คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอให้ยกเลิก ชะลอ หรือยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการค้าแบบแลกเปลี่ยน พ.ศ. 2549 สำหรับการจัดหาสิ่งอุปกรณ์ของกองทัพไทย
กระทรวงกลาโหม รายงานว่า
1. ตามที่ได้มีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการค้าแบบแลกเปลี่ยน พ.ศ. 2549 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดมานั้น มีผลกระทบและเกิดข้อขัดข้องต่อการดำเนินการกรณีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ยุทโธปกรณ์ทางทหารเป็นการจัดซื้อที่มีความเร่งด่วน ซึ่งรายการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศมักเป็นรายการเฉพาะ การนำการค้าแบบแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรกรรมมาใช้กับการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารจาก ต่างประเทศอาจไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลได้ เนื่องจากผู้ขายไม่ประสงค์จะดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยน
1.2 ความต้องการที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยที่ประเทศที่เป็นคู่ค้า หรือประเทศผู้ผลิตที่ขายไม่สนใจสินค้าเกษตรของไทย และเห็นว่าการดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยนมีความยุ่งยาก ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะมีการผลักดันให้ใช้สินค้าเกษตรและการบริการในการชำระค่าอุปกรณ์แทนการใช้เงินสดก็ตาม จึงทำให้กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพไทยไม่สามารถซื้อยุทโธปกรณ์ที่ต้องการได้ ประกอบกับสินค้าเกษตรมีน้อยประเภทที่จะเสนอในการแลกเปลี่ยนกับคู่สัญญา ทำให้เป็นข้อจำกัดในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
1.3 หลักเกณฑ์ในการดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยน ไม่ได้กำหนดวงเงินของพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศไว้ว่าจะมีมูลค่าเท่าใด ในกรณีที่สินค้ามีราคาไม่สูงหากต้องดำนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยนก็จะไม่คุ้มค่าในการดำเนินการและจะไม่มีผู้ใดมาเสนอขายสินค้า นอกจากนี้กรรมวิธีในการปฏิบัติในการดำเนินการค่อนข้างสลับซับซ้อนและใช้เวลามาก
1.4 ความชัดเจนในความหมายของคำว่า “โครงการ” ตามที่ระบุในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฯ ดังกล่าว ยังมีความหมายแตกต่างกัน ในส่วนของกองทัพบก “โครงการ” หมายถึง งานที่วงเงิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้น จึงทำให้การจัดซื้อจากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฯ ดังกล่าวทุกโครงการ
1.5 กองทัพไทยไม่สามารถควบคุมระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนการทำสัญญาระหว่างผู้ขายหรือบริษัทผู้แทนดำเนินการกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการดำเนินการและความสำเร็จของโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ ซึ่งต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด หากต้องใช้การจัดซื้อโดยการแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรจะต้องใช้เวลาดำเนินการนาน การเจรจาต่อรองกับคู่สัญญาก็จะเสียเปรียบ ทำให้ผู้ขายคิดค่าบริการต่าง ๆ รวมไว้ในราคาพัสดุ มีผลทำให้ราคาสูงกว่าปกติ
1.6 กรณีการจัดหาอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุง จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้จากบริษัทผู้ผลิตยุทโธปกรณ์เฉพาะราย และหากว่าบริษัทไม่ยอมรับเงื่อนไขการค้าแบบแลกเปลี่ยนก็จะทำให้กองทัพไทยไม่สามารถจัดหาอะไหล่ได้
1.7 การจัดหายุทโธปกรณ์ ถ้ากำหนดกลุ่มสินค้าในการทำการค้าแบบแลกเปลี่ยนมาเป็นตัวตั้งแล้ว อาจมีผลต่อคุณภาพยุทโธปกรณ์ที่ไม่ตรงตามความต้องการและวงเงินในการจัดหา
2. กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดหายุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ของกองทัพไทย จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
กระทรวงกลาโหม รายงานว่า
1. ตามที่ได้มีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการค้าแบบแลกเปลี่ยน พ.ศ. 2549 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดมานั้น มีผลกระทบและเกิดข้อขัดข้องต่อการดำเนินการกรณีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ยุทโธปกรณ์ทางทหารเป็นการจัดซื้อที่มีความเร่งด่วน ซึ่งรายการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศมักเป็นรายการเฉพาะ การนำการค้าแบบแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรกรรมมาใช้กับการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารจาก ต่างประเทศอาจไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลได้ เนื่องจากผู้ขายไม่ประสงค์จะดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยน
1.2 ความต้องการที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยที่ประเทศที่เป็นคู่ค้า หรือประเทศผู้ผลิตที่ขายไม่สนใจสินค้าเกษตรของไทย และเห็นว่าการดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยนมีความยุ่งยาก ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะมีการผลักดันให้ใช้สินค้าเกษตรและการบริการในการชำระค่าอุปกรณ์แทนการใช้เงินสดก็ตาม จึงทำให้กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพไทยไม่สามารถซื้อยุทโธปกรณ์ที่ต้องการได้ ประกอบกับสินค้าเกษตรมีน้อยประเภทที่จะเสนอในการแลกเปลี่ยนกับคู่สัญญา ทำให้เป็นข้อจำกัดในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
1.3 หลักเกณฑ์ในการดำเนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยน ไม่ได้กำหนดวงเงินของพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศไว้ว่าจะมีมูลค่าเท่าใด ในกรณีที่สินค้ามีราคาไม่สูงหากต้องดำนินการการค้าแบบแลกเปลี่ยนก็จะไม่คุ้มค่าในการดำเนินการและจะไม่มีผู้ใดมาเสนอขายสินค้า นอกจากนี้กรรมวิธีในการปฏิบัติในการดำเนินการค่อนข้างสลับซับซ้อนและใช้เวลามาก
1.4 ความชัดเจนในความหมายของคำว่า “โครงการ” ตามที่ระบุในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฯ ดังกล่าว ยังมีความหมายแตกต่างกัน ในส่วนของกองทัพบก “โครงการ” หมายถึง งานที่วงเงิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้น จึงทำให้การจัดซื้อจากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฯ ดังกล่าวทุกโครงการ
1.5 กองทัพไทยไม่สามารถควบคุมระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนการทำสัญญาระหว่างผู้ขายหรือบริษัทผู้แทนดำเนินการกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการดำเนินการและความสำเร็จของโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ ซึ่งต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด หากต้องใช้การจัดซื้อโดยการแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรจะต้องใช้เวลาดำเนินการนาน การเจรจาต่อรองกับคู่สัญญาก็จะเสียเปรียบ ทำให้ผู้ขายคิดค่าบริการต่าง ๆ รวมไว้ในราคาพัสดุ มีผลทำให้ราคาสูงกว่าปกติ
1.6 กรณีการจัดหาอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุง จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้จากบริษัทผู้ผลิตยุทโธปกรณ์เฉพาะราย และหากว่าบริษัทไม่ยอมรับเงื่อนไขการค้าแบบแลกเปลี่ยนก็จะทำให้กองทัพไทยไม่สามารถจัดหาอะไหล่ได้
1.7 การจัดหายุทโธปกรณ์ ถ้ากำหนดกลุ่มสินค้าในการทำการค้าแบบแลกเปลี่ยนมาเป็นตัวตั้งแล้ว อาจมีผลต่อคุณภาพยุทโธปกรณ์ที่ไม่ตรงตามความต้องการและวงเงินในการจัดหา
2. กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดหายุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ของกองทัพไทย จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--