คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยสรุปความเสียหายจากอุทกภัยโคลนถล่มภาคเหนือ การให้ความช่วยเหลือ และให้ตั้งคณะกรรมการโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยยึดหลักการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิ กรณีมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ซึ่งนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ตามที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง จากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ 21—23 พฤษภาคม 2549 ทำให้มีฝนตกหนักมากบริเวณเทือกเขารอยต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดวัดได้ 330 มม. ที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มในพื้นที่อำเภอลับแล ท่าปลา และอำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมีผู้เสียชีวิตพบศพแล้ว 77 คน และสูญหายอีก 39 คน บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์พื้นที่การเกษตรและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนสถานที่ราชการได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกหน่วยงานได้ระดมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว นั้น กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือกับจังหวัดที่ประสบภัยและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยทหารและอื่นๆเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จึงขอสรุปสถานการณ์และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย รวม 5 จังหวัด
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 25 อำเภอ 1 กิ่งฯ 160 ตำบล 1,046 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน โดยมีพื้นที่ประสบภัยรุนแรงวิกฤตใน 3 จังหวัด 5 อำเภอ คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ (อ.ลับแล ท่าปลา และอ.เมืองฯ) สุโขทัย (อ.ศรีสัชนาลัย) และแพร่ ( อ.เมืองฯ)
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 77 คน (จังหวัดอุตรดิตถ์ 66 คน จังหวัดสุโขทัย 6 คน และจังหวัดแพร่ 5 คน) สูญหาย 39 คน (จังหวัดอุตรดิตถ์ 37 คน และจังหวัดสุโขทัย 2 คน) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 269,597 คน 76,747 ครัวเรือน อพยพ 11,428 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 555 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 430 หลัง จ.แพร่ 99 หลัง จ.สุโขทัย 25 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,009 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 2,646 หลัง จ.สุโขทัย 44 หลัง จ.แพร่ 314 หลัง และ จ.น่าน 5 หลัง)
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 562 สาย สะพาน 91 แห่ง ฝาย 48 แห่ง พื้นที่การเกษตร 359,778 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 73 แห่ง พนังกั้นน้ำ 12 แห่ง บ่อปลา 1,188 บ่อ ปศุสัตว์ 17,337 ตัว สัตว์ปีก 151,570 ตัว
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่ได้รับรายงาน 256,805,000 บาท (ไม่รวมความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และน่าน ระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ได้ระดมเครื่องจักรกลซ่อมแซมเส้นทางเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ประสบภัยแล้ว
2.2 จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย ส่งเครื่องจักรกลซ่อมแซมเส้นทางในพื้นที่ตำบลบ้านตึก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่การเกษตรของ 4 อำเภอ (อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองและ อ.กงไกรลาศ) เนื่องจากน้ำยมเอ่อล้นตลิ่ง
3. การแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต 7 วันแรก (วันที่ 22-28 พ.ค. 2549)
3.1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานี พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2549 โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะ น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจากเวบไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมงและสภาพน้ำท่าจากเวบไซต์กรมชลประทานทุกระยะ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดและอำเภอ/กิ่งอำเภอที่กำหนด
3.2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทยขึ้นที่ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ (ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2549) เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานการช่วยเหลือกับ 5 จังหวัดที่ประสบภัย โดยมีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ หน่วยงานและมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆร่วมปฏิบัติงาน
3.3) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้จ่ายเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย ค่าจัดการศพ การส่งเครื่องจักรกลเข้าเปิดเส้นทาง และซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหาย สำหรับพื้นที่การเกษตร และปศุสัตว์ บ่อปลาที่เสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจและจะได้ให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
