แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากรธรณี
จังหวัดพังงา
คณะรัฐมนตรี
ธรณีวิทยา
ดาวเทียม
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณีเสนอ
รายงานความก้าวหน้าการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ สรุปได้ดังนี้
1. ดินถล่มที่เกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงาจากการศึกษาข้อมูลวิเคราะห์ภาพดาวเทียมและได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการสำรวจในพื้นที่เบื้องต้น พบว่า บริเวณเกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีร่องรอยดินถล่มภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์มากกว่า 70 แห่ง และมีแนวโน้มจะเกิดการถล่มของชั้นดินและชั้นหินอีก ดังนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี จึงขอกำหนดพื้นที่เกาะระ ให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังภัยจากดินถล่ม และได้ขอความอนุเคราะห์จังหวัด ชะลอการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความลาดชันสูงเป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่ากรมทรัพยากรธรณีจะได้เขาไปตรวจสอบในรายละเอียด
2. รอยแยกและก๊าซผุดในชั้นดินใต้ท้องทะเล อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์บริเวณแนวคลองลาวนอน อ่าวอ่าง และเกาะหมู ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ไม่พบรอยเลื่อนในชั้นตะกอนใต้ทะเลแต่อย่างใด ก๊าซที่ผุดขึ้นมาพบว่าเป็นก๊าซมีเทนที่สามารถติดไฟได้ เกิดสะสมตัวอยู่ในชั้นโคลนป่าชายเลนเก่าซึ่งปิดทับด้วยชั้นทราย เมื่อคลื่นยักษ์พาตะกอนทรายออกไป ทำให้ก๊าซมีเทนที่ถูกปิดทับผุดขึ้นมา อย่างไรก็ตามกรมทรัพยากรธรณีได้เก็บตัวอย่างก๊าซ ดินและน้ำ เพื่อทำการวิเคราะห์หาแร่ธาตุที่อาจปะปนมาจากหินที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย ต่อไป
3. หลุมยุบและรอยร้าวในโรงเรียน
3.1 เหตุการณ์หลุมยุบ เกิดเหตุการณ์หลุมยุบในหลายจังหวัดทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับตั้งแต่วนที่ 26 ธันวาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 24 หลุม ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีได้ส่งเจ้าหน้าที่ประจำการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ในจังหวัดทางภาคใต้ จำนวน 10 คณะ เพื่อตรวจสอบหลุมยุบทันทีที่ได้รับการแจ้ง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาชนในเบื้องต้น เพื่อลดความกังวลของประชาชนที่เกรงกลัวต่อพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นใกล้ตัว
กรมทรัพยากรธรณีวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียมเพื่อกำหนดระดับพื้นที่ที่เสี่ยงภัยหลุมยุบในบริเวณที่เป็นหินปูนทั่วประเทศ พร้อมทั้งเผยแพร่คู่มือแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบและบัญชีรายชื่อจังหวัดที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั้งทางตรงและทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงวิธีดำเนินการที่ถูกต้องในการจัดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อป้องกันการขยายตัวของหลุมยุบรวมไปถึงการร่วมแก้ไขปัญหากรณีพบว่าหลุมยุบอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง
3.2 รอยร้าวที่โรงเรียนบ้านกาแนะอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารเรียนโรงเรียนกาแนะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูลที่ได้รับแจ้งว่าเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนวที่อาคารเรียน ผลการสำรวจพบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยู่ใต้อาคารในระดับความลึกประมาณ 18 เมตรจากผิวดิน โพรงใต้ดินดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคารเรียน กรมทรัพยากรธรณีจึงได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาระงับการใช้อาคารเรียนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมประกาศและกั้นเขตเป็นพื้นที่อันตราย
3.3 รอยร้าวในโรงเรียนบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารเรียนโรงเรียนบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ที่ได้รับแจ้งว่าเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนวที่อาคารเรียน พบว่ารอยแตกร้าวอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยูใต้อาคารในระดับความลึกประมาณ 18 เมตร กรมทรัพยากรธรณีจึงได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาระงับการใช้อาคารเรียนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมประกาศและกั้นเขตเป็นพื้นที่อันตราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
