แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 27, 2009 15:06 —มติคณะรัฐมนตรี

1. การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเสนอ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานว่า

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สช.) มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้ง (พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2508 และพ.ศ. 2550 ตามลำดับ) ในการจัดทำสำมะโนต่างๆ โดยได้ดำเนินการจัดทำสำมะโนประชากรครั้งแรกปี พ.ศ. 2503 ต่อมาได้จัดทำทุก 10 ปี โดยนับแต่ ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ได้จัดทำสำมะโนเคหะไปพร้อมกับการทำสำมะโนประชากร และในปี พ.ศ. 2553 นี้ จะเป็นการทำสำมะโนประชากรครั้ง ที่ 11 ของประเทศไทย

2. การจัดทำโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน ลักษณะของ ประชากร และลักษณะที่อยู่อาศัยของประชากรทุกคนในประเทศตามที่อยู่จริง ซึ่งเป็นข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย (อบต. หมู่บ้าน เทศบาล) เพื่อสนองความ ต้องการของผู้ใช้ข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหาร การวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่าง เหมาะสมทั้งในระดับประเทศ ระดับพื้นที่ย่อย และเพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานในการคาดประมาณจำนวนประชากรในอนาคต

3. โครงการสำมะโนประชากรและเคหะเป็นโครงการขนาดใหญ่ครอบคลุมประชากรในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ (ประมาณ 65 ล้านคน จาก 20 ล้านครัวเรือน) มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2554 โดยใช้งบประมาณทั้งโครงการประมาณ 1,040 ล้านบาท โดยปี พ. ศ. 2551 สช. ได้รับงบประมาณ จำนวน 21.6 ล้านบาท ในการวางแผนเตรียมงานและการทำสำมะโนประชากรและเคหะทดลอง พ.ศ. 2551 โดยเลือกบางพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ. 2552 สช. ได้รับงบประมาณจำนวน 30.5 ล้านบาท ในการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะล่วง หน้า พ.ศ. 2552 โดยเลือกเขตหลักสี่ แขวงตลาดบางเขน ในการปฏิบัติงานดังกล่าว และปี พ.ศ. 2553-2554 สช. ได้ประมาณการงบประมาณ เป็นจำนวน 988.2 ล้านบาท เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทุกจังหวัดในปี พ.ศ. 2553 และเสนอรายงานผลเบื้องต้นรายจังหวัด รายภาคและทั่วราช อาณาจักรในปี พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลล่วงหน้าและรายงานผลฉบับสมบูรณ์รายจังหวัด รายภาค และทั่วราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2554

4. สช. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 กับ 8 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อร่วมมือและระดมทรัพยากรและองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันพัฒนาระบบอย่างบูรณาการ

5. สช. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การจัดทำโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ข้อมูล ที่มีคุณภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ และมีการบูรณาการทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยงาน ได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการบริหารโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก หน่วยงานต่างๆ จำนวน 30 คน เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการดังกล่าว

องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ

องค์ประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่ง ชาติ คนที่ 1 รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ คนที่ 2 รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ คนที่ 3 ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้ แทนบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้อำนวย การสำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้อำนวยสำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนัก งานสถิติแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ นักวิชาการสถิติเชี่ยวชาญ สำนักงานสถิติแห่งชาติ นักวิชาการสถิติ เชี่ยวชาญ สำนักงานสถิติแห่งชาติ นักวิชาการสถิติเชี่ยวชาญ สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสำนักสถิติเศรษฐกิจสังคมและประชามติ 2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสถิติประชากร สำนักสถิติเศรษฐกิจ สังคมและประชามติ 2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ นักวิชาการสถิติชำนาญการ สำนักสถิติเศรษฐกิจสังคมและประชามติ 2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ นัก วิชาการสถิติชำนาญการ สำนักสถิติเศรษฐกิจสังคมและประชามติ 2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่

ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

1. พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553

2. ให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับการดำเนินงานตามโครงการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด

3. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น

4. พิจารณาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ

2. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้ง นายวีระ ชูรุจิพร นายแพทย์ 9 วช. (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) กลุ่มงานการแพทย์ กลุ่มบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิตให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ 10 วช. (ด้านเวชกรรม สาขา เวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิตชุมชน) กลุ่มงานการแพทย์ กลุ่มบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณ สุข ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

3. ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งนายมาร์ติน ชาลส์ ริชาร์ด คาร์เพนเตอร์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์สหราชอาณาจักรประจำจังหวัดภูเก็ต

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ในการแต่งตั้งนายมาร์ติน ชาลส์ ริชาร์ด คาร์เพนเตอร์ ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์สหราชอาณาจักรประจำจังหวัดภูเก็ต

4. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของกระทรวงยุติธรรมและส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรม

คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของกระทรวงยุติธรรมสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่กระทรวง ยุติธรรมเสนอ

กระทรวงยุติธรรมแจ้งว่า ได้พิจารณาแต่งตั้ง ปคร. ของกระทรวงยุติธรรม และ ปคร. ของส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชา ซึ่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานอัยการสูงสุด สรุปได้ดังนี้

ที่        กระทรวง/ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี         รายนาม ปคร.
1        กระทรวงยุติธรรม                                       นายวิศิษฏ์  วิศิษฏ์สรอรรถ

รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

2        สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด            นายชาติชาย สุทธิกลม

ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด

3        สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ     นายธาริต เพ็งดิษฐ์

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

4        สำนักงานอัยการสูงสุด                                    นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์

รองอธิบดีอัยการฝ่ายการยุติการดำเนินคดีแพ่ง

และอนุญาโตตุลาการช่วยราชการสำนักงาน

นโยบายยุทธศาสตร์และงบประมาณ ปฏิบัติราชการ

ในหน้าที่อัยการพิเศษฝ่ายงบประมาณ

ในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้ นายอรรณพ ลิขิตจิตถะ รองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของสำนักงานไปพลางก่อนเนื่องจากยังไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรง ตำแหน่งเลขาธิการ ทั้งนี้ ผู้ที่มีคุณสมบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย ปคร. พ.ศ. 2551 ข้อ 5 ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ปคร.ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คือ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการเท่านั้น

5. การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอดังนี้

1. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยมีองค์ประกอบ อำนาจ หน้าที่ และค่าใช้จ่าย ดังนี้

องค์ประกอบ นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นายพิสิฐ ลี้ อาธรรม นายอัชพร จารุจินดา นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ นายดุสิต นนทะนาคร ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบ ประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) รองอธิบดี กรมบัญชีกลาง (นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนงบประมาณ สำนักงบประมาณ (นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย) เป็นผู้ช่วย เลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1) ติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้สามารถดำเนินการ ได้ตามกำหนดระยะเวลา และสามารถกระจายเม็ดเงินออกสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเป็นประจำ ทุกเดือน

2) ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการของส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอนุมัติงบ ประมาณภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เพื่อให้โครงการสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งบประมาณได้อย่างประหยัดและ คุ้มค่า

3) ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2

4) เชิญหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุมัติโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาให้ ข้อมูลและชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ

5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

ค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่ม เติม และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. เห็นชอบให้ทบทวนอำนาจหน้าที่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ในส่วนการกำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนิน โครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 แทน

6. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอแต่งตั้งนายจุมพล รอดคำดี เป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิจากภาคเอกชนด้านการสื่อสารมวลชนในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนนายมานิจ สุขสมจิตร ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

7. แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 1 ราย คือ พลเอก สุภาษิต วรศาสตร์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ได้รับแต่งตั้งลาออกจากตำแหน่งอื่นๆ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามได้ดำเนินการให้เรียบร้อย

8. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายซาตา อาแวกือจิ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการ เมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

9. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอให้ ย้าย นายสำราญ รักชาติ อธิบดี (นักบริหาร ระดับ สูง) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

10. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้

1. นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นัก บริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2. นายเฉลิมพร พิรุณสาร รองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาระดับสูง) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

3. นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการ (นักบริหาระดับสูง) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรม ตรวจบัญชีสหกรณ์

4. นายศุภชัย บานพับทอง อธิบดี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

11. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี จำนวน 9 ราย ตามความในมาตรา 5(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิช ยนาวี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบวาระสองปี โดยมีรายชื่อดังนี้

1. นายสุเมธ ตันธุวนิตย์

2. นายเชาวลิต เมธยะประภาส

3. นายเสถียร วงศ์วิเชียร

4. นายภูมินทร์ หะรินสุต

5. นาวาเอก ชุมพล พรหมประสิทธิ์

6. ศาสตราจารย์ ดร. ไผทชิต เอกจริยกร

7. นางคมคาย ธูสรานนท์

8. นายสุวิทย์ รัตนจินดา

9. ศาสตราจารย์ ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

12. ขอความเห็นชอบแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การสวนยาง

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายชูชาติ ตันอังสนากุล เป็นผู้อำนวยการองค์การสวนยาง โดย ให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 124,700 บาท และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ลงนาม ในสัญญาจ้างเป็นต้นไป

13. ขออนุมัติเพิ่มจำนวนกรรมการในคณะกรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มจำนวนกรรมการในคณะกรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จากเดิม 11 คน เป็น 15 คน ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ เพื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก บุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ครบตามจำนวนต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