3.4) เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยได้แบ่งมอบภารกิจในการแก้ไขปัญหาฟื้นฟูบูรณะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รับผิดชอบจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) รับผิดชอบจังหวัดสุโขทัยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้มีหน้าที่ในการอำนวยการประสานงานเร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
2) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รับผิดชอบจังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง
3.5)อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง จัดส่งเจ้าหน้าที่ 352 คน เรือท้องแบน 75 ลำ อุปกรณ์กู้ภัย เครื่องจักรกล ชุดซ่อมสร้างทาง รวม 126 คัน และเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม เสื้อผ้า ผ้าห่ม ฯลฯ ไปช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2549 จนถึงปัจจุบัน และขอยกเว้นระเบียบเงินทดรองราชการให้หน่วยทหารเบิกจ่ายเงินทดรองราชการจากจังหวัดที่เข้าไปปฏิบัติงานได้
3.6) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สั่งการให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล ในภาคเหนือส่งเครื่องจักรกลไปช่วยเหลือจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ เพื่อฟื้นฟูบูรณะเปิดเส้นทางคมนาคมและเก็บรื้อเศษไม้และขยะในพื้นที่
3.7) สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดรถสื่อสารผ่านดาวเทียมไปติดตั้งระบบสื่อสารและระบบประชุม VDO CONFERENCE กับจังหวัดที่ประสบภัย ณ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
3.8) สนธิกำลังจากหน่วยทหาร (กองทัพภาคที่ 3 จทบ.อต. หน่วยทหารพัฒนา ฯลฯ) ตชด. กรมป้องกันฯ หน่วยงานอื่นๆ กำลังพล 5,938 คน เครื่องจักรกล 666 คัน และอากาศยานเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด
3.9) ภารกิจเร่งด่วนช่วง 7 วันแรก (วันที่ 22-28 พ.ค. 2549) ของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย (ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์)
1) การค้นหาผู้สูญหาย
(1) จังหวัดอุตรดิตถ์ คงเหลือ 37 ราย
(2) จังหวัดสุโขทัย คงเหลือ 2 ราย
รวมผู้สูญหาย คงเหลือ 39 ราย กำหนดแล้วเสร็จ 29 พฤษภาคม 2549
2) ซ่อมแซมเปิดเส้นทางในพื้นที่วิกฤติ 3 จังหวัด 5 อำเภอ 9 จุด ได้แก่
(1) จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 อำเภอ
- อำเภอเมืองฯ 2 จุด ได้แก่ บ้านด่านนาขาม บ้านแม่เฉย
- อำเภอลับแล 2 จุด ได้แก่ บ้านผามูบ บ้านมหาราช
- อำเภอท่าปลา 2 จุด ได้แก่ บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำรี
(2) จังหวัดแพร่ 1 อำเภอ
- อำเภอเมืองฯ 2 จุด ได้แก่ บ้านช่อแฮ บ้านป่าแดง
(3) จังหวัดสุโขทัย 1 อำเภอ
- อำเภอศรีสัชนาลัย 1 จุด ได้แก่ บ้านตึก
กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
3) ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า/ประปา/โทรศัพท์
(1) ระบบไฟฟ้า
- จังหวัดอุตรดิตถ์ ( อ.เมืองฯ ท่าปลา และลับแล) แล้วเสร็จจ่ายไฟได้แล้ว 98 % คงเหลือ 2 จุด ที่อำเภอท่าปลา ได้แก่ บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำรี กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 28 พฤษภาคม 2549
- จังหวัดแพร่ (อ.เมืองฯ) คงเหลือติดตั้งหม้อแปลง 5 จุด รอเปิดเส้นทางถนนช่อแฮ-ป่าแดง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
(2) ระบบประปา
- ระบบประปาภูมิภาค จ่ายน้ำแล้ว
- ระบบประปาหมู่บ้าน อยู่ระหว่างซ่อมแซม กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พ.ค. 2549
(3) ระบบโทรศัพท์
- อยู่ระหว่างดำเนินการ กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
4) การรับ-จ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม
- ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ค่ายพระยาพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นศูนย์รับ-จ่ายสิ่งของบริจาคกลางในพื้นที่เพื่อกระจายการช่วยเหลือให้ทั่วถึง
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจจังหวัดและอำเภอ ใน 5 จังหวัด (ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง)
5) การซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรและที่อยู่อาศัยชั่วคราว
- จัดชุดทหารและนักเรียนอาชีวะเป็นชุดซ่อมแซม
- จังหวัดร่วมกับกรมป้องกันฯ และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ จัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว (บ้านชั่วคราว) ให้แก่ผู้ประสบภัยบ้านเสียหาย กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 15 มิถุนายน 2549
6) การดูแลรักษาพยาบาลและควบคุมโรค
- กระทรวงสาธารณสุข จัดชุดแพทย์เคลื่อนที่เข้าดูแลผู้ประสบภัยในพื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
7) การรื้อเศษซากปรักหักพัง
- แบ่งมอบพื้นที่และภารกิจให้หน่วยงานที่มีเครื่องจักรกล ทหาร กรมป้องกันฯ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ตชด. ท้องถิ่น ฯลฯ กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 9 มิถุนายน 2549
8) สำรวจความเสียหายและจ่ายเงินช่วยเหลือ
- กรมป้องกันฯ ร่วมกับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น สำรวจความเสียหาย
