ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 14:07 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และมีมติมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ไปพิจารณาแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่ยังมีผลผลิตข้าวเปลือกตกค้างจำนวนมากที่ยังไม่สามารถนำเข้ารับจำนำได้ โดยให้แจ้งผลการพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ส่วนผลการพิจารณาของ กขช. เป็นประการใดก็ให้ดำเนินการต่อไปได้ตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 และ 6 พฤษภาคม 2552 ได้เห็นชอบมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 กำหนดเป้าหมายรับจำนำ จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับจำนำ 16 มีนาคม — 31 กรกฎาคม 2552 ภาคใต้เดือนกรกฎาคม — กันยายน 2552 และเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ได้อนุมัติให้ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 จำนวน 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 4.0 ล้านตันข้าวเปลือก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังมีข้าวเปลือกที่จะออกสู่ตลาดนั้น กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) รายงานว่า

1. ปริมาณรับจำนำ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม — 28 พฤษภาคม 2552 มีปริมาณรับจำนำทั้งสิ้นจำนวน 3,657,608 ตัน (อคส. จำนวน

2,386,928 ตัน อ.ต.ก. จำนวน 1,270,680 ตัน) จำแนกเป็น ข้าวเปลือกเจ้า จำนวน 3,067,096 ตัน ข้าวเปลือก

ปทุมธานี จำนวน 573,944 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว จำนวน 16,568 ตัน คงเหลือข้าวเปลือกที่จะจำนำได้อีก จำนวน

342,392 ตัน โดยมีปริมาณรับจำนำเฉลี่ยวันละ 50,000 — 60,000 ตัน ซึ่งจะมีระยะเวลา 6-7 วัน ปริมาณรับจำนำจะครบตาม

เป้าหมายที่กำหนด

2. ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือก นาปรัง ปี 2552 คาดว่าออกสู่ตลาดแล้วประมาณ 4.835 ล้านตัน

หรือร้อยละ 63 (ผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด 7.674 ล้านตัน) โดยขณะนี้ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากในพื้นที่ รวม 6 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดสุพรรณบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสิงห์บุรี และในช่วงเดือนมิถุนายน 2552 ข้าวเปลือกจะออกสู่ตลาดมาก

ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา เชียงราย นครสวรรค์ กาญจนบุรี และนครปฐม

3. การจัดสรรโควตา ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกคงเหลือที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมี

ปริมาณคงเหลือ จำนวน 4.334 ล้านตัน ในขณะที่จังหวัดแหล่งผลิตแจ้งว่ามีจำนวน 6.209 ล้านตัน โดยยังไม่รวมผลผลิตในภาคใต้

ซึ่งมีความแตกต่างกันประมาณ 1.875 ล้านตันข้าวเปลือก โดยคณะอนุกรรมการดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือก ได้มีมติเมื่อวันที่ 20

พฤษภาคม 2552 เห็นชอบให้ใช้ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นฐานในการพิจารณาจัดสรรโควตาให้แก่จังหวัดแหล่ง

ผลิต โดยใช้แนวทางจัดสรรเช่นเดียวกับการจัดสรรปริมาณรับจำนำของสินค้ามันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสัดส่วนจังหวัด

แหล่งผลิต ในอัตราร้อยละ 70 และโควตากลางในอัตราร้อยละ 30 (ข้าวเปลือก 1.5 ล้านตัน เป็นโควตากลาง 450,000 ตัน

จังหวัดแหล่งผลิต 1,050,000 ตัน โดยหักข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ซึ่งมีปริมาณเกิน 2.5 ล้านตัน

จำนวน 389,130 ตัน) คงเหลือข้าวเปลือกที่จัดสรรให้จังหวัดแหล่งผลิต 46 จังหวัด จำนวน 660,870 ตัน โดยปริมาณรับจำนำที่

จังหวัดจะได้รับตามสัดส่วนปริมาณผลผลิตคงเหลือกรณีมีความจำเป็นและจังหวัดร้องขอให้จัดสรรเพิ่มเติมให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณา

จากโควตากลาง โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สำหรับในระดับจังหวัดมอบหมายให้คณะอนุ กขช. ระดับ

จังหวัดพิจารณาจัดสรรให้ อคส./อ.ต.ก. ตามโควตาที่ได้รับโดยจัดสรรตามกำลังการผลิตของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ โดย ณ

วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 มีผลการรับจำนำตามที่ได้จัดสรรโควตาให้จังหวัดต่างๆ สรุปได้ดังนี้

(1) จังหวัดที่มีการรับจำนำเกินปริมาณจัดสรรแล้ว รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี พะเยา

อุทัยธานี มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี นครนายก สระแก้ว นครสวรรค์ นครปฐม กำแพงเพชร อุตรดิตถ์

