คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เสนอ สรุปผลการเดินทางไปตรวจติดตามการเกิดอุทกภัยในจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ดังนี้
จังหวัดแพร่
สรุปสถานการณ์ทั่วไป
1) เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 โดยฝนตกหนักที่สุดที่อำเภอเมือง วัดได้ 111 มิลลิเมตร และอำเภอเด่นชัย วัดได้ 180 มิลลิเมตร และในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 อำเภอเมืองวัดได้ 150 มิลลิเมตร อำเภอเด่นชัย วัดได้ 198 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝน จำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรของประชาชนอย่างรวดเร็ว
2) พื้นที่ที่เกิดอุทกภัยทั้งหมด จำนวน 8 อำเภอ 31 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่ประสบอุทกภัยรุนแรง 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองแพร่ สูงเม่น เด่นชัย และร้องกวาง
3) ปัจจุบันน้ำได้ไหลผ่านจังหวัดแพร่เข้าสู่สุโขทัยแล้วขณะนี้สถานการณ์พ้นภาวะวิกฤต และจะเข้าสู่ภาวะปกติได้ถ้าหากไม่มีฝนตกต่อเนื่องอีก
ความเสียหาย
1) มีบ้านพักราษฎรเสียหาย 136 หลัง สะพาน 25 แห่ง ถนน 68 สาย โรงเรียน 7 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 6,628 ไร่ ความเสียหายส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ สูงเม่น และเด่นชัย
2) มีราษฎรเสียชีวิต 4 คน พื้นที่ตำบลช่อแฮ และตำบลป่าแดง อำเภอเมือง ได้แก่ ด.ญ.จรวยพร แก้วมณี อายุ 6 ปี นางเรณู เทียนทอง อายุ 45 ปี นายหวัน สีนิล อายุ 79 ปี นายสุระชัย เสนาธรรม อายุ 44 ปี
3) มีราษฎรสูญหาย 1 ราย
จุดที่ยังเกิดวิกฤติอยู่ในปัจจุบัน
1) ยังมีหมู่บ้านอีก 5 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมือง คือ หมู่บ้านน้ำออม หมู่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ หมู่บ้านน้ำกลาย หมู่บ้านปากกลาย หมู่บ้านห้วยหยวก ตำบลป่าแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่บนภูเขา การคมนาคมไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากทางหลวงหมายเลข 1022 เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองกับพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำพัดขาดใช้การไม่ได้ การช่วยเหลือต้องใช้ขนส่งและติดต่อทางเฮลิคอปเตอร์ เท่านั้น โดยมีหน่วยงานของทางราชการสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์จำนวน 4 ลำ คือ จากสำนักบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 จำนวน 1 ลำ กองทัพภาคที่ จำนวน 1 ลำ กองบิน 41 เชียงใหม่ จำนวน 1 ลำ และจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 1 ลำ
2) มีสะพานเสียหาย 25 แห่ง ถนนเสียหาย 68 สาย ที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน
การแก้ไขปัญหา
1) ทางจังหวัดแพร่ ได้จัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และค้นหาผู้สูญหาย
2) จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ รวมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือถึงมือผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด
3) มอบเงินให้กับผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย และผู้บาดเจ็บ 17 ราย ตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรียบร้อยแล้ว
4) ร่วมกับภาคเอกชน นำข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำ ไปแจกจ่าย แยกเป็นถุงยังชีพ 4,300 ชุด น้ำดื่ม 3,600 โหล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎรและนำข้าวสาร อาหารแห้งไปมอบให้แก่ราษฎรบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น
5) แขวงทางการจังหวัดแพร่ ระดมเครื่องจักรกล เร่งซ่อมแซมถนน และสะพานให้สามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวโดยด่วน
ข้อสั่งการ
1. ได้สั่งการให้จังหวัดเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหาย ถนน สะพาน เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมเป็นกรณีเร่งด่วน เฉพาะอย่างยิ่งทางหลวงชนบทสาย 1022 ที่เชื่อมระหว่างอำเภอเมือง กับ 5 หมู่บ้านที่ถูกตัดขาด
2. ให้เร่งฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของผู้ประสบอุทกภัย โดยสำรวจความเสียหายบ้านเรือน ที่ทำกิน การประกอบอาชีพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น การจัดสร้างบ้านแบบประกอบสำเร็จรูป การจัดหาที่ทำกิน การขอวงเงินกู้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1. พื้นที่บริเวณนี้ เป็นบริเวณที่เกิดน้ำท่วมมาตลอดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอยู่ในเขตภูเขาสูง ทางจังหวัดแพร่ ร่วมกับกรมชลประทาน ได้เสนอของบประมาณจัดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย และอ่างเก็บน้ำแม่แคม เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำฝน แต่ละอ่างมีความจุ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างอ่างละ 300 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมสัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้อนุมัติในหลักการของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือจากเหตุการณ์นี้ โดยเห็นว่า สมควรเร่งรัดและสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนเมื่อเกิดฝนตกหนัก ไม่ให้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นอีก
2. ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเป็นประจำ จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการจัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ กรณีเดียวกันกับติดตั้งสัญญาณเตือนภัยสึนามิในพื้นที่อันดามัน ซึ่งทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยและอบอุ่นใจ โดยมอบหมายให้ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป
จังหวัดน่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รายงานว่า จากการเกิดฝนตกหนักครั้งนี้ ปริมาณน้ำฝนที่ตกแม่น้ำน่านสามารถรับน้ำได้ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดหรือความเสียหายกับทรัพย์สินของทางราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