- จ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ช่วยเหลือเบื้องต้น กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 2 มิ.ย. 2549
4. สิ่งของพระราชทาน
4.1 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำสิ่งของพระราชทานถุงยังชีพ ประกอบด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องครัว ข้าวสำเร็จรูป ฯลฯ มอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดแพร่
4.2 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้นำสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด มอบให้กับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ ค่ายพิชัยดาบหัก เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอลับแล และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
4.3 วันที่ 28 พ.ค. 2549 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎร ที่ประสบภัยที่วัดบ้านใน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองฯ วัดมงคลถาวร อำเภอสูงเม่น และวัดห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และประทานถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย และวันที่ 29 พ.ค. 2549 เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
4.4 เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ได้นำสิ่งของพระราชทานของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ มอบให้ผู้ประสบภัยที่อำเภอลับแล เมือง และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สนับสนุนรถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน รถประกอบอาหาร 1 คัน
4.5 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานทรัพย์ทุนการกุศลสมเด็จย่า ทุนการกุศล ก.ว. และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย น่าน และลำปาง
5. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยงานต่างๆ
5.1 กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ ขนย้ายผู้ป่วยจากอำเภอลับแล อำเภอท่าปลาไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
5.2 กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3 จทบ.อต. และหน่วยกำลังในพื้นที่ จัดกำลังพล 807 นาย รถบรรทุก 55 คัน เรือท้องแบน 80 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 4 เครื่อง ถุงยังชีพ 10,300 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
5.3 กองทัพเรือ จัดเรือท้องแบน กำลังพล 100 นาย จำนวน 16 ลำ รถบรรทุก 8 คัน ถุงยังชีพ 2,000 ชุด น้ำดื่ม 10,000 ขวด
5.4 กองทัพอากาศ จัดเฮลิคอปเตอร์ จากกองบิน 2 ลพบุรี จำนวน 2 เครื่อง
5.5 หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กองกำกับการ ตชด. 6 กองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายรามคำแหง 80 นายกองร้อยอาสารักษาดินแดน 150 นาย อปพร. และภาคเอกชนเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
5.6 กองทัพอากาศของประเทศสิงคโปร์ สนับสนุนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ชินุก 3 ลำ มาปฏิบัติงานช่วยเหลือ
6. การตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
6.1) วันที่ 24 พ.ค. 2549 เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังเขตเทศบาลตำบลหัวดง บ้านห้วยใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อตรวจเยี่ยม มอบเงินค่าจัดการศพ และถุงยังชีพ แก่ผู้ประสบภัย และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จ ภายใน 2-3 วัน พร้อมทั้งให้ทางกองทัพบก และกองทัพอากาศ นำเครื่องจักรกลและเฮลิคอปเตอร์เข้าไปช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน
6.2) วันที่ 25 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่ จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ วัดบ้านเฉย และเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้มาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
6.3) วันที่ 25 พ.ค.2549 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการนี้ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ค่ายพิชัยดาบหัก เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน ดังนี้
1) ให้จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งศูนย์อำนวยการฯ ในระดับพื้นที่ 3 จุด และกำหนดผู้รับผิดชอบดังนี้
- อ.ลับแล มอบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสุขสันต์ วนะภูติ)
- อ.ท่าปลา มอบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายจักรินทร์ เปลี่ยนวงษ์)
- อ.เมืองฯ มอบปลัดจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา)
2) การปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการฯ 3 ศูนย์ เน้นในเรื่องระบบฐานข้อมูลความเสียหายการให้ความช่วยเหลือ การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารจัดการระบบการรับ-จ่ายสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ทั่วถึง
3) ให้มีการประชุมศูนย์ระดับจังหวัด และอำเภอ วันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าเวลา 08.00 - 09.00 น. เพื่อมอบภารกิจ ช่วงเย็นเวลา 18.00 - 19.00 น. เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรค
4) แบ่งมอบภารกิจให้ศูนย์อำนวยการฯ ของจังหวัดและอำเภอ เป็น 14 ฝ่าย และกำหนดเจ้าภาพรับผิดชอบให้ชัดเจนได้แก่ ฝ่ายค้นหาผู้สูญหาย การจัดหาอาหารและน้ำดื่ม การจัดที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า-ประปา-โทรศัพท์ รับ-แจกจ่ายสิ่งของบริจาค ประสานงานและปฏิบัติการวางระบบสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ อำนวยการ รักษาพยาบาล ติดตามประเมินผลและรับเรื่องราวร้องทุกข์ และฝ่ายฟื้นฟูและทำความสะอาด โดยมีเจ้าภาพรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปติดตามผลการซ่อมแซมระบบสายส่งไฟฟ้า ในพื้นที่บ้านนานกกก อำเภอลับแล และเยี่ยมเยียนราษฎรที่อพยพ ณ วัดนานกกก ซึ่งสหภาพแรงงาน กฟภ. เขตพิษณุโลก ได้ดูแลช่วยเหลือประกอบเลี้ยงอาหารแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ดังกล่าว
6.4) วันที่ 26 พ.ค.2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปบ้านน้ำต๊ะ อ.ท่าปลา เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล เปิดเส้นทางเข้าพื้นที่บ้านน้ำต๊ะ-บ้านน้ำรี ค้นหาผู้สูญหาย และการซ่อมแซมระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
6.5) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่ จังหวัดแพร่ พร้อมได้สั่งการให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะการค้นหาผู้สูญหายและการเปิดเส้นทางในจุดวิกฤติ
6.6) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดฟื้นฟูบูรณะ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ณ ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
6.7) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดฟื้นฟูบูรณะ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดค้นหาผู้สูญหาย เปิดเส้นทางในจุดวิกฤต และให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเร่งรัดซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่ชำรุดสูญหาย ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประมาณการเบื้องต้นค่าเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด (อุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย) รวม 17,292,848 บาท
6.8) วันที่ 27 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และ ที่ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาผู้ที่สูญหาย และเร่งเปิดเส้นทางในจุดวิกฤติ
6.9) วันที่ 28 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ฯ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) แม่ทัพภาคที่ 3 แม่ทัพน้อยที่ 3 ผบ.หน่วยทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมผ่านระบบ VDO Conference ไปยังจังหวัดที่ประสบอุทกภัยและโคลนถล่ม และมอบนโยบายและข้อสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้จังหวัดจัดคาราวานแก้จน เข้าไปดูแลในหมู่บ้านที่ประสบภัยวิกฤติ เพื่อลงไปดูแลช่วยเหลือประชาชนและจัดงบประมาณลงไปช่วยเหลือ
(2) เศษซากต้นไม้ที่ไหลหลากลงมาเป็นจำนวนมาก ให้หน่วยงานที่มีเครื่องจักรกลระดมเข้าไปรื้อออกและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ ออป.จัดรถบรรทุกส่งเข้าโรงงานที่จังหวัดสระบุรี
(3) การจัดที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับราษฎรที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ซึ่งบางจุดต้องอพยพออกมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมีความลาดชันไม่เกิน 30 องศา ทั้งนี้ มีมูลนิธิ/ภาคเอกชน จะช่วยเหลือสร้างบ้านถาวรแก่ราษฎรที่บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังทั้งหมด สำหรับการจ่ายเงินค่าชดเชยบ้านเสียหายทั้งหลังให้จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นเงินทุนประกอบอาชีพต่อไป
(4) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบฯที่มีข้อมูลชัดเจนแล้ว ให้จ่ายทันที เช่น ค่าจัดการศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องครัว เป็นต้น โดยดำเนินการให้เสร็จภายในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2549 สำหรับที่ต้องรอสำรวจข้อมูลให้ชัดเจนก่อน เช่น พืชสวน ปศุสัตว์ ให้จ่ายภายหลัง
(5) ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ) ดูแลเพิ่มเงินกองทุน SML ให้แก่หมู่บ้านที่ประสบภัยได้รับความเสียหายรุนแรงเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
(6) ให้กองทัพกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการประสานงานและกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างใกล้ชิดการดูแลเด็กกำพร้าและนักเรียน ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการดูแลช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
(8) ให้กองทัพเรือจัดชุดค้นหาทางน้ำ (นักประดาน้ำ) ค้นหาศพในอ่างเก็บน้ำที่คาดว่ามีศพของผู้สูญหายอยู่
(9) ให้กองทัพอากาศสนับสนุนเฮลิปคอปเตอร์ขนาดเล็ก นำส่งเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพในพื้นที่บ้านน้ำรี หรือจุดอื่นที่ห่างไกลจนกว่าการเปิดเส้นทางแล้วเสร็จ
(10) มอบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) สรุปรายงานความเสียหายและขออนุมัติหลักการวงเงินงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 นี้
และในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมราษฎร ที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
ตามที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง จากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ 21—23 พฤษภาคม 2549 ทำให้มีฝนตกหนักมากบริเวณเทือกเขารอยต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดวัดได้ 330 มม. ที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มในพื้นที่อำเภอลับแล ท่าปลา และอำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมีผู้เสียชีวิตพบศพแล้ว 77 คน และสูญหายอีก 39 คน บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์พื้นที่การเกษตรและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนสถานที่ราชการได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกหน่วยงานได้ระดมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว นั้น กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือกับจังหวัดที่ประสบภัยและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยทหารและอื่นๆเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จึงขอสรุปสถานการณ์และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย รวม 5 จังหวัด
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 25 อำเภอ 1 กิ่งฯ 160 ตำบล 1,046 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน โดยมีพื้นที่ประสบภัยรุนแรงวิกฤตใน 3 จังหวัด 5 อำเภอ คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ (อ.ลับแล ท่าปลา และอ.เมืองฯ) สุโขทัย (อ.ศรีสัชนาลัย) และแพร่ ( อ.เมืองฯ)
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 77 คน (จังหวัดอุตรดิตถ์ 66 คน จังหวัดสุโขทัย 6 คน และจังหวัดแพร่ 5 คน) สูญหาย 39 คน (จังหวัดอุตรดิตถ์ 37 คน และจังหวัดสุโขทัย 2 คน) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 269,597 คน 76,747 ครัวเรือน อพยพ 11,428 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 555 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 430 หลัง จ.แพร่ 99 หลัง จ.สุโขทัย 25 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,009 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 2,646 หลัง จ.สุโขทัย 44 หลัง จ.แพร่ 314 หลัง และ จ.น่าน 5 หลัง)
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 562 สาย สะพาน 91 แห่ง ฝาย 48 แห่ง พื้นที่การเกษตร 359,778 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 73 แห่ง พนังกั้นน้ำ 12 แห่ง บ่อปลา 1,188 บ่อ ปศุสัตว์ 17,337 ตัว สัตว์ปีก 151,570 ตัว
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่ได้รับรายงาน 256,805,000 บาท (ไม่รวมความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และน่าน ระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ได้ระดมเครื่องจักรกลซ่อมแซมเส้นทางเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ประสบภัยแล้ว
2.2 จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย ส่งเครื่องจักรกลซ่อมแซมเส้นทางในพื้นที่ตำบลบ้านตึก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่การเกษตรของ 4 อำเภอ (อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองและ อ.กงไกรลาศ) เนื่องจากน้ำยมเอ่อล้นตลิ่ง
3. การแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต 7 วันแรก (วันที่ 22-28 พ.ค. 2549)
3.1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานี พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2549 โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะ น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจากเวบไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมงและสภาพน้ำท่าจากเวบไซต์กรมชลประทานทุกระยะ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดและอำเภอ/กิ่งอำเภอที่กำหนด
3.2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทยขึ้นที่ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ (ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2549) เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานการช่วยเหลือกับ 5 จังหวัดที่ประสบภัย โดยมีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ หน่วยงานและมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆร่วมปฏิบัติงาน
3.3) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้จ่ายเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย ค่าจัดการศพ การส่งเครื่องจักรกลเข้าเปิดเส้นทาง และซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหาย สำหรับพื้นที่การเกษตร และปศุสัตว์ บ่อปลาที่เสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจและจะได้ให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
3.4) เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยได้แบ่งมอบภารกิจในการแก้ไขปัญหาฟื้นฟูบูรณะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รับผิดชอบจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) รับผิดชอบจังหวัดสุโขทัยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้มีหน้าที่ในการอำนวยการประสานงานเร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
2) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รับผิดชอบจังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง
3.5)อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง จัดส่งเจ้าหน้าที่ 352 คน เรือท้องแบน 75 ลำ อุปกรณ์กู้ภัย เครื่องจักรกล ชุดซ่อมสร้างทาง รวม 126 คัน และเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม เสื้อผ้า ผ้าห่ม ฯลฯ ไปช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2549 จนถึงปัจจุบัน และขอยกเว้นระเบียบเงินทดรองราชการให้หน่วยทหารเบิกจ่ายเงินทดรองราชการจากจังหวัดที่เข้าไปปฏิบัติงานได้
3.6) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สั่งการให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล ในภาคเหนือส่งเครื่องจักรกลไปช่วยเหลือจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ เพื่อฟื้นฟูบูรณะเปิดเส้นทางคมนาคมและเก็บรื้อเศษไม้และขยะในพื้นที่
3.7) สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดรถสื่อสารผ่านดาวเทียมไปติดตั้งระบบสื่อสารและระบบประชุม VDO CONFERENCE กับจังหวัดที่ประสบภัย ณ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
3.8) สนธิกำลังจากหน่วยทหาร (กองทัพภาคที่ 3 จทบ.อต. หน่วยทหารพัฒนา ฯลฯ) ตชด. กรมป้องกันฯ หน่วยงานอื่นๆ กำลังพล 5,938 คน เครื่องจักรกล 666 คัน และอากาศยานเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด
3.9) ภารกิจเร่งด่วนช่วง 7 วันแรก (วันที่ 22-28 พ.ค. 2549) ของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย (ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์)
1) การค้นหาผู้สูญหาย
(1) จังหวัดอุตรดิตถ์ คงเหลือ 37 ราย
(2) จังหวัดสุโขทัย คงเหลือ 2 ราย
รวมผู้สูญหาย คงเหลือ 39 ราย กำหนดแล้วเสร็จ 29 พฤษภาคม 2549
2) ซ่อมแซมเปิดเส้นทางในพื้นที่วิกฤติ 3 จังหวัด 5 อำเภอ 9 จุด ได้แก่
(1) จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 อำเภอ
- อำเภอเมืองฯ 2 จุด ได้แก่ บ้านด่านนาขาม บ้านแม่เฉย
- อำเภอลับแล 2 จุด ได้แก่ บ้านผามูบ บ้านมหาราช
- อำเภอท่าปลา 2 จุด ได้แก่ บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำรี
(2) จังหวัดแพร่ 1 อำเภอ
- อำเภอเมืองฯ 2 จุด ได้แก่ บ้านช่อแฮ บ้านป่าแดง
(3) จังหวัดสุโขทัย 1 อำเภอ
- อำเภอศรีสัชนาลัย 1 จุด ได้แก่ บ้านตึก
กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
3) ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า/ประปา/โทรศัพท์
(1) ระบบไฟฟ้า
- จังหวัดอุตรดิตถ์ ( อ.เมืองฯ ท่าปลา และลับแล) แล้วเสร็จจ่ายไฟได้แล้ว 98 % คงเหลือ 2 จุด ที่อำเภอท่าปลา ได้แก่ บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำรี กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 28 พฤษภาคม 2549
- จังหวัดแพร่ (อ.เมืองฯ) คงเหลือติดตั้งหม้อแปลง 5 จุด รอเปิดเส้นทางถนนช่อแฮ-ป่าแดง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
(2) ระบบประปา
- ระบบประปาภูมิภาค จ่ายน้ำแล้ว
- ระบบประปาหมู่บ้าน อยู่ระหว่างซ่อมแซม กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พ.ค. 2549
(3) ระบบโทรศัพท์
- อยู่ระหว่างดำเนินการ กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 30 พฤษภาคม 2549
4) การรับ-จ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม
- ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ค่ายพระยาพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นศูนย์รับ-จ่ายสิ่งของบริจาคกลางในพื้นที่เพื่อกระจายการช่วยเหลือให้ทั่วถึง
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจจังหวัดและอำเภอ ใน 5 จังหวัด (ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง)
5) การซ่อมแซมบ้านเรือนราษฎรและที่อยู่อาศัยชั่วคราว
- จัดชุดทหารและนักเรียนอาชีวะเป็นชุดซ่อมแซม
- จังหวัดร่วมกับกรมป้องกันฯ และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ จัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว (บ้านชั่วคราว) ให้แก่ผู้ประสบภัยบ้านเสียหาย กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 15 มิถุนายน 2549
6) การดูแลรักษาพยาบาลและควบคุมโรค
- กระทรวงสาธารณสุข จัดชุดแพทย์เคลื่อนที่เข้าดูแลผู้ประสบภัยในพื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
7) การรื้อเศษซากปรักหักพัง
- แบ่งมอบพื้นที่และภารกิจให้หน่วยงานที่มีเครื่องจักรกล ทหาร กรมป้องกันฯ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ตชด. ท้องถิ่น ฯลฯ กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 9 มิถุนายน 2549
8) สำรวจความเสียหายและจ่ายเงินช่วยเหลือ
- กรมป้องกันฯ ร่วมกับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น สำรวจความเสียหาย
- จ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ช่วยเหลือเบื้องต้น กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 2 มิ.ย. 2549
4. สิ่งของพระราชทาน
