คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ซึ่งเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบจังหวัดกระบี่ เรื่องการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 สิงหาคม 2548 รายงานการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรณีพิบัติเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ดังนี้
1. การก่อสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 216 หลัง มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จะทำการก่อสร้างให้ ซึ่งแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง 50 หลัง ให้มูลนิธิศุภนิมิตดำเนินการจัดส่งแผนที่ที่จะก่อสร้างให้องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยิ่งยืน (อพท.) ตรวจสอบว่าอยู่ในระยะถอนร่นหรือเส้นทางเพื่อความปลอดภัยและส่งแบบบ้านให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง และกรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดกระบี่ ตรวจสอบ หากที่ดินราษฎรรายใดไม่ขัดกับแบบของ อพท. ก็ให้มูลนิธิศุภนิมิตดำเนินการก่อสร้างได้เลย กรณีไม่มีที่ดินของตนเอง จำนวน 166 หลัง ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำรวจเพื่อขอใช้ที่ดิน จำนวน 20 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่า พ.ศ. 2484 จัดสร้างให้แทนพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะมีความยุ่งยากในการขอใช้พื้นที่ตามกฏหมายมากกว่า
2. การก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะพีพี วงเงินงบประมาณ 138 ล้านบาท ได้มอบให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี รับไปศึกษาออกแบบและทบทวนการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะพีพี ตามความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดนำเสนอต่อที่ประชุมคณะผู้ชำนาญการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยด่วน
3. การก่อสร้างโรงพยาบาลเกาะพีพี ให้ดำเนินการก่อสร้างและซ่อมแซมโรงพยาบาลในสถานที่เดิมตามที่ได้รับงบประมาณ สำหรับโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ดำเนินการในภายหลังต่อไป
4. การก่อสร้างโรงเรียน เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนแผนผังการก่อสร้างโรงเรียนใหม่ โดยมอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ ประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมืองในเรื่องสถานที่ก่อสร้างแบบแปลนและวิธีดำเนินการ
5. การก่อสร้างระบบไฟฟ้า วงเงินงบประมาณ ประมาณ 620 ล้านบาท เห็นชอบให้ กฟภ. เป็นผู้ลงทุน ทั้งหมด และให้ กฟภ. จัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติจนกว่าจะคุ้มทุน หลังจากนั้นจัดเก็บในอัตราปกติ ทั้งนี้ ให้กฟภ. เร่งรัดนำเรื่องดังกล่าวนี้เสนอ เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
6. การก่อสร้างระบบประปา วงเงินงบประมาณ ประมาณ 181 ล้านบาท (ระบบ Reverse Osmosis) เห็นชอบให้ กปภ. เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และให้ กปภ. จัดเก็บอัตราค่าน้ำประปาในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติจนกว่าจะคุ้มทุน หลังจากนั้น ให้จัดเก็บในอัตราปกติ ทั้งนี้ ให้ กปภ. เร่งรัดนำเรื่องดังกล่าวนี้เสนอ เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
7. ระบบบำบัดน้ำเสีย รัฐบาลเดนมาร์คให้งบประมาณดำเนินการ จำนวน 28 ล้านบาทเศษ ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ
8. การกำหนดเส้นทางเพื่อความปลอดภัยได้เห็นชอบในหลักการในการกำหนดเส้นทาง เพื่อความปลอดภัย จำนวน 11 เส้นทาง แต่ละเส้นทางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร โดยมอบหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดทำการรังวัดแนวเขตทางให้ชัดเจน ทั้งนี้ มีบางเส้นทางที่เจ้าของที่ดินจะไม่ขอรับเงินค่าชดเชยจากรัฐ แต่จะยินยอมให้ใช้เป็น เส้นทางหนีภัย และก่อสร้างระบบท่อสาธารณูปโภคใต้เส้นทางหนีภัยได้ ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้หารือว่ากรณีที่เจ้าของที่ดิน ไม่ยกกรรมสิทธิ์ให้กับรัฐ รัฐจะสามารถดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการในที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
