คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสัดส่วนร้อยละ 35 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และมอบหมายให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับแนวทางดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการต่อไป และให้รับข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณเสนอแนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามแนวทาง ไม่แก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. ครบร้อยละ 35 หรือเป็นเงิน 516,600.00 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ดังนี้รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง ให้ อปท. จัดเก็บเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ของรายได้ที่กำหนดให้จัดเก็บใน ปี 2549 เป็นเงินจำนวน 32,021.45 ล้านบาท โดยการสนับสนุนส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ อปท. ในส่วนที่จัดเก็บเองให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระจายอำนาจทางการคลัง ขยายฐานภาษีประเภทใหม่ๆ และเพิ่มอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
2. รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 19.13 เท่ากับอัตราที่เคยเพิ่มขึ้นในปี 2549 เป็นเงินจำนวน 204,891.20 ล้านบาท
3. ส่วนที่เหลือเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 279,687.35 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก 153,674.35 ล้านบาท ต้องดำเนินงานเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษา สาธารณสุข และภารกิจถ่ายโอนที่เหลือให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการถ่ายโอนได้ รัฐบาลอาจมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
(1) อาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มอบอำนาจและหน้าที่ของภารกิจที่จะต้องถ่ายโอนให้ อปท. โดยไม่รวมภารกิจที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขหรือขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้แล้วเสร็จก่อน รวมทั้งภารกิจที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่สังกัดส่วนราชการ ซึ่งต้องแก้ไขกฎหมายให้ท้องถิ่นมีอำนาจก่อนจึงจะดำเนินการได้
(2) อาจพิจารณาถ่ายโอนงบประมาณของโครงการตามนโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของ อปท. เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเมือง (SML) ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด (งบผู้ว่า CEO) ฯลฯ
ทั้งนี้ จะต้องจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ของภารกิจดังกล่าวเป็นเงินอุดหนุนให้ อปท. เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว ให้ อปท. เป็นผู้ซื้อบริการจากหน่วยงานของส่วนราชการดังกล่าว และอาจมอบแนวทางให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรกลางในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ รวมทั้งมาตรฐานในการดำเนินการซื้อบริการ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(3) ในระยะยาวรัฐบาลอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฏหมายเพื่อกำหนดและแบ่งปันภารกิจของ อปท. เสียใหม่ หรือขอขยายระยะเวลาการถ่ายโอนออกไปให้เหมาะสมกับฐานะทางการคลังของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณเสนอแนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามแนวทาง ไม่แก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. ครบร้อยละ 35 หรือเป็นเงิน 516,600.00 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ดังนี้รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง ให้ อปท. จัดเก็บเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ของรายได้ที่กำหนดให้จัดเก็บใน ปี 2549 เป็นเงินจำนวน 32,021.45 ล้านบาท โดยการสนับสนุนส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ อปท. ในส่วนที่จัดเก็บเองให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระจายอำนาจทางการคลัง ขยายฐานภาษีประเภทใหม่ๆ และเพิ่มอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
2. รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 19.13 เท่ากับอัตราที่เคยเพิ่มขึ้นในปี 2549 เป็นเงินจำนวน 204,891.20 ล้านบาท
3. ส่วนที่เหลือเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 279,687.35 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก 153,674.35 ล้านบาท ต้องดำเนินงานเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษา สาธารณสุข และภารกิจถ่ายโอนที่เหลือให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการถ่ายโอนได้ รัฐบาลอาจมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
(1) อาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มอบอำนาจและหน้าที่ของภารกิจที่จะต้องถ่ายโอนให้ อปท. โดยไม่รวมภารกิจที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขหรือขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้แล้วเสร็จก่อน รวมทั้งภารกิจที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่สังกัดส่วนราชการ ซึ่งต้องแก้ไขกฎหมายให้ท้องถิ่นมีอำนาจก่อนจึงจะดำเนินการได้
(2) อาจพิจารณาถ่ายโอนงบประมาณของโครงการตามนโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของ อปท. เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเมือง (SML) ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด (งบผู้ว่า CEO) ฯลฯ
ทั้งนี้ จะต้องจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ของภารกิจดังกล่าวเป็นเงินอุดหนุนให้ อปท. เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว ให้ อปท. เป็นผู้ซื้อบริการจากหน่วยงานของส่วนราชการดังกล่าว และอาจมอบแนวทางให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรกลางในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ รวมทั้งมาตรฐานในการดำเนินการซื้อบริการ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(3) ในระยะยาวรัฐบาลอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฏหมายเพื่อกำหนดและแบ่งปันภารกิจของ อปท. เสียใหม่ หรือขอขยายระยะเวลาการถ่ายโอนออกไปให้เหมาะสมกับฐานะทางการคลังของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--