คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของจังหวัดกระบี่ และอนุมัติหลักการในการให้การสนับสนุนในการก่อสร้างระบบบริการพื้นฐานที่จำเป็นบนเกาะพีพี ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เสนอ ดังนี้
1) การก่อสร้างระบบสายส่งเคเบิลใต้น้ำระยะทาง 42 กิโลเมตร วงเงิน 620 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้งบประมาณของตนเอง เป็นเงิน 310 ล้านบาท รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ 310 ล้านบาท
2) การก่อสร้างระบบส่งน้ำประปาเชื่อมโยงจากแผ่นดินใหญ่ ระยะทาง 42 กิโลเมตร วงเงิน 750 ล้านบาท
3) การก่อสร้างถนน เพื่อเป็นเส้นทางถนนปลอดภัยและทางเท้ารอบเกาะในระยะแนวถอยร่น 30 เมตร ระยะทางรวม 5.7 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 246 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ โดยจะขอรับการสนับสนุนงบกลางประจำปี 2548
4) สนับสนุนงบกลางเพื่อเป็นค่าชดเชยให้แก่เจ้าของที่ดินที่จะก่อสร้างเส้นทางความปลอดภัย และทางเท้ารอบเกาะในระยะแนวถอยร่น 30 เมตร โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อกำหนดราคาค่าชดเชยที่เป็นธรรม
5) สนับสนุนเงินอุดหนุนราชการส่วนท้องถิ่นให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง เพื่อจัดซื้อเรือขนถ่ายขยะเป็นเงิน 35 ล้านบาท โดยสามารถบรรทุกน้ำในเที่ยวกลับ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องน้ำอุปโภคบนเกาะพีพีอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนรายละเอียดเรื่องงบประมาณ ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) หารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
พร้อมกันนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของจังหวัดกระบี่ สรุปได้ดังนี้
1. กรณีทรัพย์สินของผู้ประสบภัย ซึ่งคงเหลืออยู่ 650 รายการ และจังหวัดได้นำส่งให้สถานีตำรวจภูธรอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 นั้น หากปรากฏว่า ไม่สามารถส่งทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่ทายาทได้ ให้จังหวัดขอรับทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาเก็บไว้ที่จังหวัด โดยอาจจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ระลึกถึงผู้ประสบภัยธรณีพิบัติได้
2. ให้จังหวัดเร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มายื่นหลักฐานในภายหลังจำนวน 101 ราย ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเพิ่งจะได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ขยายวงเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน จำนวน 100 ล้านบาท และต้องใช้ระยะเวลาในการติดต่อกับผู้ประสบภัยบางรายที่อยู่นอกพื้นที่จังหวัดกระบี่
3. ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืน ให้นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการสร้างอาชีพใหม่ ๆ เสริมรายได้ให้แก่ผู้ประสบภัย โดยให้คำนึงถึงทรัพยากรภายในท้องถิ่นที่มีอยู่ ตลอดจนเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น
4. กรณีผู้ประกอบอาชีพการประมงที่มายื่นเรื่องราวขอรับความช่วยเหลือภายหลังจากที่กรมประมงได้กำหนดวันรับเรื่อง จำนวน 975 ราย เป็นเงิน 81.65 ล้านบาท และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระดับจังหวัดพิจารณาแล้ว ยกอุทธรณ์ นั้น อาจจะมีบางรายที่เป็นผู้เดือดร้อนอย่างแท้จริง ให้จังหวัดตรวจสอบและเสนอขอรับความช่วยเหลือ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักฐานเป็นสำคัญ สำหรับผู้ที่มาแจ้งเท็จให้จังหวัดดำเนินการอย่างเฉียบขาด
5. การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย เป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ประสบภัยกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติแบบอย่างเดิมหรือดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกำพร้าต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษ
6. การฟื้นฟูเกาะพีพี
- ให้นายอำเภอเมืองกระบี่ จัดกำลัง อส. ร่วมกันกับตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ จำนวน 10 นาย เข้าไปตรวจสอบ ควบคุม แผงลอยบนเกาะพีพี รวมทั้งการป้องกันมิให้มีการก่อสร้างหรือกระทำการที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาต่อไป
- ควรมีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเกาะพีพี โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองคำนวณความเหมาะสม เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงด้วยว่า จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
- การกำจัดขยะ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีของต่างประเทศที่มีความก้าวหน้ามากสามารถออกแบบการกำจัดขยะ โดยจะทำให้ได้ปุ๋ยและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายหรือใช้ได้ ต่อไปควรจะมีการห้ามใช้วิธีการกำจัดขยะแบบฝังกลบ
สำหรับเรื่องเรือขนขยะ เพื่อขนขยะมากำจัดบนฝั่งนั้น ให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนางจัดส่งรายละเอียด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 35 ล้านบาท ให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณานำเสนอต่อไป
- ให้โยธาธิการและผังเมือง กำหนดให้พื้นที่ว่างของอาคารเป็นที่ปลูกดอกไม้เป็นพื้นที่สีเขียว รวมทั้งควรมีพื้นที่ว่างที่สามารถมองเห็นทะเลของเกาะทั้ง 2 ด้าน
- ให้ อบต. และนายอำเภอ ควบคุมมิให้มีการออกเลขที่บ้านใหม่บนเกาะพีพีจนกว่าการฟื้นฟูที่ดินแล้วเสร็จ
- ให้จังหวัดเร่งรัดจัดหาพื้นที่เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนเกาะพีพีให้ได้ภายในเดือน กรกฎาคม 2548
- กรณีการก่อสร้างโรงพยาบาลบนเกาะพีพี ซึ่งมีปัญหาว่าผู้รับจ้างได้ทำงานเสร็จแล้วก่อนเกิดภัยพิบัติ แต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินงวดสุดท้ายเป็นเงิน 3.225 ล้านบาท อาคารรวมถึงเครื่องมือของผู้รับจ้างได้ถูกคลื่นธรณีพิบัติเสียหาย บริษัทจึงแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยขอเบิกค่าก่อสร้างในงวดที่ 6 ตามงบจริงที่ได้ทำไป และขอคืนหลักประกันสัญญา ซึ่งจังหวัดได้ส่งหนังสือถึงกรมบัญชีกลางแล้ว รองนายกรัฐมนตรีรับจะประสานกับกระทรวงการคลังให้ รวมทั้งให้ทางจังหวัดพิจารณาจัดหาสถานที่ก่อสร้างแห่งใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนด
- ให้ กฟภ. เร่งรัดโครงการขยายเขตจำหน่ายกระแสไฟฟ้าบนเกาะพีพี จำนวนเงิน 620 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ใช้งบประมาณของ กฟภ. จำนวน 310 ล้านบาท และขอรับงบประมาณสมทบจากรัฐบาลจำนวน 310 ล้านบาท ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2548 ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับจะดูแลให้
- การก่อสร้างแนวถนนเพื่อเป็นเส้นทางปลอดภัยบนเกาะพีพี รวมทั้งถนนรอบเกาะในแนว Set back ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร งบประมาณ 246 ล้านบาท ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอโดยขอใช้เงินงบกลางของรัฐบาล และรองนายกรัฐมนตรีจะติดตามเรื่องให้
- ให้มีการประชุมแบบบูรณาการเรื่องเกาะพีพี เป็นการเฉพาะ ทั้งในเรื่องการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวและการสร้างบริการพื้นฐานอื่น ๆ บนเกาะพีพี
7. ให้จังหวัดกวดขันความปลอดภัยของเรือท่องเที่ยวไม่ให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกิน และมีอุปกรณ์ชูชีพสำหรับผู้โดยสารทุกคน
8. รองนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบปัญหาการเปิดสนามบิน จังหวัดกระบี่ ซึ่งกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2548 แต่ได้มีการขยายระยะเวลาออกไป 284 วัน ซึ่งการไม่ทราบกำหนดวันเปิดใช้สนามบินแห่งใหม่ได้อย่างชัดเจน มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในการจัดทำแผนการตลาดเป็นการล่วงหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
