เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดกลาง
สินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดกลางสินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ และตลาดกลางสินค้าเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ณ บริเวณหนองฮ่อ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แบบบูรณาการ ด้านประโยชน์ใช้สอย และงบประมาณ ในวงเงิน 1,900,959,000 บาท สำหรับการบริหารจัดการมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพที่รับผิดชอบในการวางแผนการบริหารจัดการ (Business Plan) และมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับ ดูแล การประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดกลางสินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ถูกต้องและโปร่งใส และให้นำผลการประกวดราคาเสนอคณะรัฐมนตรีทราบด้วย สำหรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ดังกล่าวให้ติดตามดูแลให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นั้น
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานว่า การดำเนินการเรื่องนี้มีส่วนที่ต้องดำเนินการสองส่วนคือ ด้านการออกแบบ อยู่ในความรับผิดชอบของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และด้านการวางรูปแบบการบริหารจัดการ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โดยทั้งสองหน่วยงานได้วางแผนร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั้งด้านการออกแบบและการวางแผนด้านธุรกิจ สำหรับการออกแบบนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รายงานว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2549 จากนั้นจะเป็นการดำเนินการประกวดราคาตามระเบียบต่อไป สำหรับระยะเวลาก่อสร้างนั้นจะใช้เวลาประมาณ 15 เดือน โดยการก่อสร้างศูนย์การประชุมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2550
สำหรับการดำเนินการในส่วนที่สองคือ การจัดทำแผนการบริหารจัดการ (Business Plan) ที่มอบให้สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เป็นผู้ดำเนินการนั้น ขณะนี้สำนักงานฯ กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวคิดเบื้องต้นในการบริหารจัดการศูนย์ประชุมฯ เพื่อให้ศูนย์การประชุมเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จด้านการตลาดและส่งเสริมอุตสาหกรรม ไมซ์ (MICE) ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปรูปแบบของการบริหารศูนย์ประชุมนั้น จะมีหลายแนวทางอาทิเช่น รัฐดำเนินการเองทั้งหมด รัฐขายสิทธิในการบริหารให้แก่ภาคเอกชน เช่น ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือรัฐว่าจ้างเอกชนมาบริหาร หรือ รัฐร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งแนวทางที่กล่าวไปนั้นต่างก็มีจุดดีจุดด้อยต่างกัน อีกทั้งในขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียได้มีการก่อสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการเพิ่มขึ้นหลายแห่ง เช่น มาเลเซีย อินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประชุมฯ แห่งนี้เป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้สั่งการให้มีการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ประชุมอย่างละเอียด โดยอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและต่างประเทศ และคาดว่าจะสามารถสรุปข้อเสนอแนะรูปแบบการบริหารจัดการได้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 หลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
สินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดกลางสินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ และตลาดกลางสินค้าเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ณ บริเวณหนองฮ่อ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แบบบูรณาการ ด้านประโยชน์ใช้สอย และงบประมาณ ในวงเงิน 1,900,959,000 บาท สำหรับการบริหารจัดการมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพที่รับผิดชอบในการวางแผนการบริหารจัดการ (Business Plan) และมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับ ดูแล การประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดกลางสินค้าเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ถูกต้องและโปร่งใส และให้นำผลการประกวดราคาเสนอคณะรัฐมนตรีทราบด้วย สำหรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ดังกล่าวให้ติดตามดูแลให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นั้น
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานว่า การดำเนินการเรื่องนี้มีส่วนที่ต้องดำเนินการสองส่วนคือ ด้านการออกแบบ อยู่ในความรับผิดชอบของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และด้านการวางรูปแบบการบริหารจัดการ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โดยทั้งสองหน่วยงานได้วางแผนร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั้งด้านการออกแบบและการวางแผนด้านธุรกิจ สำหรับการออกแบบนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รายงานว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2549 จากนั้นจะเป็นการดำเนินการประกวดราคาตามระเบียบต่อไป สำหรับระยะเวลาก่อสร้างนั้นจะใช้เวลาประมาณ 15 เดือน โดยการก่อสร้างศูนย์การประชุมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2550
สำหรับการดำเนินการในส่วนที่สองคือ การจัดทำแผนการบริหารจัดการ (Business Plan) ที่มอบให้สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เป็นผู้ดำเนินการนั้น ขณะนี้สำนักงานฯ กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวคิดเบื้องต้นในการบริหารจัดการศูนย์ประชุมฯ เพื่อให้ศูนย์การประชุมเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จด้านการตลาดและส่งเสริมอุตสาหกรรม ไมซ์ (MICE) ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปรูปแบบของการบริหารศูนย์ประชุมนั้น จะมีหลายแนวทางอาทิเช่น รัฐดำเนินการเองทั้งหมด รัฐขายสิทธิในการบริหารให้แก่ภาคเอกชน เช่น ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือรัฐว่าจ้างเอกชนมาบริหาร หรือ รัฐร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งแนวทางที่กล่าวไปนั้นต่างก็มีจุดดีจุดด้อยต่างกัน อีกทั้งในขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียได้มีการก่อสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการเพิ่มขึ้นหลายแห่ง เช่น มาเลเซีย อินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประชุมฯ แห่งนี้เป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้สั่งการให้มีการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ประชุมอย่างละเอียด โดยอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและต่างประเทศ และคาดว่าจะสามารถสรุปข้อเสนอแนะรูปแบบการบริหารจัดการได้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 หลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--