเนื้อสัตว์ปีกที่จำหน่ายตามตลาดสด และสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้บริโภคเนื้อไก่ที่สะอาดปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ปีกที่นำมาขายในช่วงเทศกาลสาร์ทจีน โดยดำเนินการพร้อมกันใน 29 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ระหว่างวันที่ 5-8 สิงหาคม 2549
1.3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง (สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก และสถานที่ฆ่าสัตว์ปีก) โดยดำเนินการพร้อมกันทั้งประเทศ ระหว่างวันที่ 1-14 สิงหาคม 2549
1.3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องให้เข้มงวดตรวจสอบการแจ้งสัตว์ปีกป่วยตาย ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เพื่อดำเนินการกับผู้ที่มีเจตนาปกปิดหรือไม่แจ้งเรื่องการป่วยตายของสัตว์ปีก ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการตรวจพบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในจังหวัดพิจิตรและนครพนม รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกบางรายไม่ได้แจ้งการป่วยตายของสัตว์ปีกต่อเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบการควบคุมโรค
1.3.4 มาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 30 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านให้ดำเนินการมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนกจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
(1) ให้แต่ละจังหวัดดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ยานพาหนะที่บรรทุกสัตว์ ไข่ไก่ อาหารสัตว์ปีก และวัสดุอุปกรณ์ซึ่งเข้าไปในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อนบ้านแล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือยานพาหนะที่มีประวัติการเดินทางเข้า-ออกประเทศเพื่อนบ้าน ณ จุดผ่อนปรน จุดผ่านแดนชั่วคราว จุดผ่านแดนชั่วคราวหรือช่องทางนำเข้าด่านศุลกากรทุกแห่งที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่และผู้ส่งออกไข่ไก่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หากมีการส่งออกไข่ไก่ให้ใช้ถาดไข่ได้ครั้งเดียว เช่น ถาดกระดาษ และห้ามนำกลับมาใช้อีก
(3) ให้เข้มงวดตรวจสอบไม่ให้มีการลักลอบนำสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในราชอาณาจักร
1.3.5 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการจัดทีมทำลายสัตว์ปีกกรณีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--