9. การกำหนดระยะแนวถอยร่น เห็นชอบในหลักการให้ปรับระยะแนวถอยร่นจาก 30 เมตร ตามประกาศของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาเป็นระยะแนวถอยร่น 20 เมตร ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้นำข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษา บริษัท โมดัส คอนซัล แท้นส์ จำกัด ที่ได้กำหนดระยะแนวถอยร่นตามสภาพข้อเท็จจริงมาใช้ ทั้งนี้ ได้เห็นชอบให้ใช้ค่าน้ำขึ้นเต็มที่ ปานกลาง หน้าน้ำเกิด ซึ่งหมายถึง ค่าเฉลี่ยน้ำขึ้นเต็มที่ขณะน้ำเกิด (ช่วงใกล้ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นค่าระดับน้ำทะเลสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติบริเวณเกาะพีพี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดระยะแนวถอยร่น
10. การกำหนดความสูงของอาคารและการใช้ประโยชน์พื้นที่ ซึ่งเดิมกำหนดให้อาคารมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และระยะถัดไป กำหนดความสูงเป็น 12 เมตร และ 16 เมตร ตามลำดับ โดยกำหนดได้มีพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่ว่าง 25 : 75 แต่เนื่องจากจะต้องมีการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อรองรับการเกิดธรณีพิบัติภัย จึงทำให้ความสูงของอาคารควรมีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ แต่ต้องสูงไม่เกิน 12เมตร และเพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่ว่างเป็น 40 : 60 และ 50 : 50 ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาโมดัสรับไปปรึกษา และนำเสนอเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
11. ปัญหาการจัดทำแผนแม่บทฟื้นฟูและพัฒนาหมู่เกาะพีพี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 มอบหมายให้ อพท. เป็นเจ้าภาพดำเนินการบูรณาการการฟื้นฟูและพัฒนาหมู่เกาะพีพีแทนหน่วยงานต่าง ๆ นั้น เนื่องจากการดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า เหตุเพราะเนื่องจากราษฎรบนเกาะทั่วไปไม่ไว้วางใจเกรงว่า ผลจากการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2546 จะทำให้เกิดการเวนคืนที่ดิน การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าวนี้ได้เร่งรัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และ อพท. ทำความเข้าใจกับราษฎรโดยรีบด่วนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. การก่อสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 216 หลัง มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จะทำการก่อสร้างให้ ซึ่งแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง 50 หลัง ให้มูลนิธิศุภนิมิตดำเนินการจัดส่งแผนที่ที่จะก่อสร้างให้องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยิ่งยืน (อพท.) ตรวจสอบว่าอยู่ในระยะถอนร่นหรือเส้นทางเพื่อความปลอดภัยและส่งแบบบ้านให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง และกรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดกระบี่ ตรวจสอบ หากที่ดินราษฎรรายใดไม่ขัดกับแบบของ อพท. ก็ให้มูลนิธิศุภนิมิตดำเนินการก่อสร้างได้เลย กรณีไม่มีที่ดินของตนเอง จำนวน 166 หลัง ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำรวจเพื่อขอใช้ที่ดิน จำนวน 20 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่า พ.ศ. 2484 จัดสร้างให้แทนพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะมีความยุ่งยากในการขอใช้พื้นที่ตามกฏหมายมากกว่า
2. การก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะพีพี วงเงินงบประมาณ 138 ล้านบาท ได้มอบให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี รับไปศึกษาออกแบบและทบทวนการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะพีพี ตามความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดนำเสนอต่อที่ประชุมคณะผู้ชำนาญการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยด่วน
3. การก่อสร้างโรงพยาบาลเกาะพีพี ให้ดำเนินการก่อสร้างและซ่อมแซมโรงพยาบาลในสถานที่เดิมตามที่ได้รับงบประมาณ สำหรับโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ดำเนินการในภายหลังต่อไป
4. การก่อสร้างโรงเรียน เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนแผนผังการก่อสร้างโรงเรียนใหม่ โดยมอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ ประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมืองในเรื่องสถานที่ก่อสร้างแบบแปลนและวิธีดำเนินการ
