คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
แนวทางการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549
1. การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 และเตรียมการรองรับปี 2550 จากผลสรุปการประชุมระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องการเตรียมความพร้อมตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในกรณีพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ไม่ทันตามปีปฏิทินงบประมาณ จึงเห็นสมควรให้คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ (นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน) พิจารณา กำหนดแนวทางให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินงบประมาณดำเนินการดังนี้
(1) เร่งก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ในกรณีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทัน ให้รายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ให้กรมบัญชีกลางทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาดังกล่าว จะไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพัน
(2) เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเบิกเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และงบผูกพันในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้มากที่สุด
(3) จัดทำแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบผูกพัน และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี สำหรับโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือโครงการไม่ถึง 100 ล้านบาท แต่เป็นโครงการในลักษณะเดียวกันรวมกันแล้วมียอดถึง 100 ล้านบาท และรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อนำเข้าคณะกรรมการติดตามผล การใช้จ่ายเงินภาครัฐ เพื่อติดตามเร่งรัดต่อไป
(4) ในกรณีที่ส่วนราชการมีปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน ให้แจ้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการย่อยของคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
1.2 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ อนุญาตผ่อนผันหลักเกณฑ์เป็นกรณีพิเศษเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ ดังนี้
(1) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 —5 ล้านบาท ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ก็ให้หน่วยงานดำเนินการตามนั้น เว้นแต่ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น หรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวได้ จึงผ่อนผันให้หัวหน้าหน่วยงานใช้ดุลยพินิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือ ระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็นหรือปัญหาอุปสรรคดังกล่าวไว้ในรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามที่ระเบียบกำหนด
(2) ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ในการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยการคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ และการกำหนดสถานที่เสนอราคาจะต้อง คัดเลือกและกำหนดจากรายชื่อที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
2. โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐที่ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2549 และปัจจุบันได้ชะลอการ ดำเนินการออกไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 โดยให้กระทรวงเจ้าของโครงการรับไปพิจารณา ทบทวนว่า โครงการใดยังมีความจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการ โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา และการยกระดับบริการด้านสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติที่กำหนดเป็นโครงการพิเศษของรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการตามขั้นตอนปกติต่อไปได้
3. งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้ได้จัดสรรไปแล้วจำนวน 12,856.18 ล้านบาท เห็นควรให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดงบประมาณดังกล่าวเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเร่งด่วน ส่วนงบประมาณที่รอการจัดสรรจำนวน 14,343.82 ล้านบาท ให้คณะกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง เร่งรัดจัดสรรงบประมาณดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับรายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายและที่จำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--
แนวทางการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549
1. การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 และเตรียมการรองรับปี 2550 จากผลสรุปการประชุมระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องการเตรียมความพร้อมตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในกรณีพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ไม่ทันตามปีปฏิทินงบประมาณ จึงเห็นสมควรให้คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ (นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน) พิจารณา กำหนดแนวทางให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินงบประมาณดำเนินการดังนี้
(1) เร่งก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ในกรณีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทัน ให้รายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ให้กรมบัญชีกลางทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาดังกล่าว จะไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพัน
(2) เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเบิกเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และงบผูกพันในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้มากที่สุด
(3) จัดทำแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบผูกพัน และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี สำหรับโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือโครงการไม่ถึง 100 ล้านบาท แต่เป็นโครงการในลักษณะเดียวกันรวมกันแล้วมียอดถึง 100 ล้านบาท และรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อนำเข้าคณะกรรมการติดตามผล การใช้จ่ายเงินภาครัฐ เพื่อติดตามเร่งรัดต่อไป
(4) ในกรณีที่ส่วนราชการมีปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน ให้แจ้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการย่อยของคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐฯ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
1.2 มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2549 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ อนุญาตผ่อนผันหลักเกณฑ์เป็นกรณีพิเศษเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ ดังนี้
(1) การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 —5 ล้านบาท ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2549 ก็ให้หน่วยงานดำเนินการตามนั้น เว้นแต่ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น หรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวได้ จึงผ่อนผันให้หัวหน้าหน่วยงานใช้ดุลยพินิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือ ระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็นหรือปัญหาอุปสรรคดังกล่าวไว้ในรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามที่ระเบียบกำหนด
(2) ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ในการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยการคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ และการกำหนดสถานที่เสนอราคาจะต้อง คัดเลือกและกำหนดจากรายชื่อที่กรมบัญชีกลางได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
2. โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐที่ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2549 และปัจจุบันได้ชะลอการ ดำเนินการออกไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 โดยให้กระทรวงเจ้าของโครงการรับไปพิจารณา ทบทวนว่า โครงการใดยังมีความจำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินการ โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา และการยกระดับบริการด้านสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติที่กำหนดเป็นโครงการพิเศษของรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการตามขั้นตอนปกติต่อไปได้
3. งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้ได้จัดสรรไปแล้วจำนวน 12,856.18 ล้านบาท เห็นควรให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดงบประมาณดังกล่าวเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเร่งด่วน ส่วนงบประมาณที่รอการจัดสรรจำนวน 14,343.82 ล้านบาท ให้คณะกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง เร่งรัดจัดสรรงบประมาณดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับรายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายและที่จำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--