คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2550 ต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เสนอ และเห็นชอบมอบหมายให้ 1. สำนักงาน ก.พ.ร. รับประเด็นข้อเสนอแนะข้อที่ 1 เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปพิจารณาดำเนินการ 2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับประเด็นข้อเสนอแนะข้อที่ 4 เรื่อง การถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เสนอรายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2550 ซึ่งประมวลผลการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2550 ด้านการปราบปรามการทุจริต ด้านป้องกันการทุจริต ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน ด้านบริหารจัดการองค์กร พร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะรวม 5 เรื่อง เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 250 (6) ดังนี้
ประเด็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เนื่องจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่น ชาติว่าด้วยการป้องกันและ คงของชาติ ประชาชนจึงมีความคาดหวังต่อกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทยมาก ปราบปรามการทุจริต ขึ้นตามลำดับ ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการผลักดันแก้ไขปัญหาการทุจริตของทุกภาคส่วนในสังคม โดยการกำหนด
ยุทธศาสตร์จากข้อตกลงร่วมกันกับภาคีทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 “ปลูกจิตสำนึก ค่านิยม
คุณธรรม จริยธรรม และสร้างวินัยแก่ทุกภาคส่วน” ยุทธศาสตร์ที่ 2 “รวมพลังแผ่นดินป้องกันและปราบปราม
การทุจริต” ยุทธศาสตร์ที่ 3 “เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่หน่วยงานต่อต้านการทุจริต” และยุทธศาสตร์ที่
4 “ สร้างบุคลากรมืออาชีพป้องกันและปราบปรามการทุจริต” ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอแนวทาง
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมี
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นกรรมการและเลขานุการ
อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีทุกภาค
ส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรสนับ
สนุนงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและหน่วย
งานอื่นๆ ที่ต้องจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติฯ รวมทั้งสนับสนุนอัตรากำลัง
และอุปกรณ์ให้สอดรับกับภารกิจที่ดำเนินการ และรัฐบาลควรกำหนดให้ตัวชี้วัดด้านการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตเป็นตัวชี้วัดที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) กำหนดให้หน่วย
งานราชการต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งในปัจจุบันกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำ
รับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในมิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มีตัวชี้วัดระดับความสำเร็จ
ของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอยู่แล้ว แต่ควรให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดตัวนี้
โดยมีการเพิ่มคะแนน การประเมินผลตามตัวชี้วัดให้สูงขึ้นเป็นต้น
2. เรื่อง “โครงสร้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 246 วรรคท้าย บัญญัติว่า “ให้มีกรรมการ ป.ป.ช. จังหวัด” ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ให้เป็นไป
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” จึงมีประเด็น
ที่ต้องพิจารณาและเป็นข้อเสนอแนะว่า โครงสร้างของกรรมการ ป.ป.ช. จังหวัด ในส่วนของที่มา
(กระบวนการสรรหา) คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ที่จะต้องบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าควรจะเป็นอย่างไร ตลอดจนโครงสร้างของหน่วยงานธุรการคือ สำนักงาน ป.ป.ช.
ประจำจังหวัดด้วย
3. เรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีสาระสำคัญในเรื่องของการ การป้องกันและปราบปราม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในหลาย การทุจริต (ฉบับที่ ..) ประการด้วยกัน อาทิ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ....” ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป และกับเจ้า
หน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่า ที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือที่กระทำ
ความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควร โดยให้บัญญัติลักษณะการกระทำความผิดนั้นไว้ใน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และให้อำนาจคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ในการยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาด้วยมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองร่ำรวยผิดปกติ
กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
จากหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังกล่าว พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมิได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด และด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นผู้รักษาการ
ตามกฎหมายต้องดำเนินการปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้เสนอร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 302
4. เรื่อง “การถือหุ้นในห้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของ หุ้นส่วนหรือบริษัทของนายก นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งในส่วนที่ยังคงให้เป็นไปตามหลักการเดิมและมีส่วนเพิ่มเติมการให้มีผลบังคับใช้ รัฐมนตรีและรัฐมนตรี” กับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยคือ นอกเหนือจากเป็นการห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นใน
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป รวมทั้งมีการ
กำหนดในลักษณะต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังได้
บัญญัติให้นำเรื่องการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรีมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ทั้งให้นำไปใช้บังคับกับกรณีของหุ้นส่วนหรือหุ้นที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้มอบ
หมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมด้วย แต่บทบัญญัติของรัฐ
ธรรมนูญในลักษณะให้มีการนำไปบังคับใช้เป็นการเพิ่มเติมยังไม่ได้นำไปบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการ
จัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 ที่มีนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ จึงเป็นการ
สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้เป็นการสอดรับตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวต่อไปด้วย
5. การลงโทษเจ้าหน้าที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 263 กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ ของรัฐกรณีจงใจไม่ยื่นบัญชี ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ แสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เอกสารประกอบ ต่อ และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ ซึ่งเป็นการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปลี่ยนแปลงศาลผู้วินิจฉัยไปจากเดิมที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้เป็น หรือจงใจยื่นบัญชีแสดง อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด จึงมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า เมื่อรัฐ รายการทรัพย์สินและหนี้สินและ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 263 กำหนดให้ศาลฎีกาฯ ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมชั้น เอกสารประกอบด้วยข้อ สูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยแล้ว เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องและคำร้องขอให้ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่าเจ้า ความอันเป็นเท็จหรือปกปิด หน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะ ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ กรรมการ ป.ป.ช. หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอัน
เป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะร้องขอให้ศาล
ฎีกาฯ พิพากษาลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นตามมาตรา 119 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ในขณะเดียวกันได้หรือไม่หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ต้องให้ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยก่อนว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกร้องจงใจไม่ยื่นบัญชีฯ หรือจงใจยื่นบัญชีฯ เท็จหรือจงใจ
ปกปิดข้อเท็จจริงฯ ถึงจะร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกร้องต่อ
ไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--