คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งที่ 3/2548 ตามที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบร่างประกาศจำนวน 2 ฉบับดังนี้
1.1 ประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลาออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน
1.2 ประกาศเรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยังมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
2. รับทราบร่างประกาศเรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
สำหรับผลการประชุมคระกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 3/2548 สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกข้อกำหนด คำสั่ง ระเบียบ เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดขึ้น ที่สำคัญได้แก่ 1) การมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เป็นหน่วยงานพิเศษในการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนด 3) การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษา และ 4) การออกประกาศตามมาตรา 11 ตามพระราชกำหนด รวมทั้งออกคู่มือการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และระเบียบกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมทั้งข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดได้อย่างถูกต้อง
2. ขอบเขตการใช้อำนาจและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
2.1 ขอบเขตการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังและใช้อำนาจตามที่ได้รับมาเท่าที่จำเป็น บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนและการมีระบบในการตรวจสอบการใช้อำนาจมิให้เกินส่วน ที่สำคัญได้แก่ 1) การออกคำสั่งในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสาร 3) การออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจค้น 4) การออกคำสั่งกำหนดสถานที่ควบคุมบุคคลตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
2.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายหลังการนำข้อกำหนด คำสั่ง ระเบียบ ที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาใช้บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ฝ่ายราชการมีแนวโน้มที่จะสามารถเข้าไปกำกับ ดูแล และแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น และเจ้าหน้าที่สามารถใช้กลไกของภาครัฐในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาได้จากผลการปฏิบัติงานที่มีกลุ่มบุคคลเป้าหมายถูกจับกุมและเข้าสู่กระบวนการเสริมสร้างสันติสุข มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากกลุ่มบุคคลที่หลงผิด มีรายงานผลการจับกุมการตรวจค้นได้สิ่งของที่เป็นสิ่งผิดกฎหมายจำนวนมาก รวมทั้งประชาชนในพื้นที่เริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นในการบังคับใช้พระราชกำหนด และเริ่มให้ความร่วมมือกับฝ่ายราชการในการแก้ไขปัญหา อันเป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์จากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แม้ที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงสถานการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้สร้าง สถานการณ์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของภาครัฐในการให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏได้อย่างชัดเจนว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้มีการวางแผน เตรียมการ และมีการสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของกลุ่มผู้ก่อการที่ยังคงก่อเหตุการณ์ให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และเนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการทำความเข้าใจในการใช้มาตรการตามพระราช-กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ และการเริ่มใช้บังคับกฎหมายกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่อไป จากปัจจัยดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้จะต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการดำรงความต่อเนื่องให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบร่างประกาศจำนวน 2 ฉบับดังนี้
1.1 ประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลาออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน
1.2 ประกาศเรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยังมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
2. รับทราบร่างประกาศเรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
สำหรับผลการประชุมคระกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 3/2548 สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกข้อกำหนด คำสั่ง ระเบียบ เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดขึ้น ที่สำคัญได้แก่ 1) การมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เป็นหน่วยงานพิเศษในการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนด 3) การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษา และ 4) การออกประกาศตามมาตรา 11 ตามพระราชกำหนด รวมทั้งออกคู่มือการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และระเบียบกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมทั้งข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดได้อย่างถูกต้อง
2. ขอบเขตการใช้อำนาจและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
2.1 ขอบเขตการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังและใช้อำนาจตามที่ได้รับมาเท่าที่จำเป็น บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนและการมีระบบในการตรวจสอบการใช้อำนาจมิให้เกินส่วน ที่สำคัญได้แก่ 1) การออกคำสั่งในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสาร 3) การออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจค้น 4) การออกคำสั่งกำหนดสถานที่ควบคุมบุคคลตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
2.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายหลังการนำข้อกำหนด คำสั่ง ระเบียบ ที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาใช้บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ฝ่ายราชการมีแนวโน้มที่จะสามารถเข้าไปกำกับ ดูแล และแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น และเจ้าหน้าที่สามารถใช้กลไกของภาครัฐในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาได้จากผลการปฏิบัติงานที่มีกลุ่มบุคคลเป้าหมายถูกจับกุมและเข้าสู่กระบวนการเสริมสร้างสันติสุข มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากกลุ่มบุคคลที่หลงผิด มีรายงานผลการจับกุมการตรวจค้นได้สิ่งของที่เป็นสิ่งผิดกฎหมายจำนวนมาก รวมทั้งประชาชนในพื้นที่เริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นในการบังคับใช้พระราชกำหนด และเริ่มให้ความร่วมมือกับฝ่ายราชการในการแก้ไขปัญหา อันเป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์จากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แม้ที่ผ่านมาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงสถานการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้สร้าง สถานการณ์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของภาครัฐในการให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏได้อย่างชัดเจนว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้มีการวางแผน เตรียมการ และมีการสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของกลุ่มผู้ก่อการที่ยังคงก่อเหตุการณ์ให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และเนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการทำความเข้าใจในการใช้มาตรการตามพระราช-กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ และการเริ่มใช้บังคับกฎหมายกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่อไป จากปัจจัยดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้จะต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการดำรงความต่อเนื่องให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--