คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแนวทางการออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวได้แล้วเสร็จจนสามารถออกเอกสารสิทธิให้กับราษฎรได้ ดังนี้
1. ขั้นตอนในการดำเนินการ
1.1 ทำแผนที่ของทุกส่วนราชการให้เป็นมาตราส่วนเดียวกัน (1 : 4000)
1.2 ปรับปรุงแนวเขตที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นเส้นแนวเขตเดียว
1.3 ตรวจสอบแนวเขตในภูมิประเทศจริง (Ground Check)
1.4 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่ท้ายกฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ให้ตรงกับเส้นแนวเขตที่กำหนดขึ้นใหม่
1.5 ดำเนินการออกเอกสารสิทธิประเภทต่าง ๆ ตามกฎหมายนั้น
1.6 การมอบเอกสารสิทธิ
2. แนวทางการออกเอกสารสิทธิให้ประชาชน มีข้อพิจารณาและการจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้
2.1 พื้นที่ที่ไม่มีความขัดแย้งเรื่องแนวเขตหรือแก้ไขข้อขัดแย้งจบสิ้นแล้วให้พิจารณาออกเอกสารสิทธิได้ ส่วนที่มีปัญหาเรื่องแนวเขตให้คณะอนุกรรมการระดับอำเภอพิจารณาปรับปรุงแนวเขตร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.2 พิจารณาการออกเอกสารสิทธิให้กับราษฎรที่จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนในประเภทปัญหาเรื่องที่ดินทำกินเป็นลำดับแรกโดยเฉพาะผู้ไม่มีที่ดินทำกิน
2.3 การจัดพื้นที่ให้ราษฎรต้องคำนึงถึง
2.3.1 อาชีพของราษฎรผู้นั้นที่ทำกินในปัจจุบันและประสบการณ์การประกอบอาชีพ
2.3.2 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นกำลังการผลิต
2.3.3 สถานที่ตั้งของที่ดินตามลักษณะภูมิประเทศ
2.4 เจ้าของที่ดินที่ครอบครองที่ดินไว้จำนวนมากแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่จะต้องให้มีการเจรจาเพื่อให้ราษฎรอื่นเช่าใช้ประโยชน์
2.5 กรณีที่ดินเป็นเขตป่าต้นน้ำ พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมเพื่อลดผลกระทบและแก้ปัญหาให้มีข้อยุติ แล้วจึงพิจารณาออกเอกสารสิทธิให้ราษฎร
2.6 หากการครอบครองที่ดินประกอบด้วยส่วนที่ถูกกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิก็ให้เจรจาในส่วนที่ไม่ถูกต้องคืนกับรัฐ และออกเอกสารสิทธิในส่วนที่ถูกต้องภายหลังการพิสูจน์สิทธิแล้ว
2.7 รูปแบบเอกสารสิทธิ ในอนาคตข้างหน้าอาจจะใช้ชื่อเดียวกันแต่มีรายละเอียดของการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว
3. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทุกส่วนราชการต้องให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกประสานงานหากมีส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่มีหน้าที่โดยตรง
3.2 คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหา กรณีระดับพื้นที่หาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำเขตการใช้ที่ดินเพื่อเป็นแนวทางการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการแจกเอกสารสิทธิ
3.4 แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
3.4.1 ระดับชาติ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
3.4.2 ระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการโดยมีรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำกับดูแลให้เกิดผลสัมฤทธิ์
3.4.3 ระดับอำเภอ นายอำเภอเป็นประธานคณะทำงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
1. ขั้นตอนในการดำเนินการ
1.1 ทำแผนที่ของทุกส่วนราชการให้เป็นมาตราส่วนเดียวกัน (1 : 4000)
1.2 ปรับปรุงแนวเขตที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้เป็นเส้นแนวเขตเดียว
1.3 ตรวจสอบแนวเขตในภูมิประเทศจริง (Ground Check)
1.4 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่ท้ายกฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ให้ตรงกับเส้นแนวเขตที่กำหนดขึ้นใหม่
1.5 ดำเนินการออกเอกสารสิทธิประเภทต่าง ๆ ตามกฎหมายนั้น
1.6 การมอบเอกสารสิทธิ
2. แนวทางการออกเอกสารสิทธิให้ประชาชน มีข้อพิจารณาและการจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้
2.1 พื้นที่ที่ไม่มีความขัดแย้งเรื่องแนวเขตหรือแก้ไขข้อขัดแย้งจบสิ้นแล้วให้พิจารณาออกเอกสารสิทธิได้ ส่วนที่มีปัญหาเรื่องแนวเขตให้คณะอนุกรรมการระดับอำเภอพิจารณาปรับปรุงแนวเขตร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.2 พิจารณาการออกเอกสารสิทธิให้กับราษฎรที่จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนในประเภทปัญหาเรื่องที่ดินทำกินเป็นลำดับแรกโดยเฉพาะผู้ไม่มีที่ดินทำกิน
2.3 การจัดพื้นที่ให้ราษฎรต้องคำนึงถึง
2.3.1 อาชีพของราษฎรผู้นั้นที่ทำกินในปัจจุบันและประสบการณ์การประกอบอาชีพ
2.3.2 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นกำลังการผลิต
2.3.3 สถานที่ตั้งของที่ดินตามลักษณะภูมิประเทศ
2.4 เจ้าของที่ดินที่ครอบครองที่ดินไว้จำนวนมากแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่จะต้องให้มีการเจรจาเพื่อให้ราษฎรอื่นเช่าใช้ประโยชน์
2.5 กรณีที่ดินเป็นเขตป่าต้นน้ำ พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมเพื่อลดผลกระทบและแก้ปัญหาให้มีข้อยุติ แล้วจึงพิจารณาออกเอกสารสิทธิให้ราษฎร
2.6 หากการครอบครองที่ดินประกอบด้วยส่วนที่ถูกกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิก็ให้เจรจาในส่วนที่ไม่ถูกต้องคืนกับรัฐ และออกเอกสารสิทธิในส่วนที่ถูกต้องภายหลังการพิสูจน์สิทธิแล้ว
2.7 รูปแบบเอกสารสิทธิ ในอนาคตข้างหน้าอาจจะใช้ชื่อเดียวกันแต่มีรายละเอียดของการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว
3. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทุกส่วนราชการต้องให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกประสานงานหากมีส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่มีหน้าที่โดยตรง
3.2 คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหา กรณีระดับพื้นที่หาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำเขตการใช้ที่ดินเพื่อเป็นแนวทางการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการแจกเอกสารสิทธิ
3.4 แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
3.4.1 ระดับชาติ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
3.4.2 ระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการโดยมีรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำกับดูแลให้เกิดผลสัมฤทธิ์
3.4.3 ระดับอำเภอ นายอำเภอเป็นประธานคณะทำงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--