คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ เรื่อง การดำเนินงานฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนระบบนิเวศของพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยในภาพรวมทั้งระบบ แล้วมีมติดังนี้ รับทราบสถานการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธรณีพิบัติภัยภายใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามมาตรการหลักการจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่
1) การจัดการข้อมูลและการประเมินความเสียหาย
2) การจัดการฟื้นฟูชุมชนและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
3) การฟื้นฟูพื้นที่อุทยานและแหล่งท่องเที่ยว
4) การแบ่งมอบภารกิจในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจน โดยให้ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
3. เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัย กำกับดูแลและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแนวทางและมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว พิจารณาการให้ความเห็นชอบกับแผนงาน โครงการ และงบประมาณในการดำเนินงาน รวมทั้งประสานงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกับศูนย์อำนวยการในระดับจังหวัดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางและมาตรการที่กำหนดไว้
4. อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ศึกษาและวิจัยเร่งด่วน วงเงิน 100 ล้านบาท โดยมอบให้คณะกรรมการบริหารจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นผู้พิจารณารายละเอียดโครงการและงบประมาณต่อไป และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำความตกลงในรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกับสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้รายงานสถานการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธรณีพิบัติภัย (Tsunami) เน้นความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปได้ดังนี้
1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความเสียหายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ทรัพยากรปะการัง ป่าชายเลน ป่าชายหาดและชายหาด หญ้าทะเล ประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีดังนี้
1.1 ทรัพยากรปะการังน้ำตื้นได้รับความเสียหายบางส่วน ร้อยละ 5-30 ส่วนปะการังน้ำลึกได้รับความเสียหายเล็กน้อย ร้อยละ 5-10 โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปะการังบางส่วนถูกทรายและขยะทับถมเสียหาย สำหรับมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมิน
1.2 ทรัพยากรป่าชายเลน ป่าชายเลนได้รับความเสียหายบางส่วน โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ป่าชายเลนบริเวณหาดในหาน หาดกมลาและในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี หาดท้ายเมือง อุทยานแห่งชาติตะรุเตา มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นประมาณ 7-8 ล้านบาท
1.3 ทรัพยากรป่าชายหาดและชายหาด พื้นที่ป่าชายหาดและชายหาดบางส่วนถูกทำลายและกัดเซาะหายไป คลองและทางน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลถูกเปลี่ยนสภาพ ร่องน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีตะกอนทรายทับถมชายหาดท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีซากสิ่งก่อสร้างและขยะทับถม ต้นไม้และพืชคลุมดินโค่นล้ม สำหรับป่าชายหาดได้รับความเสียหายบางส่วน ประมาณร้อยละ 5-30 มูลค่าความเสียหายประมาณ 24 ล้านบาท
1.4 ทรัพยากรหญ้าทะเลพบได้ที่บริเวณหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง ได้รับความเสียหายร้อยละ 20 มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตาม แหล่งหญ้าทะเลสามารถฟื้นตัวได้เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากตะกอยที่ทับถม
1.5 ทรัพยากรประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เรือประมงได้รับความเสียหายมากกว่า 4,600 ลำ เป็นเรือประมงขนาดใหญ่จำนวน 1,222 ลำ เรือประมงขนาดเล็กจำนวน 3,426 ลำ เครื่องมือประมงเป็นโป๊ะจำนวน 421 โป๊ะ อวน 1,871 ปากและลอบ 13,690 อัน สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ได้รับความเสียหายประกอบด้วย กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวน 27,828 ราย บ่อเลี้ยงกุ้ง 42 ราย โรงเพาะ 573 ราย รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 510 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการสูญเสียโอกาสในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่า อาจมีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1) การจัดการข้อมูลและการประเมินความเสียหาย
2) การจัดการฟื้นฟูชุมชนและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
3) การฟื้นฟูพื้นที่อุทยานและแหล่งท่องเที่ยว
4) การแบ่งมอบภารกิจในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจน โดยให้ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
3. เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัย กำกับดูแลและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแนวทางและมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว พิจารณาการให้ความเห็นชอบกับแผนงาน โครงการ และงบประมาณในการดำเนินงาน รวมทั้งประสานงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกับศูนย์อำนวยการในระดับจังหวัดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางและมาตรการที่กำหนดไว้
4. อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ศึกษาและวิจัยเร่งด่วน วงเงิน 100 ล้านบาท โดยมอบให้คณะกรรมการบริหารจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นผู้พิจารณารายละเอียดโครงการและงบประมาณต่อไป และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำความตกลงในรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกับสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้รายงานสถานการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธรณีพิบัติภัย (Tsunami) เน้นความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปได้ดังนี้
1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความเสียหายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ทรัพยากรปะการัง ป่าชายเลน ป่าชายหาดและชายหาด หญ้าทะเล ประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีดังนี้
1.1 ทรัพยากรปะการังน้ำตื้นได้รับความเสียหายบางส่วน ร้อยละ 5-30 ส่วนปะการังน้ำลึกได้รับความเสียหายเล็กน้อย ร้อยละ 5-10 โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปะการังบางส่วนถูกทรายและขยะทับถมเสียหาย สำหรับมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมิน
1.2 ทรัพยากรป่าชายเลน ป่าชายเลนได้รับความเสียหายบางส่วน โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ป่าชายเลนบริเวณหาดในหาน หาดกมลาและในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี หาดท้ายเมือง อุทยานแห่งชาติตะรุเตา มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นประมาณ 7-8 ล้านบาท
1.3 ทรัพยากรป่าชายหาดและชายหาด พื้นที่ป่าชายหาดและชายหาดบางส่วนถูกทำลายและกัดเซาะหายไป คลองและทางน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลถูกเปลี่ยนสภาพ ร่องน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีตะกอนทรายทับถมชายหาดท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีซากสิ่งก่อสร้างและขยะทับถม ต้นไม้และพืชคลุมดินโค่นล้ม สำหรับป่าชายหาดได้รับความเสียหายบางส่วน ประมาณร้อยละ 5-30 มูลค่าความเสียหายประมาณ 24 ล้านบาท
1.4 ทรัพยากรหญ้าทะเลพบได้ที่บริเวณหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง ได้รับความเสียหายร้อยละ 20 มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตาม แหล่งหญ้าทะเลสามารถฟื้นตัวได้เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากตะกอยที่ทับถม
1.5 ทรัพยากรประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เรือประมงได้รับความเสียหายมากกว่า 4,600 ลำ เป็นเรือประมงขนาดใหญ่จำนวน 1,222 ลำ เรือประมงขนาดเล็กจำนวน 3,426 ลำ เครื่องมือประมงเป็นโป๊ะจำนวน 421 โป๊ะ อวน 1,871 ปากและลอบ 13,690 อัน สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ได้รับความเสียหายประกอบด้วย กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวน 27,828 ราย บ่อเลี้ยงกุ้ง 42 ราย โรงเพาะ 573 ราย รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 510 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการสูญเสียโอกาสในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่า อาจมีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--