สุพรรณบุรี สุโขทัย

(2) จังหวัดที่ได้รับปริมาณข้าวเปลือกจำนำจัดสรรคงเหลือไม่มาก รวมทั้งสิ้น 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ แพร่

บุรีรัมย์ สมุทรปราการ ลำพูน หนองบัวลำภู ลำปาง นครราชสีมา อุดรธานี กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี ชลบุรี

ประจวบคีรีขันธ์

4. ภาวะการค้า ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ราคาข้าวเปลือกเจ้า (ความชื้นไม่เกิน 15%) ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาตันละ

8,900 — 10,000 บาท (ราคารับจำนำ 11,800 บาท) ข้าวเปลือกปทุมธานี (36-42 กรัม) ราคาตันละ 9,900 — 10,900

บาท (ราคารับจำนำ ตันละ 11,400 — 12,000 บาท) ข้าวเปลือกเหนียวเม็ดคละราคาตันละ 6,700 — 7,200 บาท (ราคารับ

จำนำ ตันละ 9,000 บาท) ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาตันละ 7,000 — 8,000 บาท (ราคารับจำนำตันละ 10,000

บาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคารับจำนำแล้ว ราคาข้าวเปลือกที่มีการซื้อขายในท้องตลาดยังมีราคาต่ำกว่าราคารับจำนำค่อนข้าง

มาก โดยข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาต่ำกว่าประมาณตันละ 1,800 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีต่ำกว่าประมาณ ตันละ 1,100 —

1,500 บาท และข้าวเปลือกเหนียวคละ ราคาต่ำกว่าประมาณ ตันละ 1,000 — 2,300 บาท

5. ปัญหาในการดำเนินการ จังหวัดต่างๆ ได้มีหนังสือขอรับการจัดสรรปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 เพิ่มเติม เพื่อป้องกัน

ไม่ให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจนเกิดการร้องเรียนและการประท้วงได้ เช่น จังหวัดนครปฐมขอรับจัดสรรเพิ่มเติมอีกจำนวน

200,000 ตัน จังหวัดราชบุรี 100,000 ตัน จังหวัดสุพรรณบุรีขอให้เพิ่มเป้าหมายการรับจำนำให้สามารถจำนำได้อย่างต่อเนื่องจน

สิ้นสุดระยะเวลาการรับจำนำ

6. การกำกับดูแลและตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับการตรวจสอบข้าวตามโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเมื่อวันที่

24 มีนาคม 2552 ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 กำหนดกรอบแนวทางการตรวจสอบ

ข้าวตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

6.1 คณะอนุกรรมการ กขช. ระดับจังหวัด แต่งตั้งคณะทำงานในการกำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำโรง

สี/โกดังกลาง ปริมาณข้าวในสต็อกของโรงสีและโกดังกลางเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เดือนละครั้ง หรือกรณีที่ได้รับการร้อง

เรียนหรือมีเหตุผิดปกติ

6.2 หน่วยงานปฏิบัติในการรับจำนำ ได้แก่ อคส. อ.ต.ก. และ ธ.ก.ส. ดำเนินการตรวจสอบ โดย

(1) หัวหน้าหน่วยรับฝากข้าวเปลือกและโกดังกลางจะตรวจสอบการปฏิบัติงาน ปริมาณข้าว เอกสารและหลักฐาน รายงานให้

ส่วนกลางทราบเป็นประจำทุกวัน

(2) ตรวจสอบสต็อกคงเหลือร่วมกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน รวม 2 ครั้งในเดือนเมษายนและตุลาคม และ

(3) การตรวจสอบของผู้บริหาร โดยจะจัดทำแผนสุ่มตรวจสอบเฉลี่ยเดือนละครั้ง สลับ/หมุนเวียนไปทั้งโรงสีและโกดังกลาง

6.3 กรมการค้าภายใน แต่งตั้งสายตรวจพิเศษจากส่วนกลางหรือ Mobile เคลื่อนที่เร็วสุ่มตรวจสอบโรงสีและโกดังกลางที่มี

พฤติกรรมน่าสงสัยผิดปกติหรือกรณีได้รับการร้องเรียนหรือพบการทุจริต

6.4 คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ซึ่งมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธานแต่ง

ตั้งสายตรวจเฉพาะกิจ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าวกลางที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

เป็นสายตรวจ เพื่อตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2551/52 และโครงการรับ

จำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 โดยให้จำแนกข้าวที่ตรวจสอบว่าเป็นข้าวโครงการใด และตรวจสอบปริมาณข้าวทั้งหมดที่เก็บ

รักษาในโกดังกลาง/โรงสีว่ามีปริมาณถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีหรือไม่ ส่วนการตรวจสอบคุณภาพให้สุ่มตรวจสอบและเก็บ

ตัวอย่างตามหลักวิชาการ กรณีที่มีเหตุสงสัยให้ส่งตัวอย่างข้าวตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทันที

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