จังหวัดแพร่
สรุปสถานการณ์ทั่วไป
1) เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 โดยฝนตกหนักที่สุดที่อำเภอเมือง วัดได้ 111 มิลลิเมตร และอำเภอเด่นชัย วัดได้ 180 มิลลิเมตร และในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 อำเภอเมืองวัดได้ 150 มิลลิเมตร อำเภอเด่นชัย วัดได้ 198 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝน จำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรของประชาชนอย่างรวดเร็ว
2) พื้นที่ที่เกิดอุทกภัยทั้งหมด จำนวน 8 อำเภอ 31 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่ประสบอุทกภัยรุนแรง 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองแพร่ สูงเม่น เด่นชัย และร้องกวาง
3) ปัจจุบันน้ำได้ไหลผ่านจังหวัดแพร่เข้าสู่สุโขทัยแล้วขณะนี้สถานการณ์พ้นภาวะวิกฤต และจะเข้าสู่ภาวะปกติได้ถ้าหากไม่มีฝนตกต่อเนื่องอีก
ความเสียหาย
1) มีบ้านพักราษฎรเสียหาย 136 หลัง สะพาน 25 แห่ง ถนน 68 สาย โรงเรียน 7 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 6,628 ไร่ ความเสียหายส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ สูงเม่น และเด่นชัย
2) มีราษฎรเสียชีวิต 4 คน พื้นที่ตำบลช่อแฮ และตำบลป่าแดง อำเภอเมือง ได้แก่ ด.ญ.จรวยพร แก้วมณี อายุ 6 ปี นางเรณู เทียนทอง อายุ 45 ปี นายหวัน สีนิล อายุ 79 ปี นายสุระชัย เสนาธรรม อายุ 44 ปี
3) มีราษฎรสูญหาย 1 ราย
จุดที่ยังเกิดวิกฤติอยู่ในปัจจุบัน
1) ยังมีหมู่บ้านอีก 5 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมือง คือ หมู่บ้านน้ำออม หมู่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ หมู่บ้านน้ำกลาย หมู่บ้านปากกลาย หมู่บ้านห้วยหยวก ตำบลป่าแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่บนภูเขา การคมนาคมไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากทางหลวงหมายเลข 1022 เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองกับพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำพัดขาดใช้การไม่ได้ การช่วยเหลือต้องใช้ขนส่งและติดต่อทางเฮลิคอปเตอร์ เท่านั้น โดยมีหน่วยงานของทางราชการสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์จำนวน 4 ลำ คือ จากสำนักบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 จำนวน 1 ลำ กองทัพภาคที่ จำนวน 1 ลำ กองบิน 41 เชียงใหม่ จำนวน 1 ลำ และจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 1 ลำ
2) มีสะพานเสียหาย 25 แห่ง ถนนเสียหาย 68 สาย ที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน
การแก้ไขปัญหา
1) ทางจังหวัดแพร่ ได้จัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และค้นหาผู้สูญหาย
2) จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ รวมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือถึงมือผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด
3) มอบเงินให้กับผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย และผู้บาดเจ็บ 17 ราย ตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรียบร้อยแล้ว
4) ร่วมกับภาคเอกชน นำข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำ ไปแจกจ่าย แยกเป็นถุงยังชีพ 4,300 ชุด น้ำดื่ม 3,600 โหล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎรและนำข้าวสาร อาหารแห้งไปมอบให้แก่ราษฎรบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น
5) แขวงทางการจังหวัดแพร่ ระดมเครื่องจักรกล เร่งซ่อมแซมถนน และสะพานให้สามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวโดยด่วน
ข้อสั่งการ
1. ได้สั่งการให้จังหวัดเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหาย ถนน สะพาน เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมเป็นกรณีเร่งด่วน เฉพาะอย่างยิ่งทางหลวงชนบทสาย 1022 ที่เชื่อมระหว่างอำเภอเมือง กับ 5 หมู่บ้านที่ถูกตัดขาด
2. ให้เร่งฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของผู้ประสบอุทกภัย โดยสำรวจความเสียหายบ้านเรือน ที่ทำกิน การประกอบอาชีพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น การจัดสร้างบ้านแบบประกอบสำเร็จรูป การจัดหาที่ทำกิน การขอวงเงินกู้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1. พื้นที่บริเวณนี้ เป็นบริเวณที่เกิดน้ำท่วมมาตลอดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอยู่ในเขตภูเขาสูง ทางจังหวัดแพร่ ร่วมกับกรมชลประทาน ได้เสนอของบประมาณจัดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย และอ่างเก็บน้ำแม่แคม เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำฝน แต่ละอ่างมีความจุ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างอ่างละ 300 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมสัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้อนุมัติในหลักการของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือจากเหตุการณ์นี้ โดยเห็นว่า สมควรเร่งรัดและสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนเมื่อเกิดฝนตกหนัก ไม่ให้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นอีก
2. ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเป็นประจำ จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการจัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ กรณีเดียวกันกับติดตั้งสัญญาณเตือนภัยสึนามิในพื้นที่อันดามัน ซึ่งทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยและอบอุ่นใจ โดยมอบหมายให้ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป
จังหวัดน่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รายงานว่า จากการเกิดฝนตกหนักครั้งนี้ ปริมาณน้ำฝนที่ตกแม่น้ำน่านสามารถรับน้ำได้ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดหรือความเสียหายกับทรัพย์สินของทางราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--