คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ครั้งที่ 4/2552 และเห็นชอบมติคณะกรรมการ กรอ. และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและมติของคณะกรรมการ กรอ. ไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ปัญหาการใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Auction)
ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอที่ประชุมพิจารณาใน 3 ประเด็นได้แก่ (1) แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (2) ยกเลิกการใช้ระเบียบ e-Auction กับงานการประมูลก่อสร้างซึ่งเป็นเอกสารบัญชีแสดงรายการวัสดุและปริมาณสินค้า (Bill of Quantity: BOQ) ที่มีหลากหลายรายการในโครงการเดียวกัน รวมทั้งงานประมูลจัดซื้อประเภทสินค้าและบริการสินค้าเทคโนโลยี และงานการประมูลจัดซื้อพัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น สินค้าเวชภัณฑ์ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น และ (3) หากจะใช้ระเบียบ e-Auction ควรใช้กับการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ทั่วไปที่เป็นของประเภทครุภัณฑ์มาตรฐาน (Common Goods) เช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระดาษ ซึ่งไม่มีความซ้ำซ้อนและไม่มีวงเงินสูง
มติคณะกรรมการ กรอ.
มอบหมายกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) รับข้อเสนอของ กกร. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการประเมินผลการบังคับใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการปรับปรุง/แก้ไขระเบียบฯ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยนำไปหารือกับผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ หน่วยงานปฏิบัติระดับกระทรวง หน่วยงานกลาง (เช่น กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ) และภาคเอกชน โดยให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และรายงานต่อคณะกรรมการ กรอ. ต่อไป
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา
สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เสนอต่อคณะกรรมการ กรอ. พิจารณา 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ขอให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ภายใต้กำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือเพิ่มบทบาทหน้าที่ในหน่วยงานเดิม (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม) ในการรับทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขจากสมาคมตัวแทนธุรกิจสาขาต่าง ๆ เพื่อให้ภาคเอกชนโดยเฉพาะสมาคมต่าง ๆ สะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไขเป็นรายอุตสาหกรรม และ (2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงเงินกู้ฉุกเฉินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้ส่งออก ขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ สำหรับการกู้เงินของผู้ประกอบการที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการสามารถนำสัญญาหรือเอกสารคำสั่งซื้อมาเป็นเอกสารค้ำประกันได้ และขอให้มีการกำหนดใช้มาตรการดังกล่าวจนถึงเดือนธันวาคม 2552
มติคณะกรรมการ กรอ.
1) มอบหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รับไปพิจารณาเพื่อจัดทำข้อเสนอที่ชัดเจน และครบถ้วนตลอดห่วงโซ่การผลิต และใน
กรณีที่มีข้อเสนอเกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบาย
ยางฯ ก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการ กรอ. ต่อไป
2) มอบหมาย สศช. ประสานกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง
แก่ผู้ประกอบการผลิตถุงมือยาง
3. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติของภาครัฐ กรณีการประกาศเขตควบคุม
มลพิษในพื้นที่มาบตาพุด
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและ การลงทุน อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติของภาครัฐ กรณีการประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด โดยมีผลกระทบต่อโครงการที่ได้รับอนุมัติ EIA แล้วได้ชะลอการดำเนินการ ซึ่งประมาณ 60 โครงการที่ชะลอการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นการขยายโครงการต่อเนื่องและการลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมทั้งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 40 โครงการ เงินลงทุนรวม 400,000 ล้านบาท และเสนอขอให้ภาครัฐพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยอาจใช้ช่องทางของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา
มติคณะกรรมการ กรอ.
มอบหมาย สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประเด็นความไม่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของภาครัฐจากการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ โดยนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกโดยเร็วต่อไป
4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 เรื่อง โรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ก่อนการพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ต้องมีการจัดทำการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน (HIA) แต่ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางปฏิบัติตามประกาศที่ชัดเจน
มติคณะกรรมการ กรอ.
มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาข้อยุติในแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใน 1 เดือน และให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
5. ความคืบหน้าโครงการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
5.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานภาพรวมภาวะสินเชื่อ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสภาพคล่องของระบบธนาคาร
พาณิชย์ว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1 ปี 2552 ชะลอตัวลงมาก และหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี ในไตรมาส 2 การอนุมัติสินเชื่อเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น
5.2 กระทรวงการคลัง รายงานภาพรวมการปล่อยสินเชื่อและการค้ำประกันแก่ SMEs ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไตรมาส 1
ปี 2552 มีการอนุมัติสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยรวมร้อยละ 17.96 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ (เป้าหมายการปล่อย
สินเชื่อปี 2552 จำนวน 101,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ร้อยละ 10.79 สำหรับความคืบหน้า
การดำเนินโครงการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs มีดังนี้ (1) มาตรการสินเชื่อเพื่อชำระภาษีเงินได้ นิติบุคคลของ
SMEs วงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้มีการประสานงานระหว่างกรมสรรพากร ธนาคาร และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
ขนาดย่อม (บสย.) แล้ว คาดว่าจะดำเนินการได้ทันภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2552 (2) โครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่
SMEs ที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ ขณะนี้ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว
29 ราย วงเงิน 84.5 ล้านบาท และอยู่ระหว่างพิจารณาคำขอกู้อีก 429 ราย วงเงิน 930.6 ล้านบาท และยังมีคำขอกู้เพิ่ม
เติมอีกประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท และ (3) โครงการขยายบริการรับประกันการส่งออกโดยธนาคารเพื่อการส่งออกและ
นำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) วงเงิน 5,000 ล้านบาท ได้อนุมัติประกันการส่งออกระยะสั้น วงเงินรวม 11,246
ล้านบาท โดยเป็นวงเงินที่อนุมัติในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2552 จำนวน 1,127 ล้านบาท และประกันการส่ง
ออกระยะกลางและยาว วงเงินรวม 95 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินที่อนุมัติช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2552 จำนวน
16 ล้านบาท
5.3 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) รายงานว่า โครงการมาตรการสินเชื่อชะลอการ
เลิกจ้างงาน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน 2552 จำนวน 53 ราย
วงเงิน 493.05 ล้านบาท
5.4 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รายงานเพิ่มเติมว่า การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs ผ่าน บสย. แบบ
Portfolio Guarantee Scheme วงเงิน 30,000 ล้านบาท ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552 อนุมัติค้ำประกันแล้ว 37 ราย
วงเงิน 126.37 ล้านบาท
มติคณะกรรมการ กรอ.
รับทราบและมอบหมายธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง ติดตามความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อให้แก่ SMEs อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างโอกาสให้ SMEs ที่มีศักยภาพมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจหดตัวในปัจจุบัน โดยให้นำความเห็นและประเด็นอภิปรายไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ และรายงานต่อคณะกรรมการ รศก. ต่อไป
6. ความคืบหน้าการดำเนินงานตามมาตรการภาษีเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
6.1 กรรมการและเลขานุการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมาตรการภาษีเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามมติคณะ
รัฐมนตรี วันที่ 20 มกราคม 2552 และตามมติคณะกรรมการ กรอ. วันที่ 8 เมษายน 2552 ดังนี้
6.1.1 ขณะนี้พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552
ได้มีผลใช้บังคับแล้ว โดยสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการปรับ
ปรุงโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชน โดยยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่เกิด
จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชน สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่น
ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 31 ธันวาคม
2552 โดยกรมสรรพากรจะได้ออกประกาศกรมสรรพากรเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาดัง
กล่าวโดยเร็วต่อไป
6.1.2 สำหรับมาตรการให้เจ้าหนี้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ปกตินั้น กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 270 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ เพื่อให้สอดคล้องพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว
6.1.3 สำหรับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ของกรมที่ดิน ขณะนี้กรมสรรพากรได้
ส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หลัก
เกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครอบคลุมถึงการจดทะเบียนจำนองสิทธิและนิติกรรม
มติคณะกรรมการ กรอ.
1) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามมาตรการภาษีเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ
2) มอบหมาย สศช. ประสานสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำเรื่องการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
อสังหาริมทรัพย์ของกรมที่ดิน เพื่อบรรจุเข้าเป็นวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพุธที่ 3 มิถุนายนศกนี้
7. ความคืบหน้าการดำเนินงานตามมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว
7.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้รายงานสถานการณ์ท่องเที่ยวโดยภาพรวมว่ามีแนวโน้มที่ดี สะท้อนถึงผล
สำเร็จของมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวของภาครัฐ ส่งผลให้หลายประเทศประกาศยกเลิกการเตือนภัยประเทศไทย ล่า
สุดได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ และในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทาง
ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิเฉลี่ย 17,000-23,000 คนต่อวัน ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2551 และปัจจุบันกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว พ.ศ. 2552-
2555 ภายใต้วาระแห่งชาติว่าด้วยการท่องเที่ยว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
7.2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเพิ่มเติมว่า มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวที่สำคัญที่
รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ มาตรการฟื้นฟูภาพลักษณ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว มาตรการยกเว้นและลดหย่อนค่า
ธรรมเนียมด้านการท่องเที่ยว (การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่านักท่องเที่ยว 3 เดือน ลดหย่อนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้
ประกอบธุรกิจโรงแรม ลดหย่อนค่าธรรมเนียม Landing and Parking Fee ลดค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานแห่งชาติ 3
เดือน) มาตรการกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศในระยะเร่งด่วน และมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้
ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
มติคณะกรรมการ กรอ.
1) รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานำเสนอ
2) มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พิจารณาความเป็นไป
ได้ในการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราออกไปอีก หลังพ้นกำหนด 3 เดือน ในวันที่ 4 มิถุนายน
2552 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552 โดยขอให้พิจารณาแบบองค์รวมทั้งระบบ รวมไปถึงระยะเวลาที่อนุญาต
ให้พำนักในประเทศไทย ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น ผู้เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ นักศึกษาต่างชาติในไทย
และนักธุรกิจ เป็นต้น
3) มอบหมาย สศช. สำรวจศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมพัฒนาให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของตลาดรวมทั้งทบทวนโครงการพัฒนาตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ให้รองรับกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มี
ศักยภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--