4.1 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำสิ่งของพระราชทานถุงยังชีพ ประกอบด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องครัว ข้าวสำเร็จรูป ฯลฯ มอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดแพร่
4.2 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้นำสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด มอบให้กับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ ค่ายพิชัยดาบหัก เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอลับแล และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
4.3 วันที่ 28 พ.ค. 2549 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎร ที่ประสบภัยที่วัดบ้านใน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองฯ วัดมงคลถาวร อำเภอสูงเม่น และวัดห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และประทานถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย และวันที่ 29 พ.ค. 2549 เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
4.4 เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ได้นำสิ่งของพระราชทานของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ มอบให้ผู้ประสบภัยที่อำเภอลับแล เมือง และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สนับสนุนรถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน รถประกอบอาหาร 1 คัน
4.5 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานทรัพย์ทุนการกุศลสมเด็จย่า ทุนการกุศล ก.ว. และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย น่าน และลำปาง
5. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยงานต่างๆ
5.1 กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ ขนย้ายผู้ป่วยจากอำเภอลับแล อำเภอท่าปลาไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
5.2 กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 3 จทบ.อต. และหน่วยกำลังในพื้นที่ จัดกำลังพล 807 นาย รถบรรทุก 55 คัน เรือท้องแบน 80 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 4 เครื่อง ถุงยังชีพ 10,300 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
5.3 กองทัพเรือ จัดเรือท้องแบน กำลังพล 100 นาย จำนวน 16 ลำ รถบรรทุก 8 คัน ถุงยังชีพ 2,000 ชุด น้ำดื่ม 10,000 ขวด
5.4 กองทัพอากาศ จัดเฮลิคอปเตอร์ จากกองบิน 2 ลพบุรี จำนวน 2 เครื่อง
5.5 หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กองกำกับการ ตชด. 6 กองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายรามคำแหง 80 นายกองร้อยอาสารักษาดินแดน 150 นาย อปพร. และภาคเอกชนเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
5.6 กองทัพอากาศของประเทศสิงคโปร์ สนับสนุนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ชินุก 3 ลำ มาปฏิบัติงานช่วยเหลือ
6. การตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
6.1) วันที่ 24 พ.ค. 2549 เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังเขตเทศบาลตำบลหัวดง บ้านห้วยใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อตรวจเยี่ยม มอบเงินค่าจัดการศพ และถุงยังชีพ แก่ผู้ประสบภัย และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จ ภายใน 2-3 วัน พร้อมทั้งให้ทางกองทัพบก และกองทัพอากาศ นำเครื่องจักรกลและเฮลิคอปเตอร์เข้าไปช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน
6.2) วันที่ 25 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่ จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ วัดบ้านเฉย และเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้มาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
6.3) วันที่ 25 พ.ค.2549 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการนี้ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ค่ายพิชัยดาบหัก เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน ดังนี้
1) ให้จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งศูนย์อำนวยการฯ ในระดับพื้นที่ 3 จุด และกำหนดผู้รับผิดชอบดังนี้
- อ.ลับแล มอบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสุขสันต์ วนะภูติ)
- อ.ท่าปลา มอบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายจักรินทร์ เปลี่ยนวงษ์)
- อ.เมืองฯ มอบปลัดจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา)
2) การปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการฯ 3 ศูนย์ เน้นในเรื่องระบบฐานข้อมูลความเสียหายการให้ความช่วยเหลือ การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารจัดการระบบการรับ-จ่ายสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ทั่วถึง
3) ให้มีการประชุมศูนย์ระดับจังหวัด และอำเภอ วันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าเวลา 08.00 - 09.00 น. เพื่อมอบภารกิจ ช่วงเย็นเวลา 18.00 - 19.00 น. เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรค
4) แบ่งมอบภารกิจให้ศูนย์อำนวยการฯ ของจังหวัดและอำเภอ เป็น 14 ฝ่าย และกำหนดเจ้าภาพรับผิดชอบให้ชัดเจนได้แก่ ฝ่ายค้นหาผู้สูญหาย การจัดหาอาหารและน้ำดื่ม การจัดที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า-ประปา-โทรศัพท์ รับ-แจกจ่ายสิ่งของบริจาค ประสานงานและปฏิบัติการวางระบบสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ อำนวยการ รักษาพยาบาล ติดตามประเมินผลและรับเรื่องราวร้องทุกข์ และฝ่ายฟื้นฟูและทำความสะอาด โดยมีเจ้าภาพรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปติดตามผลการซ่อมแซมระบบสายส่งไฟฟ้า ในพื้นที่บ้านนานกกก อำเภอลับแล และเยี่ยมเยียนราษฎรที่อพยพ ณ วัดนานกกก ซึ่งสหภาพแรงงาน กฟภ. เขตพิษณุโลก ได้ดูแลช่วยเหลือประกอบเลี้ยงอาหารแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ดังกล่าว
6.4) วันที่ 26 พ.ค.2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปบ้านน้ำต๊ะ อ.ท่าปลา เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล เปิดเส้นทางเข้าพื้นที่บ้านน้ำต๊ะ-บ้านน้ำรี ค้นหาผู้สูญหาย และการซ่อมแซมระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
6.5) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่ จังหวัดแพร่ พร้อมได้สั่งการให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะการค้นหาผู้สูญหายและการเปิดเส้นทางในจุดวิกฤติ
6.6) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดฟื้นฟูบูรณะ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ณ ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
6.7) วันที่ 27 พ.ค. 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดฟื้นฟูบูรณะ แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดค้นหาผู้สูญหาย เปิดเส้นทางในจุดวิกฤต และให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเร่งรัดซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่ชำรุดสูญหาย ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประมาณการเบื้องต้นค่าเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด (อุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย) รวม 17,292,848 บาท
6.8) วันที่ 27 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และ ที่ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาผู้ที่สูญหาย และเร่งเปิดเส้นทางในจุดวิกฤติ
6.9) วันที่ 28 พ.ค. 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมตรวจติดตามการปฏิบัติงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ฯ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) แม่ทัพภาคที่ 3 แม่ทัพน้อยที่ 3 ผบ.หน่วยทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมผ่านระบบ VDO Conference ไปยังจังหวัดที่ประสบอุทกภัยและโคลนถล่ม และมอบนโยบายและข้อสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้จังหวัดจัดคาราวานแก้จน เข้าไปดูแลในหมู่บ้านที่ประสบภัยวิกฤติ เพื่อลงไปดูแลช่วยเหลือประชาชนและจัดงบประมาณลงไปช่วยเหลือ
(2) เศษซากต้นไม้ที่ไหลหลากลงมาเป็นจำนวนมาก ให้หน่วยงานที่มีเครื่องจักรกลระดมเข้าไปรื้อออกและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ ออป.จัดรถบรรทุกส่งเข้าโรงงานที่จังหวัดสระบุรี
(3) การจัดที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับราษฎรที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ซึ่งบางจุดต้องอพยพออกมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมีความลาดชันไม่เกิน 30 องศา ทั้งนี้ มีมูลนิธิ/ภาคเอกชน จะช่วยเหลือสร้างบ้านถาวรแก่ราษฎรที่บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังทั้งหมด สำหรับการจ่ายเงินค่าชดเชยบ้านเสียหายทั้งหลังให้จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นเงินทุนประกอบอาชีพต่อไป
(4) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบฯที่มีข้อมูลชัดเจนแล้ว ให้จ่ายทันที เช่น ค่าจัดการศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องครัว เป็นต้น โดยดำเนินการให้เสร็จภายในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2549 สำหรับที่ต้องรอสำรวจข้อมูลให้ชัดเจนก่อน เช่น พืชสวน ปศุสัตว์ ให้จ่ายภายหลัง
(5) ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ) ดูแลเพิ่มเงินกองทุน SML ให้แก่หมู่บ้านที่ประสบภัยได้รับความเสียหายรุนแรงเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
(6) ให้กองทัพกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการประสานงานและกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างใกล้ชิดการดูแลเด็กกำพร้าและนักเรียน ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการดูแลช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
(8) ให้กองทัพเรือจัดชุดค้นหาทางน้ำ (นักประดาน้ำ) ค้นหาศพในอ่างเก็บน้ำที่คาดว่ามีศพของผู้สูญหายอยู่
(9) ให้กองทัพอากาศสนับสนุนเฮลิปคอปเตอร์ขนาดเล็ก นำส่งเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพในพื้นที่บ้านน้ำรี หรือจุดอื่นที่ห่างไกลจนกว่าการเปิดเส้นทางแล้วเสร็จ
(10) มอบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) สรุปรายงานความเสียหายและขออนุมัติหลักการวงเงินงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 นี้
และในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมราษฎร ที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--