คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์โรค Leptospilosis ของจังหวัดน่านภายหลังน้ำท่วม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
ตามที่ได้เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายอำเภอของจังหวัดน่านเมื่อประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม และเริ่มมีการระบาดของโรค Leptospilosis สำนักระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อทั่วไป และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ ได้ส่งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรค Leptospilosis ไปสนับสนุนจังหวัดน่าน ซึ่งสรุปสถานการณ์ที่สำคัญดังนี้ (จนถึงวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2549)
1. ขณะนี้มีผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และอาการอื่น ๆ ที่เข้าข่ายสงสัยว่าเป็น Leptospilosis ประมาณ 60 ราย อยู่ที่โรงพยาบาลน่าน 44 ราย โรงพยาบาลท่าวังผา 6 ราย โรงพยาบาลปัว และเวียงสา 9 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ในจำนวนนี้มีการตรวจจากห้องปฏิบัติการยืนยัน 20%
2. ตั้งแต่เริ่มน้ำท่วมจนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตที่สงสัยว่าเป็น Leptospilosis 5 ราย และยืนยันว่าใช่ 1 ราย (จากการตรวจภูมิคุ้มกัน) ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมาจากอำเภอท่าวังผา 2 ราย อำเภอเมือง 2 ราย อำเภอเวียงสา 1 ราย และอำเภอบ้านหลวง 1 ราย ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม โดยมีประวัติลุยน้ำมีบาดแผลและเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรง เป็นผู้ใหญ่อายุประมาณ 40 — 60 ปี และมีนักเรียนอายุ 18 ปีเพียง 1 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 1 ราย
3. ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านมาตรวจรักษาจำนวนมากกว่า 100 ราย เพราะมีการเตือนให้ผู้มีไข้มารับการตรวจรักษา ซึ่งแพทย์จะรักษาได้เร็วและลดการเสียชีวิต จำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเสียชีวิตควรจะไม่เพิ่มมากกว่านี้
4. น้ำที่ท่วมลดลงหมดแล้ว แต่ยังมีฝนตกในพื้นที่ ความเสี่ยงต่อโรคยังมีอยู่ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง สอบสวน ทำลายแหล่งรังโรค เช่น หนู และให้ความรู้ประชาชนในการลดความเสี่ยงไม่ลงน้ำโดยไม่สวมรองเท้า
5. การสนับสนุนด้านวัสดุ และเวชภัณฑ์ กรมควบคุมโรคได้จัดส่งรองเท้าบู๊ท จำนวน 5,000 คู่ และยา Doxycycline จำนวน 10,000 แคปซูล
จำนวนตัวเลขต่าง ๆ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้สรุป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
ตามที่ได้เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายอำเภอของจังหวัดน่านเมื่อประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม และเริ่มมีการระบาดของโรค Leptospilosis สำนักระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อทั่วไป และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ ได้ส่งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรค Leptospilosis ไปสนับสนุนจังหวัดน่าน ซึ่งสรุปสถานการณ์ที่สำคัญดังนี้ (จนถึงวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2549)
1. ขณะนี้มีผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และอาการอื่น ๆ ที่เข้าข่ายสงสัยว่าเป็น Leptospilosis ประมาณ 60 ราย อยู่ที่โรงพยาบาลน่าน 44 ราย โรงพยาบาลท่าวังผา 6 ราย โรงพยาบาลปัว และเวียงสา 9 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ในจำนวนนี้มีการตรวจจากห้องปฏิบัติการยืนยัน 20%
2. ตั้งแต่เริ่มน้ำท่วมจนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตที่สงสัยว่าเป็น Leptospilosis 5 ราย และยืนยันว่าใช่ 1 ราย (จากการตรวจภูมิคุ้มกัน) ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมาจากอำเภอท่าวังผา 2 ราย อำเภอเมือง 2 ราย อำเภอเวียงสา 1 ราย และอำเภอบ้านหลวง 1 ราย ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม โดยมีประวัติลุยน้ำมีบาดแผลและเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรง เป็นผู้ใหญ่อายุประมาณ 40 — 60 ปี และมีนักเรียนอายุ 18 ปีเพียง 1 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 1 ราย
3. ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านมาตรวจรักษาจำนวนมากกว่า 100 ราย เพราะมีการเตือนให้ผู้มีไข้มารับการตรวจรักษา ซึ่งแพทย์จะรักษาได้เร็วและลดการเสียชีวิต จำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเสียชีวิตควรจะไม่เพิ่มมากกว่านี้
4. น้ำที่ท่วมลดลงหมดแล้ว แต่ยังมีฝนตกในพื้นที่ ความเสี่ยงต่อโรคยังมีอยู่ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง สอบสวน ทำลายแหล่งรังโรค เช่น หนู และให้ความรู้ประชาชนในการลดความเสี่ยงไม่ลงน้ำโดยไม่สวมรองเท้า
5. การสนับสนุนด้านวัสดุ และเวชภัณฑ์ กรมควบคุมโรคได้จัดส่งรองเท้าบู๊ท จำนวน 5,000 คู่ และยา Doxycycline จำนวน 10,000 แคปซูล
จำนวนตัวเลขต่าง ๆ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้สรุป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--