คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน กลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน (ภูเก็ต พังงา และกระบี่) รวม 26 เรื่อง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเร่งดำเนินการแล้วรายงาน สศช. เป็นประจำทุก 6 เดือน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า ได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการของกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน ซึ่งมีผลการดำเนินงานมาแล้ว 6 เดือน นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีได้ประชุมกับภาคเอกชน (5 กันยายน 2548 — เมษายน 2549) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน สามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท (รวม 26 เรื่อง) ดังนี้
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จและถือเป็นงานปกติ จำนวน 3 เรื่อง การจัดงานระลึกครบรอบ 1 ปี ธรณีภัยพิบัติสึนามิการผ่อนผันการเปิด — ปิดสถานบริการในเขตพื้นที่อันดามัน การจัดตั้งหอเตือนภัยบริเวณชายหาด 3 จังหวัดอันดามัน โดยติดตั้งที่จังหวัดภูเก็ต 18 จุด จังหวัดพังงา 16 จุด และจังหวัดกระบี่ 12 จุด
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 17 เรื่อง จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 6 เรื่องการจัดทำถนนเข้าหาดนางทอง สาย ค 6 และ ค 2 ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) แล้ว และจะดำเนินการตามแผนต่อไป
2) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาหลัก — ลำรู่ กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป ขณะนี้ได้บรรจุไว้ในโครงการลงทุนพิเศษภาครัฐ (Mega Projects) แล้ว
3) การปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ อยู่ระหว่างดำเนินการโดยอพท. ตามที่ได้บรรจุไว้ในแผนฟื้นฟูและพัฒนาการแบบยั่งยืน ณ พื้นที่เขาหลัก จังหวัดพังงา
4) การจัดหาพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ประสบภัยสึนามิ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดหากล้าไม้เพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
5) การวางสายไฟฟ้าเคเบิ้ลใต้น้ำในส่วนที่ผ่านอุทยานแห่งชาติไปยังเกาะพีพี กระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อมได้ศึกษา IEE แล้วเห็นว่า หากวางสายเคเบิ้ลอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลได้ ตลอดจนยังไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่จนเกิดขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และอาจขัดต่อแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ
6) การสร้างท่าเทียบเรือจากแผ่นดินใหญ่ไปเกาะลันตาน้อยและจากเกาะลันตาน้อยไปเกาะลันตาใหญ่ การศึกษาโดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี พบว่า ควรขยายท่าเรือแพขนานยนต์เดิมจะมีความเหมาะสมกว่าการสร้างในสถานที่ใหม่
2.2 ด้านการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก จำนวน 5 เรื่อง
1) การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว
2) การจัดตั้งศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้าในจังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการฯ ของคณะกรรมการพัฒนาอ่าวภูเก็ต
3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอันดามันเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดปี 2549 ของ ททท.
4) การศึกษารูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนเค็ม-น้ำตกร้อน ในจังหวัดกระบี่ ปัจจุบันสำนักพัฒนาการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวที่ เหมาะสมภาพรวมการพัฒนาท่องเที่ยวจังหวัดอันดามัน สศช. ได้จัดประชุมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และภาคเอกชนทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ เพื่อหาความเหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดอันดามันให้ตรงตามความต้องการของทุกฝ่าย
2.3 ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) จำนวน 4 เรื่อง
1) การศึกษาวิจัยในรายละเอียดเรื่องการขยายการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก จังหวัดพังงา กรมประมงได้ดำเนินการศึกษาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากะรังและกุ้งมังกรให้เกษตรกรในพื้นที่แล้ว
2) การจัดเขตพื้นที่และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการขยายผลิตสัตว์น้ำมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก จังหวัดพังงา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำร่างประกาศกฎกระทรวง ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างประกาศฯ แล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
3) การใช้กลไกนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) สนับสนุนการผลิตไบโอดีเซล จังหวัดกระบี่ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้เสนอโครงการต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อของคณะกรรมการของธนาคาร
4) การส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นเมืองวิจัยเพื่อสร้างมูลค่า ในส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนงานและการดำเนินการในการส่งเสริมด้านการวิจัยมูลค่าในกลุ่มจังหวัดอันดามันที่ชัดเจน