1) การก่อสร้างระบบสายส่งเคเบิลใต้น้ำระยะทาง 42 กิโลเมตร วงเงิน 620 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้งบประมาณของตนเอง เป็นเงิน 310 ล้านบาท รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ 310 ล้านบาท
2) การก่อสร้างระบบส่งน้ำประปาเชื่อมโยงจากแผ่นดินใหญ่ ระยะทาง 42 กิโลเมตร วงเงิน 750 ล้านบาท
3) การก่อสร้างถนน เพื่อเป็นเส้นทางถนนปลอดภัยและทางเท้ารอบเกาะในระยะแนวถอยร่น 30 เมตร ระยะทางรวม 5.7 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 246 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ โดยจะขอรับการสนับสนุนงบกลางประจำปี 2548
4) สนับสนุนงบกลางเพื่อเป็นค่าชดเชยให้แก่เจ้าของที่ดินที่จะก่อสร้างเส้นทางความปลอดภัย และทางเท้ารอบเกาะในระยะแนวถอยร่น 30 เมตร โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อกำหนดราคาค่าชดเชยที่เป็นธรรม
5) สนับสนุนเงินอุดหนุนราชการส่วนท้องถิ่นให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง เพื่อจัดซื้อเรือขนถ่ายขยะเป็นเงิน 35 ล้านบาท โดยสามารถบรรทุกน้ำในเที่ยวกลับ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องน้ำอุปโภคบนเกาะพีพีอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนรายละเอียดเรื่องงบประมาณ ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) หารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
พร้อมกันนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของจังหวัดกระบี่ สรุปได้ดังนี้
1. กรณีทรัพย์สินของผู้ประสบภัย ซึ่งคงเหลืออยู่ 650 รายการ และจังหวัดได้นำส่งให้สถานีตำรวจภูธรอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 นั้น หากปรากฏว่า ไม่สามารถส่งทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่ทายาทได้ ให้จังหวัดขอรับทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาเก็บไว้ที่จังหวัด โดยอาจจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ระลึกถึงผู้ประสบภัยธรณีพิบัติได้
2. ให้จังหวัดเร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มายื่นหลักฐานในภายหลังจำนวน 101 ราย ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเพิ่งจะได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ขยายวงเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน จำนวน 100 ล้านบาท และต้องใช้ระยะเวลาในการติดต่อกับผู้ประสบภัยบางรายที่อยู่นอกพื้นที่จังหวัดกระบี่
3. ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืน ให้นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการสร้างอาชีพใหม่ ๆ เสริมรายได้ให้แก่ผู้ประสบภัย โดยให้คำนึงถึงทรัพยากรภายในท้องถิ่นที่มีอยู่ ตลอดจนเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น
4. กรณีผู้ประกอบอาชีพการประมงที่มายื่นเรื่องราวขอรับความช่วยเหลือภายหลังจากที่กรมประมงได้กำหนดวันรับเรื่อง จำนวน 975 ราย เป็นเงิน 81.65 ล้านบาท และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระดับจังหวัดพิจารณาแล้ว ยกอุทธรณ์ นั้น อาจจะมีบางรายที่เป็นผู้เดือดร้อนอย่างแท้จริง ให้จังหวัดตรวจสอบและเสนอขอรับความช่วยเหลือ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักฐานเป็นสำคัญ สำหรับผู้ที่มาแจ้งเท็จให้จังหวัดดำเนินการอย่างเฉียบขาด
5. การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย เป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ประสบภัยกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติแบบอย่างเดิมหรือดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกำพร้าต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษ
6. การฟื้นฟูเกาะพีพี