5. การก่อสร้างระบบไฟฟ้า วงเงินงบประมาณ ประมาณ 620 ล้านบาท เห็นชอบให้ กฟภ. เป็นผู้ลงทุน ทั้งหมด และให้ กฟภ. จัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติจนกว่าจะคุ้มทุน หลังจากนั้นจัดเก็บในอัตราปกติ ทั้งนี้ ให้กฟภ. เร่งรัดนำเรื่องดังกล่าวนี้เสนอ เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
6. การก่อสร้างระบบประปา วงเงินงบประมาณ ประมาณ 181 ล้านบาท (ระบบ Reverse Osmosis) เห็นชอบให้ กปภ. เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และให้ กปภ. จัดเก็บอัตราค่าน้ำประปาในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติจนกว่าจะคุ้มทุน หลังจากนั้น ให้จัดเก็บในอัตราปกติ ทั้งนี้ ให้ กปภ. เร่งรัดนำเรื่องดังกล่าวนี้เสนอ เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
7. ระบบบำบัดน้ำเสีย รัฐบาลเดนมาร์คให้งบประมาณดำเนินการ จำนวน 28 ล้านบาทเศษ ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ
8. การกำหนดเส้นทางเพื่อความปลอดภัยได้เห็นชอบในหลักการในการกำหนดเส้นทาง เพื่อความปลอดภัย จำนวน 11 เส้นทาง แต่ละเส้นทางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร โดยมอบหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดทำการรังวัดแนวเขตทางให้ชัดเจน ทั้งนี้ มีบางเส้นทางที่เจ้าของที่ดินจะไม่ขอรับเงินค่าชดเชยจากรัฐ แต่จะยินยอมให้ใช้เป็น เส้นทางหนีภัย และก่อสร้างระบบท่อสาธารณูปโภคใต้เส้นทางหนีภัยได้ ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้หารือว่ากรณีที่เจ้าของที่ดิน ไม่ยกกรรมสิทธิ์ให้กับรัฐ รัฐจะสามารถดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการในที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
9. การกำหนดระยะแนวถอยร่น เห็นชอบในหลักการให้ปรับระยะแนวถอยร่นจาก 30 เมตร ตามประกาศของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาเป็นระยะแนวถอยร่น 20 เมตร ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้นำข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษา บริษัท โมดัส คอนซัล แท้นส์ จำกัด ที่ได้กำหนดระยะแนวถอยร่นตามสภาพข้อเท็จจริงมาใช้ ทั้งนี้ ได้เห็นชอบให้ใช้ค่าน้ำขึ้นเต็มที่ ปานกลาง หน้าน้ำเกิด ซึ่งหมายถึง ค่าเฉลี่ยน้ำขึ้นเต็มที่ขณะน้ำเกิด (ช่วงใกล้ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นค่าระดับน้ำทะเลสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติบริเวณเกาะพีพี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดระยะแนวถอยร่น
10. การกำหนดความสูงของอาคารและการใช้ประโยชน์พื้นที่ ซึ่งเดิมกำหนดให้อาคารมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และระยะถัดไป กำหนดความสูงเป็น 12 เมตร และ 16 เมตร ตามลำดับ โดยกำหนดได้มีพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่ว่าง 25 : 75 แต่เนื่องจากจะต้องมีการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อรองรับการเกิดธรณีพิบัติภัย จึงทำให้ความสูงของอาคารควรมีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ แต่ต้องสูงไม่เกิน 12เมตร และเพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่ว่างเป็น 40 : 60 และ 50 : 50 ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาโมดัสรับไปปรึกษา และนำเสนอเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
11. ปัญหาการจัดทำแผนแม่บทฟื้นฟูและพัฒนาหมู่เกาะพีพี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 มอบหมายให้ อพท. เป็นเจ้าภาพดำเนินการบูรณาการการฟื้นฟูและพัฒนาหมู่เกาะพีพีแทนหน่วยงานต่าง ๆ นั้น เนื่องจากการดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า เหตุเพราะเนื่องจากราษฎรบนเกาะทั่วไปไม่ไว้วางใจเกรงว่า ผลจากการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2546 จะทำให้เกิดการเวนคืนที่ดิน การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าวนี้ได้เร่งรัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และ อพท. ทำความเข้าใจกับราษฎรโดยรีบด่วนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--