2.4 ด้านการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นบูรณาการ จำนวน 2 เรื่อง
1) การพัฒนาเกาะพีพีทั้งระบบ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนแม่บท
2) การส่งเสริมการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณาการ จังหวัดภูเก็ต สศช. ได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาข้อสรุปร่วมกับภาคเอกชนและชุมชนในการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณอ่าวภูเก็ตรวมทั้งแนวทางในการลงทุนตามทิศทางที่กำหนดไว้ให้ชัดเจน ก่อนจะนำเข้าวาระนายกรัฐมนตรีพบภาพเอกชนต่อไป
3. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการแต่ไม่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่รายงานไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 จำนวน 6 เรื่อง
3.1 การศึกษาความเป็นไปได้ในการผันน้ำจากเขื่อนรัชชประภา กรมชลประทานได้บรรจุโครงการผันน้ำจากเขื่อนรัชชประภาไปจังหวัดภูเก็ตไว้ในแผน Mega Project ปี 2550-2552 แล้ว สำหรับการผันน้ำไปยังเกาะสมุย การประปาส่วนภูมิภาคได้บรรจุไว้ในแผนปี 2549
3.2 กรก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงกระบี่-อ่าวลึกตอนสอง และช่วงอ่าวลึก-ทับปุด กรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2549 เพื่อก่อสร้างช่วงกระบี่-อ่าวลึก ตอนที่ 1 และอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ ส่วนตอนที่ 2 ได้ขอตั้งงบประมาณปี 2550 เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป
3.3 การวางสายเคเบิ้ลไฟฟ้าจากอ่าวนางไปหาดไร่เลย์อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.4 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวลองสเตย์ จังหวัดพังงา BOI กำลังทบทวนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.5 การแปลงโฉนดน้ำเป็นทุนระหว่างการดำเนินการ
3.6 การส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล ทั้งในเชิงพาณิชย์และในระดับชุมชน จังหวัดกระบี่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการประจำปี 2549 จำนวน 18 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโครงงานกำลังการผลิตไบโอดีเซล 10,000 ลิตร/วัน คาดว่าจะเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า ได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการของกลุ่ม 3 จังหวัดอันดามัน ซึ่งมีผลการดำเนินงานมาแล้ว 6 เดือน นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีได้ประชุมกับภาคเอกชน (5 กันยายน 2548 — เมษายน 2549) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน สามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท (รวม 26 เรื่อง) ดังนี้
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จและถือเป็นงานปกติ จำนวน 3 เรื่อง การจัดงานระลึกครบรอบ 1 ปี ธรณีภัยพิบัติสึนามิการผ่อนผันการเปิด — ปิดสถานบริการในเขตพื้นที่อันดามัน การจัดตั้งหอเตือนภัยบริเวณชายหาด 3 จังหวัดอันดามัน โดยติดตั้งที่จังหวัดภูเก็ต 18 จุด จังหวัดพังงา 16 จุด และจังหวัดกระบี่ 12 จุด
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 17 เรื่อง จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 6 เรื่องการจัดทำถนนเข้าหาดนางทอง สาย ค 6 และ ค 2 ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) แล้ว และจะดำเนินการตามแผนต่อไป
2) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาหลัก — ลำรู่ กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป ขณะนี้ได้บรรจุไว้ในโครงการลงทุนพิเศษภาครัฐ (Mega Projects) แล้ว
3) การปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ อยู่ระหว่างดำเนินการโดยอพท. ตามที่ได้บรรจุไว้ในแผนฟื้นฟูและพัฒนาการแบบยั่งยืน ณ พื้นที่เขาหลัก จังหวัดพังงา
4) การจัดหาพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ประสบภัยสึนามิ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดหากล้าไม้เพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
5) การวางสายไฟฟ้าเคเบิ้ลใต้น้ำในส่วนที่ผ่านอุทยานแห่งชาติไปยังเกาะพีพี กระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อมได้ศึกษา IEE แล้วเห็นว่า หากวางสายเคเบิ้ลอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลได้ ตลอดจนยังไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่จนเกิดขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และอาจขัดต่อแผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ
6) การสร้างท่าเทียบเรือจากแผ่นดินใหญ่ไปเกาะลันตาน้อยและจากเกาะลันตาน้อยไปเกาะลันตาใหญ่ การศึกษาโดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี พบว่า ควรขยายท่าเรือแพขนานยนต์เดิมจะมีความเหมาะสมกว่าการสร้างในสถานที่ใหม่
2.2 ด้านการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก จำนวน 5 เรื่อง
1) การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว
2) การจัดตั้งศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้าในจังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการฯ ของคณะกรรมการพัฒนาอ่าวภูเก็ต
3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอันดามันเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดปี 2549 ของ ททท.
4) การศึกษารูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนเค็ม-น้ำตกร้อน ในจังหวัดกระบี่ ปัจจุบันสำนักพัฒนาการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวที่ เหมาะสมภาพรวมการพัฒนาท่องเที่ยวจังหวัดอันดามัน สศช. ได้จัดประชุมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และภาคเอกชนทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ เพื่อหาความเหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดอันดามันให้ตรงตามความต้องการของทุกฝ่าย
2.3 ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) จำนวน 4 เรื่อง
1) การศึกษาวิจัยในรายละเอียดเรื่องการขยายการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก จังหวัดพังงา กรมประมงได้ดำเนินการศึกษาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากะรังและกุ้งมังกรให้เกษตรกรในพื้นที่แล้ว
2) การจัดเขตพื้นที่และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการขยายผลิตสัตว์น้ำมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก จังหวัดพังงา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำร่างประกาศกฎกระทรวง ฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างประกาศฯ แล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
3) การใช้กลไกนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) สนับสนุนการผลิตไบโอดีเซล จังหวัดกระบี่ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้เสนอโครงการต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อของคณะกรรมการของธนาคาร
4) การส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นเมืองวิจัยเพื่อสร้างมูลค่า ในส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนงานและการดำเนินการในการส่งเสริมด้านการวิจัยมูลค่าในกลุ่มจังหวัดอันดามันที่ชัดเจน
2.4 ด้านการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นบูรณาการ จำนวน 2 เรื่อง
1) การพัฒนาเกาะพีพีทั้งระบบ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนแม่บท
2) การส่งเสริมการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณาการ จังหวัดภูเก็ต สศช. ได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาข้อสรุปร่วมกับภาคเอกชนและชุมชนในการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณอ่าวภูเก็ตรวมทั้งแนวทางในการลงทุนตามทิศทางที่กำหนดไว้ให้ชัดเจน ก่อนจะนำเข้าวาระนายกรัฐมนตรีพบภาพเอกชนต่อไป
3. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการแต่ไม่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่รายงานไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 จำนวน 6 เรื่อง
3.1 การศึกษาความเป็นไปได้ในการผันน้ำจากเขื่อนรัชชประภา กรมชลประทานได้บรรจุโครงการผันน้ำจากเขื่อนรัชชประภาไปจังหวัดภูเก็ตไว้ในแผน Mega Project ปี 2550-2552 แล้ว สำหรับการผันน้ำไปยังเกาะสมุย การประปาส่วนภูมิภาคได้บรรจุไว้ในแผนปี 2549
3.2 กรก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงกระบี่-อ่าวลึกตอนสอง และช่วงอ่าวลึก-ทับปุด กรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2549 เพื่อก่อสร้างช่วงกระบี่-อ่าวลึก ตอนที่ 1 และอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ ส่วนตอนที่ 2 ได้ขอตั้งงบประมาณปี 2550 เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป
3.3 การวางสายเคเบิ้ลไฟฟ้าจากอ่าวนางไปหาดไร่เลย์อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.4 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวลองสเตย์ จังหวัดพังงา BOI กำลังทบทวนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.5 การแปลงโฉนดน้ำเป็นทุนระหว่างการดำเนินการ
3.6 การส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล ทั้งในเชิงพาณิชย์และในระดับชุมชน จังหวัดกระบี่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการประจำปี 2549 จำนวน 18 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโครงงานกำลังการผลิตไบโอดีเซล 10,000 ลิตร/วัน คาดว่าจะเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--