- ให้นายอำเภอเมืองกระบี่ จัดกำลัง อส. ร่วมกันกับตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ จำนวน 10 นาย เข้าไปตรวจสอบ ควบคุม แผงลอยบนเกาะพีพี รวมทั้งการป้องกันมิให้มีการก่อสร้างหรือกระทำการที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาต่อไป
- ควรมีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเกาะพีพี โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองคำนวณความเหมาะสม เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงด้วยว่า จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
- การกำจัดขยะ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีของต่างประเทศที่มีความก้าวหน้ามากสามารถออกแบบการกำจัดขยะ โดยจะทำให้ได้ปุ๋ยและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายหรือใช้ได้ ต่อไปควรจะมีการห้ามใช้วิธีการกำจัดขยะแบบฝังกลบ
สำหรับเรื่องเรือขนขยะ เพื่อขนขยะมากำจัดบนฝั่งนั้น ให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนางจัดส่งรายละเอียด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 35 ล้านบาท ให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณานำเสนอต่อไป
- ให้โยธาธิการและผังเมือง กำหนดให้พื้นที่ว่างของอาคารเป็นที่ปลูกดอกไม้เป็นพื้นที่สีเขียว รวมทั้งควรมีพื้นที่ว่างที่สามารถมองเห็นทะเลของเกาะทั้ง 2 ด้าน
- ให้ อบต. และนายอำเภอ ควบคุมมิให้มีการออกเลขที่บ้านใหม่บนเกาะพีพีจนกว่าการฟื้นฟูที่ดินแล้วเสร็จ
- ให้จังหวัดเร่งรัดจัดหาพื้นที่เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนเกาะพีพีให้ได้ภายในเดือน กรกฎาคม 2548
- กรณีการก่อสร้างโรงพยาบาลบนเกาะพีพี ซึ่งมีปัญหาว่าผู้รับจ้างได้ทำงานเสร็จแล้วก่อนเกิดภัยพิบัติ แต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินงวดสุดท้ายเป็นเงิน 3.225 ล้านบาท อาคารรวมถึงเครื่องมือของผู้รับจ้างได้ถูกคลื่นธรณีพิบัติเสียหาย บริษัทจึงแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยขอเบิกค่าก่อสร้างในงวดที่ 6 ตามงบจริงที่ได้ทำไป และขอคืนหลักประกันสัญญา ซึ่งจังหวัดได้ส่งหนังสือถึงกรมบัญชีกลางแล้ว รองนายกรัฐมนตรีรับจะประสานกับกระทรวงการคลังให้ รวมทั้งให้ทางจังหวัดพิจารณาจัดหาสถานที่ก่อสร้างแห่งใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนด
- ให้ กฟภ. เร่งรัดโครงการขยายเขตจำหน่ายกระแสไฟฟ้าบนเกาะพีพี จำนวนเงิน 620 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ใช้งบประมาณของ กฟภ. จำนวน 310 ล้านบาท และขอรับงบประมาณสมทบจากรัฐบาลจำนวน 310 ล้านบาท ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2548 ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับจะดูแลให้
- การก่อสร้างแนวถนนเพื่อเป็นเส้นทางปลอดภัยบนเกาะพีพี รวมทั้งถนนรอบเกาะในแนว Set back ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร งบประมาณ 246 ล้านบาท ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเสนอโดยขอใช้เงินงบกลางของรัฐบาล และรองนายกรัฐมนตรีจะติดตามเรื่องให้
- ให้มีการประชุมแบบบูรณาการเรื่องเกาะพีพี เป็นการเฉพาะ ทั้งในเรื่องการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวและการสร้างบริการพื้นฐานอื่น ๆ บนเกาะพีพี
7. ให้จังหวัดกวดขันความปลอดภัยของเรือท่องเที่ยวไม่ให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกิน และมีอุปกรณ์ชูชีพสำหรับผู้โดยสารทุกคน
8. รองนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบปัญหาการเปิดสนามบิน จังหวัดกระบี่ ซึ่งกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2548 แต่ได้มีการขยายระยะเวลาออกไป 284 วัน ซึ่งการไม่ทราบกำหนดวันเปิดใช้สนามบินแห่งใหม่ได้อย่างชัดเจน มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในการจัดทำแผนการตลาดเป็นการล่วงหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--