รายงานความก้าวหน้าการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ สรุปได้ดังนี้
1. ดินถล่มที่เกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงาจากการศึกษาข้อมูลวิเคราะห์ภาพดาวเทียมและได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการสำรวจในพื้นที่เบื้องต้น พบว่า บริเวณเกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีร่องรอยดินถล่มภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์มากกว่า 70 แห่ง และมีแนวโน้มจะเกิดการถล่มของชั้นดินและชั้นหินอีก ดังนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี จึงขอกำหนดพื้นที่เกาะระ ให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังภัยจากดินถล่ม และได้ขอความอนุเคราะห์จังหวัด ชะลอการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความลาดชันสูงเป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่ากรมทรัพยากรธรณีจะได้เขาไปตรวจสอบในรายละเอียด
2. รอยแยกและก๊าซผุดในชั้นดินใต้ท้องทะเล อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์บริเวณแนวคลองลาวนอน อ่าวอ่าง และเกาะหมู ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ไม่พบรอยเลื่อนในชั้นตะกอนใต้ทะเลแต่อย่างใด ก๊าซที่ผุดขึ้นมาพบว่าเป็นก๊าซมีเทนที่สามารถติดไฟได้ เกิดสะสมตัวอยู่ในชั้นโคลนป่าชายเลนเก่าซึ่งปิดทับด้วยชั้นทราย เมื่อคลื่นยักษ์พาตะกอนทรายออกไป ทำให้ก๊าซมีเทนที่ถูกปิดทับผุดขึ้นมา อย่างไรก็ตามกรมทรัพยากรธรณีได้เก็บตัวอย่างก๊าซ ดินและน้ำ เพื่อทำการวิเคราะห์หาแร่ธาตุที่อาจปะปนมาจากหินที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย ต่อไป
3. หลุมยุบและรอยร้าวในโรงเรียน
3.1 เหตุการณ์หลุมยุบ เกิดเหตุการณ์หลุมยุบในหลายจังหวัดทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับตั้งแต่วนที่ 26 ธันวาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 24 หลุม ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีได้ส่งเจ้าหน้าที่ประจำการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ในจังหวัดทางภาคใต้ จำนวน 10 คณะ เพื่อตรวจสอบหลุมยุบทันทีที่ได้รับการแจ้ง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาชนในเบื้องต้น เพื่อลดความกังวลของประชาชนที่เกรงกลัวต่อพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นใกล้ตัว
กรมทรัพยากรธรณีวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียมเพื่อกำหนดระดับพื้นที่ที่เสี่ยงภัยหลุมยุบในบริเวณที่เป็นหินปูนทั่วประเทศ พร้อมทั้งเผยแพร่คู่มือแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบและบัญชีรายชื่อจังหวัดที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั้งทางตรงและทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงวิธีดำเนินการที่ถูกต้องในการจัดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อป้องกันการขยายตัวของหลุมยุบรวมไปถึงการร่วมแก้ไขปัญหากรณีพบว่าหลุมยุบอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง
3.2 รอยร้าวที่โรงเรียนบ้านกาแนะอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารเรียนโรงเรียนกาแนะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูลที่ได้รับแจ้งว่าเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนวที่อาคารเรียน ผลการสำรวจพบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยู่ใต้อาคารในระดับความลึกประมาณ 18 เมตรจากผิวดิน โพรงใต้ดินดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคารเรียน กรมทรัพยากรธรณีจึงได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาระงับการใช้อาคารเรียนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมประกาศและกั้นเขตเป็นพื้นที่อันตราย
3.3 รอยร้าวในโรงเรียนบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารเรียนโรงเรียนบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ที่ได้รับแจ้งว่าเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนวที่อาคารเรียน พบว่ารอยแตกร้าวอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยูใต้อาคารในระดับความลึกประมาณ 18 เมตร กรมทรัพยากรธรณีจึงได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาระงับการใช้อาคารเรียนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมประกาศและกั้นเขตเป็นพื้นที่อันตราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--