ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและการตระหนักเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 15:32 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและการตระหนักเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำข้อมูลสถิติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและการตระหนักเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 ซึ่งการสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2550 ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำผลสำรวจไปใช้ประโยชน์ในการติดตาม และประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 — 2564) โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18 — 59 ปี ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่าง 7,000 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 —15 กุมภาพันธ์ 2552 โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการสำรวจมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้

1. การทราบเกี่ยวกับการมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ประชาชนร้อยละ 74.4 ระบุว่าไม่ทราบ ที่เคยทราบ ร้อยละ 14.6 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.0

2. ความรู้เรื่องจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้า ประชาชนร้อยละ 68.5 คิดว่า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมาก และร้อยละ 18.4 คิดว่าเท่าเดิม/

ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนที่คิดว่าลดลงมากมีร้อยละ 13.1

3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อวัยสูงอายุ ประชาชนร้อยละ 89.7 เห็นว่าควรมีการเตรียมการฯ ที่ไม่แน่ใจมีร้อยละ 6.3 และที่เห็นว่าไม่ควรเตรียมการฯ

มีร้อยละ 4.0 สำหรับกลุ่มที่เห็นว่าควรและไม่แน่ใจในการเตรียมการเพื่อวัยสูงอายุ มีผู้แสดงความคิดเห็นว่าควรเตรียมการฯ ด้านการเงินร้อยละ 98.2, ด้านที่อยู่

อาศัย ร้อยละ 974, สุขภาพ ร้อยละ 96.3, ด้านจิตใจร้อยละ 93.9, ผู้ที่จะมาดูแลในอนาคตร้อยละ 88.6 และจัดการเรื่องมรดกร้อยละ 83.9

4. เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มที่เห็นว่าควร/ไม่แน่ใจในการเตรียมการเพื่อวัยสูงอายุเกี่ยวกับช่วงอายุที่ควรเริ่มเตรียมการ เห็นว่าควรเริ่มเตรียมการอายุ 50 — 59 ปี

ร้อยละ 41.4

5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่ควรมีหน้าที่หลักในการดูแลผู้สูงอายุ ประชาชนส่วนใหญ่ยังระบุว่า ควรเป็นหน้าที่หลักของบุตรร้อยละ 75.2 รองลงมาเป็นตัวผู้สูงอายุเอง

คู่สมรส รัฐบาล ญาติ และอื่นๆ ตามลำดับ

6. ความคาดหวังที่จะพึ่งพาบุตรเมื่อยามสูงอายุ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าคาดหวังที่จะพึ่งพาบุตร ร้อยละ 76.0 ไม่คาดหวังร้อยละ 15.5 และไม่แน่ใจร้อยละ 8.5

7. เมื่อสอบถามเรื่องการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุกับบุตรหลาน ประชาชนร้อยละ 84.1 เห็นว่าผู้สูงอายุควรอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับบุตรหลาน และร้อยละ 15.2 ควรอยู่บ้านติด

กัน/ใกล้กันกับบุตรหลาน ส่วนที่เห็นว่าผู้สูงอายุควรแยกไปอยู่ที่อื่นมีเพียงร้อยละ 0.7

8. การตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ มีประชาชนกว่าร้อยละ 90.0 ที่เห็นด้วยกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเอา

ใจใส่ ร้อยละ 98.2 รองลงมาผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่ควรได้รับการปฏิบัติที่ดีจากทุกคนในสังคม ร้อยละ 95.1 ส่วนเรื่องที่ประชาชนเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ ผู้สูงอายุควรไป

อาศัยอยู่ที่บ้านพักคนชรา ร้อยละ 6.8

9. แหล่งเงินที่จะเป็นหลักประกันที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูตนเองยามสูงอายุ ที่ประชาชนคาดหวัง 5 อันดับแรก คือ จากบุตรร้อยละ 32.9 การทำงานเลี้ยงตนเองร้อยละ

31.4 เงินออม/ทรัพย์สิน ร้อยละ 21.2 คู่สมรสร้อยละ 6.0 และเบี้ยยังชีพจากรัฐบาล ร้อยละ 4.7

10. การมีส่วนร่วมในการดูแลประชากรสูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้น มีประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการมีส่วนร่วม ดังนี้ ควรดูแลเอาใจใส่สมาชิกสูงอายุในครอบครัว

ร้อยละ 64.6 รองลงมาควรให้ความเอื้อเฟื้อแก่ผู้สูงอายุทั่วไปร้อยละ 20.2 ให้โอกาสผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ร้อยละ 7.6 ให้ความร่วมมือกับองค์กร

ต่าง ๆ ในกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุร้อยละ 5.2 เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุร้อยละ 2.3 และอื่นๆ

11. สำหรับเรื่องที่ประชาชนต้องการให้ชุมชน/ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลประชากรสูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก คือ ควรจัดงบประมาณให้ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียง

พอร้อยละ 65.1 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน (บุตรหลาน) เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุร้อยละ 42.3 ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ

ร้อยละ 37.8 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุอยู่กับครอบครัวร้อยละ 37.3 และจัดหางานที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุร้อยละ 27.2

12. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเตรียมการสำหรับจำนวนผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก คือ รัฐบาลควรจัดงบประมาณให้ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียงพอร้อยละ

74.6 ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุร้อยละ 42.0 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน (บุตรหลาน) เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุร้อยละ

29.8 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุอยู่กับครอบครัวร้อยละ 26.2 และจัดหางานที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ ร้อยละ 22.8

13. การดำเนินการเพื่อผู้สูงอายุที่ผ่านมาของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 ระบุว่ายังไม่เพียงพอ ที่ระบุว่าเพียงพอมีร้อยละ 13.5 และไม่แน่ใจร้อยละ 11.1

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