คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลูกจ้างตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ส่งสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตอบข้อหารือสำนักงานประกันสังคมว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนั้น พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ด้วย
ซึ่งการที่พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมดังกล่าว ทำให้เกิดภาระเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารงาน ซึ่งแต่เดิมมีการจัดสวัสดิการสงเคราะห์ให้แก่พนักงานและลูกจ้างโดยมิได้มีการหักเงินของพนักงานและลูกจ้างไว้ ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 บัญญัติให้คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วย สวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่พนักงานและลูกจ้าง ซึ่งปัจจุบันสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ให้แก่พนักงานและลูกจ้างไม่น้อยกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมดังกล่าว โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลูกจ้างตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตอบข้อหารือสำนักงานประกันสังคมว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนั้น พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ด้วย
ซึ่งการที่พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมดังกล่าว ทำให้เกิดภาระเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารงาน ซึ่งแต่เดิมมีการจัดสวัสดิการสงเคราะห์ให้แก่พนักงานและลูกจ้างโดยมิได้มีการหักเงินของพนักงานและลูกจ้างไว้ ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 บัญญัติให้คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วย สวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่พนักงานและลูกจ้าง ซึ่งปัจจุบันสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ให้แก่พนักงานและลูกจ้างไม่น้อยกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมดังกล่าว โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลูกจ้างตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--