คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและหลักเกณฑ์การจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้กำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบ ณ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 16.50 บาท ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบให้กำหนดราคากลางนมโรงเรียน ดังนี้
- นมพาสเจอร์ไรส์ ถุงละ 6.26 บาท - นม ยู.เอช.ที. ชนิดกล่อง กล่องละ 7.55 บาท ชนิดซอง กล่องละ 7.45 บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 เป็นต้นไป
3. เห็นชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือหน่วยจัดซื้อที่เกี่ยวข้องจัดซื้อนมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 ตาม แผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 เป็นนม ยู.เอช.ทีจากผู้ประกอบการจำนวน 5 ราย ได้แก่ องค์การส่ง เสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) สหกรณ์โคนมหนองโพ จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด บริษัท คันทรี เฟรช แดรี่ส์ จำกัด และบริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ จำกัด ซึ่งรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2552 เป็นต้นมา
สำหรับการจัดซื้อนมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน ที่คณะอนุกรรมการจัดระบบโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนกำหนด
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 ได้พิจารณาการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและราคากลางนมโรงเรียน และหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียนแล้วมีมติ ดังนี้
1.1 การกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและราคากลางนมโรงเรียน
1.1.1 รับทราบต้นทุนน้ำนมดิบตามที่คณะอนุกรรมการจัดระบบราคาน้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตรเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบเสนอ โดยต้นทุนเฉลี่ยทุกขนาดฟาร์ม 12.85 บาท/กิโลกรัม (ต้นทุนของฟาร์มขนาดเล็ก 13.43 บาท/กิโลกรัม ขนาดกลาง 12.33 บาท/กิโลกรัม และขนาดใหญ่ 10.99 บาท/กิโลกรัม)
1.1.2 เห็นชอบให้กำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและราคากลางนมโรงเรียนตามที่คณะอนุกรรมการจัดระบบราคาน้ำนมโคและ ผลิตภัณฑ์นมเสนอ ดังนี้
1) กำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบ ณ หน้าโรงงาน กิโลกรัมละ 16.50 บาท จากต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ 12.85 บาท/ กิโลกรัม บวกกำไรเบื้องต้นของเกษตรกร 2.50 บาท/กิโลกรัม และค่าบริหารจัดการศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 1.15 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
2) กำหนดราคากลางนมโรงเรียนเท่ากับที่เคยเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 เนื่องจากราคารับซื้อ น้ำนมดิบเท่าเดิม คือ นมพาสเจอร์ไรส์ 6.26 บาท/ถุง นม ยู.เอช.ที. กล่อง 7.55 บาท/กล่อง นม ยู.เอช.ที. ซอง 7.45 บาท/ซอง
รายการราคา ราคาเดิม ราคาใหม่ เพิ่มขึ้น (ลดลง) 1. น้ำนมดิบ ณ หน้าโรงงาน (บาท/กิโลกรัม) 18.00 16.50 (1.50) 2. นมโรงเรียน (ราคากลาง) 2.1 นมพาสเจอร์ไรส์ (บาท/ถุง) 6.57 6.26 (0.31) 2.2 นม ยู.เอช.ที. ชนิดกล่อง (บาท/กล่อง) 7.86 7.55 (0.31) ชนิดซอง (บาท/ซอง) 7.76 7.45 (0.31)
ทั้งนี้ ให้ราคากลางนมโรงเรียนดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 เป็นต้นไป
1.2 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน
1.2.1 รับทราบหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน และรายชื่อผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เสริม (นม) โรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 ตามแผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 ซึ่งให้ อปท.หรือ หน่วยจัดซื้อที่เกี่ยวข้องจัดซื้อนม ยู.เอช.ที. จากผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ที่รับผิดชอบการแก้ปัญหานมดิบล้นตลาด ได้แก่ อ.ส.ค. สหกรณ์โคนมหนอง โพ จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ สหกรณ์โคนม วังน้ำเย็น จำกัด บริษัท คันทรี เฟรช แดรี่ส์ จำกัด และบริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ จำกัด ตามมติ คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 ซึ่งเห็นชอบและมอบให้กรมปศุสัตว์และ อ.ส.ค.แจ้งผู้เกี่ยวข้อง
1.2.2 รับทราบข้อสังเกตและปัญหาที่ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ความเห็นว่า
1) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 มิได้เห็นชอบแนวทางแก้ปัญหานมทั้งระบบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) เสนอ ในประเด็นที่ให้ อปท.จัดซื้อนม ยู.เอช.ที. ตามแผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 จาก อ.ส.ค. และผู้ประกอบการที่รับผิดชอบการแก้ปัญหานมดิบล้นตลาดเท่านั้น
2) การกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการ จำนวน 5 ราย เพื่อจำหน่ายอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 อาจจะขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดซื้อนมโรงเรียน โดยให้มีการแข่งขัน ราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.3 ให้ อ.ส.ค.ในฐานะฝ่ายเลขานุการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ อปท. หรือหน่วยจัดซื้อที่เกี่ยวข้องจัดซื้อนม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 จากผู้ประกอบการตามบัญชีรายชื่อที่ อ.ส.ค.ในฐานะหน่วยงานหลักร่วมกับผู้ประกอบการอื่น ๆ รับซื้อน้ำ นมดิบล้นตลาดจากเกษตรกรไปบรรจุเป็นนม ยู.เอช.ที. เพื่อจำหน่ายในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 ตามแผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2552 ตามแนวทางแก้ปัญหานมทั้งระบบที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
สำหรับการจัดซื้อนมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการจัดซื้ออาหาร เสริม (นม) ที่คณะอนุกรรมการจัดระบบโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนกำหนด
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเห็นประกอบการพิจารณา ดังนี้
2.1 กำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและราคากลางนมโรงเรียน ตามที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเสนอนั้น เป็นไปตามกลไก ตลาดและต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่เกษตรกรด้วยแล้ว
2.2 การกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 ตามแผนการดื่มนมตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 เป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหานมดิบล้นตลาดตามข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 โดย อ.ส.ค. ร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ จะรับผิดชอบรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดที่ไม่มีผู้รับซื้อ จำนวนวันละ 288 ตัน ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552
ซึ่ง อ.ส.ค.และผู้ประกอบการอื่น ๆ อีก 4 ราย ได้แก่ สหกรณ์โคนมหนองโพ จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ สหกรณ์โคนมวัง น้ำเย็น จำกัด บริษัท คันทรี เฟรช แดรี่ส์ จำกัด และบริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ จำกัด ได้ดำเนินการรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดที่ไม่มีผู้รับซื้อดังกล่าว มาแล้วตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2552 ดังนั้น หากผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ไม่สามารถจำหน่ายนม ยู.เอช.ที. ที่มาจากการรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดที่ผ่าน มาได้จะส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ปฏิเสธการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรได้ จึงเห็นเป็นการสมควรแล้วที่คณะรัฐมนตรีจะเห็นชอบให้ อปท. หรือหน่วยจัดซื้อที่เกี่ยวข้องจัดซื้อนม ยู.เอช.ที. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6 ตามแผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวัน ที่ 30 กันยายน 2552 จากผู้ประกอบการทั้ง 5 รายดังกล่าวข้างต้น
สำหรับการจัดซื้อนมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดซื้ออาหาร เสริม (นม) ที่คณะอนุกรรมการจัดระบบโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนกำหนด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 --จบ--