สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 7, 2009 16:00 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2552) สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 4 พฤษภาคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ และจังหวัดอุดรธานี รวม 195 อำเภอ 764 ตำบล 6,751 หมู่บ้าน (คิดเป็น 27.44% ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 18 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 9.01% ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่ บ้าน) แยกเป็น

ที่                            พื้นที่ประสบภัย                                                    ราษฎรประสบภัย
  ภาค         จังหวัด    อำเภอ    ตำบล    หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                              คน      ครัวเรือน
1 เหนือ          6       49       170    1,219    กำแพงเพชร  ตาก  พิจิตร สุโขทัย           526,921    146,618

อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

2 ตะวันออก      12      146       594    5,532    กาฬสินธุ์  นครราชสีมา  บุรีรัมย์ ยโสธร     2,569,259    684,433
  เฉียงเหนือ                                       มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร

หนองคาย หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ อุดรธานี

รวมทั้งประเทศ    18      195       764    6,751                                       3,096,180    831,051

ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค         จำนวนหมู่บ้าน        3 เม.ย.2552       20 เม.ย.2552         27 เม.ย.2552        4 พ.ค.2552
                ทั้งหมด          หมู่     + เพิ่ม       หมู่       + เพิ่ม      หมู่       + เพิ่ม      หมู่      + เพิ่ม
                              บ้าน     - ลด       บ้าน       - ลด      บ้าน       - ลด      บ้าน      - ลด
1 เหนือ         16,590       6,182       0      4,886      -1,296    4,081      -805    1,219     -2,862
2 ตะวันออก      33,099      10,828       0     10,274        -554    8,593    -1,681    5,532     -3,061
เฉียงเหนือ
3 กลาง         11,736       1,163       0      1,163           0      940      -223        0       -940
4 ตะวันออก       4,859         850     -11        831         -19      749       -82        0       -749
5 ใต้            8,660         438       0        305        -133      114      -191        0       -114
  รวม          74,944      19,461     -11     17,459      -2,002   14,477    -2,982    6,751     -7,726

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2552 (รวม 48 จังหวัด 454 อำเภอ 1,914 ตำบล 14,477 หมู่บ้าน) เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูง กำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกทั่วไป เป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งคลี่คลาย ลงไป 30 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม เลย สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก สระแก้ว ชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ลดลง 7,726 หมู่บ้าน

หมายเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2552 ช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์ภัยแล้งสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 3 เมษายน 2552 มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 53 จังหวัด 491 อำเภอ 2,587 ตำบล 19,472 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,165,489 คน 1,963,650 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 843,267 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 424,588 ไร่ นาข้าว 250,948 ไร่ พืชสวนและ
อื่นๆ 167,731 ไร่ และจากการดำเนินการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ สามารถลดพื้นที่คาดว่าจะเสียหายได้ 303,915 ไร่ ในพื้นที่
10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ สุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด ชัยนาท ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และจังหวัดเพชรบุรี คงเหลือพื้นที่ต้องเฝ้า
ระวัง 480,035.50 ไร่ โดยมีพื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว จำนวน 15,316.50 ไร่ ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
ลำปาง พิจิตร อุตรดิตถ์ หนองคาย ราชบุรี เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 2,774 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 587,281,175 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 4,822 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 2,010 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 703,115,199 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 505,887,393 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 145,869,988 บาท
  • งบอื่น ๆ 51,357,818 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 798 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 234 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 313 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง 240 เครื่อง และภาคใต้ 11 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 61 คัน ช่วยเหลือใน 15 จังหวัด แจกจ่ายน้ำแล้ว 11.262 ล้านลิตร

6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำ ไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปาด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุนจ่ายน้ำช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 232 ล้านลิตร เป็นจำนวนเงิน 3,718,022 บาท

2. สถานการณ์วาตภัย (ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2552)

เนื่องจากความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน และแผ่เข้ามาถึงประเทศไทย ตอนบน ซึ่งประเทศไทยมีอากาศร้อนที่ ถูกปกคลุมด้วยหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง (พายุฤดูร้อน) พัดบ้านเรือน ราษฎร พืชผลทางการเกษตร และสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ 7 จังหวัด 7 อำเภอ 7 ตำบล 27 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความ เดือดร้อน 1,105 ครัวเรือน 2,800 คน ดังนี้

1) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 เกิดเหตุพายุฤดูร้อน และลมกระโชกแรงในพื้นที่อำเภอเนินมะปราง ตำบลเนิน มะปราง (หมู่ที่ 2,4,5,6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 24 ครัวเรือน

2) จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 เกิดเหตุพายุฤดูร้อน และ ลมกระโชกแรงในพื้นที่อำเภอสอยดาว ตำบลสะตอน (หมู่ที่ 1-12) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 12 ครัวเรือน 30 คน สวนลำไย 20 ไร่

3) จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 เกิดเหตุพายุฤดูร้อน และลมกระโชกแรงพัดบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอจอม พระ ตำบลจอมพระ (หมู่ที่ 1,4,5,13) และในเขตเทศบาลตำบลจอมพระ บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง 15 หลัง บางส่วน 175 หลัง

4) จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2552 เกิดพายุฤดูร้อนและน้ำป่า ไหลหลาก ในพื้นที่อำเภอเถิน ตำบลแม่ถอด (หมู่ที่ 4,5,7,13) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 770 ครัวเรือน 2,500 คน ฝายน้ำล้น 3 แห่ง พนังกั้นน้ำ 3 แห่ง สะพานไม้ 5 แห่ง พื้นที่การเกษตร 55 ไร่ บ่อปลา 20 บ่อ

5) จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2552 เกิดพายุฤดูร้อนและน้ำไหลหลาก พื้นที่อำเภอบ้านฉาง ตำบลพลา (หมู่ที่ 5) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 60 ครัวเรือน 240 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วน 10 หลัง รั้วของหมู่บ้านเอื้ออาทรถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย 1 ด้าน

6) จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 เกิดพายุฤดูร้อน พื้นที่อำเภอลอง ตำบลต้าผามอก (หมู่ที่ 3,8) ราษฎรได้รับความ เดือดร้อน 34 ครัวเรือน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน (นายจอง อินตัน บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ที่ 8 ตำบลต้าผามอก สาเหตุจากฟ้าผ่า)

7) จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2552 เกิดเหตุพายุฤดูร้อน และลมกระโชกแรงพัดบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอ เมืองกาญจนบุรี ตำบลปากแพรก ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15 ครัวเรือน 30 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วน 15หลัง

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 3-9 พฤษภาคม 2552

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจาก ประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดี เปรสชั่น และพายุโซนร้อน“จันหอม”ตามลำดับ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง และเกือบไม่เคลื่อนที่ ทำให้ลมตะวันตกที่พัดปกคลุมทะเล อันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น เป็นผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจาก สภาวะฝนตกหนัก และชาวเรือระมัดระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงโดยเฉพาะในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในช่วงวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 นี้ไว้ด้วย จากนั้นในช่วงวันที่ 7-9 พฤษภาคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้มีฝนตกต่อเนื่องไปอีก และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนของประชาชน และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