คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ราคาสุกรและแนวทางแก้ไขปัญหา ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. สถานการณ์การผลิต ปี 2552 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ประมาณการผลผลิตสุกรไว้จำนวน 11,765 ล้านตัว ลดลงจากปี 2551 จำนวน 0.33 ล้านตัวหรือร้อยละ 2.72 โดยมีสาเหตุจากการลดปริมาณการเลี้ยงในช่วงกลางปี 2551 เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นอยู่ใน ระดับสูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ รวมทั้งปัญหาการขาดสภาพคล่องทางเงินทุนหมุนเวียนของผู้เลี้ยงสุกร
2. สถานการณ์การตลาด/ปัญหา ภาวะการค้าเนื้อสุกรในประเทศค่อนข้างชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่เนื่อง จากผลผลิตสุกรลดลง รวมทั้งมีขนาดเล็กน้ำหนักโดยทั่วไปต่ำกว่าตัวละ 100 กิโลกรัม ซึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศร้อน ทำให้สุกรโตช้า ประกอบกับผู้ เลี้ยงสุกรส่วนใหญ่ระบายสุกรออกจำหน่ายเร็วกว่าปกติ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องด้านเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการเลี้ยง ทำให้มีการเสนอราคาซื้อ-ขาย สุกรมีชีวิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ปัจจุบัน (27 เม.ย.52) ราคาสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิต อยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 63 — 64 บาท ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่กิโลกรัมละ 46.76 บาท (สศก.) ส่วนเดือนเมษายน 2552 อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 49 — 50 บาท (ประมาณการโดยกรมการค้าภายใน) และทำให้ราคาเนื้อสุกรชำแหละปรับสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าและประชาชนผู้บริโภค
รายการ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 + / - (%) ผลผลิต (ล้านตัว) 13.315 13.545 12.095 11.765 -2.72 บริโภคในประเทศ (ล้านตัว) 12.48 13.88 11.89 11.6 -2.43 การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ (ตัน) 11,003 10,199 9,916 1,447 (ม.ค. — ก.พ.52) การนำเข้า - เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ (ตัน) 152 125 121 19 (ม.ค. — ก.พ.52) - เครื่องใน (ตัน) 11,049 9,495 11,462 2,119 (ม.ค. — ก.พ.52) ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) 44.96 42.87 53.25 49 - 50 (ประมาณการ) ราคาสุกรมีชีวิต (บาท/กก.) 45.91 39.97 54.38 63 - 64 (27 เม.ย..52) ราคาขายปลีกเนื้อแดง (บาท/กก.) 94.31 84.24 108.71 120 - 130 (27 เม.ย..52) ช่วงผลผลิตออกมาก : ตุลาคม — กุมภาพันธ์
3. ผลกระทบจากสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากการผลิตสุกรของไทยเป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก (ร้อยละ 98 ของผลผลิต) มีการนำเข้าเนื้อสุกรปรุงสุก/ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อป้อนตลาดระดับสูงบ้างเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศอิตาลี จีน และเดนมาร์ก รวมทั้งมีการนำเข้าเครื่องในสุกรจากประเทศเบลเยี่ยม เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ซึ่งขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ กำหนดมาตรการป้องกัน โดยให้ชะลอการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาดของโรค เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการนำเข้าสินค้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ทางด้านการค้า/การบริโภคในประเทศ ได้มีการรายงานสถานการณ์ของโรคดังกล่าว ในประเทศอย่างกว้างขวาง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันว่า ไม่มีโรคดังกล่าวเกิดขึ้นกับสุกรที่เลี้ยงในประเทศ อีกทั้งได้มีมาตรการเข้มงวด ในการติดตามเฝ้าระวังความผิดปกติของสุกร ส่วนกระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบว่า โรคดังกล่าวระบาดจากคนสู่คน และ ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู คาดว่าจะช่วยลดภาวะความตื่นกลัวของประชาชนผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง และไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเช่นการระบาด ของโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2547
4. การแก้ไขปัญหา กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา สรุปดังนี้
4.1 การตลาดและราคาสุกร
(1) ติดตามตรวจสอบภาวะการค้า และราคาขายส่งขายปลีกอย่างใกล้ชิด
(2) ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ บริษัทผู้เลี้ยง สุกรรายใหญ่ และสมาคม/ชมรมผู้ค้าเนื้อสุกรชำแหละ ในวันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 เพื่อพิจารณาโครงสร้างราคาสุกรมีชีวิต และราคาขายส่ง ขายปลีกเนื้อหมู ให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตในแต่ละช่วงการผลิต และสามารถเอื้อประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ตั้งแต่ เกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก และผู้บริโภคต่อไป
(3) บริหารจัดการด้านการตลาด เพื่อแบ่งเบาภาระผู้บริโภค โดยเชื่อมโยงผู้เลี้ยงและผู้ผลิตจำหน่ายเนื้อหมูราคาพิเศษให้ผู้ บริโภคโดยตรง โดยเฉพาะในงานธงฟ้าที่กระทรวงพาณิชย์จัดขึ้น
4.2 ภาวะโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ประสานบูรณาการด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนผู้บริโภค ร่วมกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 เมษายน 2552 --จบ--